หลายบริษัทในปัจจุบันเริ่มหันมาใช้งานระบบคลาวด์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเพราะต้องการลดค่าใช้จ่าย เพิ่มศักยภาพของระบบ IT หรือเพิ่มความคล่องตัวของธุรกิจ ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่เริ่มต้นโดยการฝากโฮสต์เว็บไซต์ของบริษัทไว้บนระบบคลาวด์ โดยจุดประสงค์เพื่อใช้ทดสอบประสิทธิภาพและการทำงานของระบบคลาวด์ว่าสามารถนำมาใช้ต่อยอดการใช้งานของบริษัทได้หรือไม่
ความท้าทายหลักของบริษัทที่ฝากโฮสต์ไว้บนคลาวด์ คือ เว็บแอพพลิเคชันของพวกเขาอาจตกเป็นเป้าหมายของแฮ็คเกอร์ได้ง่าย เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงระบบคลาวด์ได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนโลกนี้ เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าเว็บแอพพลิเคชันของบริษัทมีความปลอดภัย จำเป็นต้องเตรียมพร้อมรับมือกับเงื่อนไข 2 ประการ คือ
- เว็บแอพพลิเคชันที่ไม่ได้ถูกออกแบบให้มีความปลอดภัยสูงนักจะทำให้แฮ็คเกอร์สามารถใช้เป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลลูกค้า ระบบเครือข่ายภายใน และระบบฐานข้อมูลที่สำคญของบริษัทได้
- การโจมตีช่องโหว่ของเว็บไซต์ เช่น SQL Injection และ XSS ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา และหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตได้ง่าย ไม่ว่าใครก็สามารถทดลองโจมตีเว็บไซต์ได้
ทั้ง 2 ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ 22% ของการแฮ็คเป็นการโจมตีผ่านทางเว็บแอพพลิเคชัน ซึ่งถือว่าเป็นที่นิยมอันดับ 1 ในปัจจุบัน
เว็บแอพพลิเคชันบนระบบคลาวด์
มันคงเป็นเรื่องยากที่เราจะนอนหลับสนิทเมื่อเราวางเว็บไซต์ของเรา (ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของแฮ็คเกอร์) ไว้บนคลาวด์ ในการประชุม AWS ที่เมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ผ่านมา Stephen Schmidt หัวหน้าฝ่ายความปลอดภัยของข้อมูลของ AWS ได้เปลี่ยนทัศนคติของเว็บไซต์บนระบบคลาวด์ใหม่ นั่นคือ อันที่จริงแล้วเราสามารถทำให้ Data center บนคลาวด์มีความปลอดภัยกว่า Data Center ที่อยู่ในห้องสำนักงานใหญ่ได้ เนื่องจากเราสามารถคอยดูแล ติดตามและควบคุมการใช้งานได้ดีกว่าระบบแบบเดิมๆ ซึ่งเว็บแอพพลิเคชันบนคลาวด์ก็เป็นเช่นเดียวกัน
เราสามารถติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยของแอพพลิเคชันและข้อมูลบนคลาวด์ได้โดยอาศัยโมเดลความปลอดภัยที่ AWS มีให้ ซึ่งในส่วนของเว็บแอพพลิเคชันนั้น ก็คือการตรวจสอบช่องโหว่ของเว็บไซต์ และป้องกันช่องโหว่เพียงแค่ 2 ขั้นตอน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการตรวจสอบช่องโหว่ของเว็บไซต์อาจมีผลกระทบต่อแอพพลิเคชันและแพลทฟอร์มอื่นๆในระบบคลาวด์ได้ เราจึงต้องยื่นคำร้องแก่ AWS ล่วงหน้า กล่าวคือ ทุกๆครั้งที่เราต้องการจะตรวจสอบช่องโหว่ เราจำเป็นต้องกรอกแบบฟอร์มแล้วยื่นเรื่องให้ AWS รับทราบ การกระทำดังกล่าวทำให้สิ้นเปลืองแรงงานและกระบวนการตรวจสอบเกิดความล่าช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าบริษัทมีนโยบายในการตรวจสอบช่องโหว่ทุกวัน หรือทุกสัปดาห์ก็จะทำให้เกิดความยุ่งยากเป็นอย่างมาก
ข่าวดีก็คือ ตอนนี้ AWS เปิดให้เช่าใช้บริการ Trend Micro Deep Security for Web Apps เพื่อใช้ตรวจสอบช่องโหว่ของเว็บไซต์แล้ว ส่งผลให้ผู้ที่ใช้บริการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องยื่นคำร้องเพื่อขอตรวจสอบช่องโหว่กับทาง AWS อีกต่อไป ทุกคนสามารถตรวจสอบช่องโหว่ของเว็บไซต์ตนเองได้ตลอดเวลา
Deep Security for Web Apps ทำให้ระบบรักษาความปลอดภัยของโฮสต์บน AWS ดีขึ้นโดย
- สามารถตรวจสอบแอพพลิเคชัน แพลทฟอร์ม และมัลแวร์ด้วยตนเองได้ตลอดเวลาเมื่อระบบมีการเปลี่ยนแปลง หรือถูกปรับแต่ง โดยไม่จำเป็นต้องยื่นคำร้องแก่ AWS อีกต่อไป
- มีฟังก์ชันป้องกันในตัว เช่น IPS rule, Virtual Patching และ WAF rule เพื่อใช้ในการอุดช่องโหว่ของแอพพลิเคชันและแพลทฟอร์มได้ทันที
รายละเอียดเพิ่มเติม: Deep Security for Web Apps
ที่มา: http://blog.trendmicro.com/web-application-scanning-aws/