เปลี่ยนโฉมองค์กรสู่ยุคใหม่ ตอบโจทย์การทำงานจากทุกที่ด้วยโซลูชัน Unified Endpoint Management

ยุคใหม่ของการทำงานในองค์กรมาถึงแล้ว นั่นคือการเปิดให้พนักงานสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้ หากพิจารณาเพียงผิวเผิน หลายท่านอาจคิดว่าเพียงแค่เปิดการเชื่อมต่อให้พนักงานสามารถเข้าถึงระบบได้คงเพียงพอ แต่อันที่จริงสาระสำคัญของมุมมองที่ดูเข้าใจง่ายนี้ กลับซ่อนความท้าทายไว้หลายประการ และหนึ่งในเรื่องหลักก็คือความสามารถในการบริหารจัดการอุปกรณ์หลากหลายแพลตฟอร์มที่มีการใช้งานกันอยู่ในองค์กร ควบคู่กันกระบวนการทั้งหมดนี้ต้องง่ายกับผู้ใช้งานและตอบโจทย์เรื่องความมั่นคงปลอดภัยด้วย

ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักโซลูชัน Unified Endpoint Management ว่าจะสามารถจัดการกับความท้าทายที่เกิดขึ้นมากมายได้อย่างไร และสิ่งที่เหนือกว่าโซลูชันทั่วไปในท้องตลาด

ปัญหาการจัดการเครื่องในองค์กรแบบเดิม

ช่วงเข้าทำงานที่ใหม่หลายคนคงมีประสบการณ์การรอเครื่องประจำตำแหน่งนานนับสัปดาห์ กว่าที่จะสามารถทำงานได้จริง อีกทั้งเมื่อใช้ไประยะหนึ่งกลับพบว่าโปรแกรมลงมาไม่ครบหรือเกิดปัญหาบางอย่าง ก็ต้องนำเครื่องกลับส่ง IT Support ทุกครั้งไป เสียเวลาไปอีกหลายวัน เพราะ IT Support เองก็มีงานอื่นรออยู่ล้นมือ สาเหตุหลักก็มาจากอุปกรณ์ผู้ใช้ในองค์กรเป็นส่วนใหญ่ ยิ่งถ้าเป็นบริษัทที่ IT Support ต้องดูแลทุกระบบไอทีด้วยแล้ว แก้ปัญหานั้นจะใช้เวลาเพิ่มขึ้นมาก

นอกจากนี้ในมุมของผู้ใช้งานเองก็ไม่สะดวกสบายนักกับการทำงานนอกสถานที่ เพราะต้องมีการรีโมตกลับเข้ามายังออฟฟิศก่อนเพื่อใช้งานแอปภายใน เนื่องจากองค์กรติดเรื่องข้อจำกัดด้านความมั่นคงปลอดภัย จำต้องเก็บระบบไว้กับตัว แทนที่จะย้ายระบบไปบนคลาวด์ หนึ่งในสาเหตุนั้นก็คือไม่มีโซลูชันที่สามารถควบคุมการใช้งานของอุปกรณ์ส่วนบุคคลและอุปกรณ์ภายในขององค์กร รวมถึงต้องรองรับแพลตฟอร์มต่างๆ สาเหตุเหล่านี้ก็เนื่องมาจากองค์กรยังไม่มีเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการอุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสม ทำให้การทำงานขาดความคล่องตัว สร้างประการณ์ด้านลบแก่คนทำงานทุกฝ่าย ด้วยเหตุนี้เองจึงก้าวเข้ามาสู่ยุคของโซลูชันที่เรียกว่า Unified Endpoint Management (UEM)

UEM คืออะไร?

Gartner ได้อธิบายถึงความหมายของ UEM ไว้ว่าเป็นเครื่องมือที่สามารถรองรับการบริหารจัดการของอุปกรณ์ได้ทั้งมือถือและเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ในยุคสมัยของการบริหารจัดการอุปกรณ์ได้ถูกแบ่งเป็น 3 ช่วงตามภาพประกอบ ซึ่งช่วงแรกจะยังรองรับเพียงแค่การบริหารจัดการตามประเภทของอุปกรณ์ ในเวลาถัดมาโซลูชันเริ่มบูรณาการกันมากขึ้น จึงมีหน้าจอบริหารจัดการเดียวกัน แต่ในทางปฏิบัติการทำงานยังแยกขาดกัน

ในขณะที่ยุคใหม่ของ UEM จะสามารถดูแลอุปกรณ์ได้หลายหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นมือถือ คอมพิวเตอร์ แม้กระทั่งอุปกรณ์ IoT ด้วยหน้าจอบริหารจัดการเดียวกัน และมีกระบวนการเหมือนกัน นอกจากนี้ยังสามารถจัดการเรื่องความมั่นคงปลอดภัยในตัวข้อมูลและแอปพลิเคชัน โดยไม่แบ่งแยกว่าจะเป็นแพลตฟอร์มใด ทำให้องค์กรสามารถตอบโจทย์เรื่องระเบียบข้อบังคับหรือกฏหมายด้านข้อมูล เปลี่ยนการทำงานให้ก้าวสู่ยุคใหม่ได้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

รู้จักกับ VMware Workspace ONE โซลูชันชั้นนำในตลาด UEM

ท่ามกลางการแข่งขันของผู้เล่นมากมายในตลาดนั้น หนึ่งในโซลูชันที่ Gartner ได้ยกย่องให้อยู่ในตำแหน่ง Leader มาหลายปีซ้อนนั่นก็คือโซลูชันจาก VMware เช่นเดียวกันกับ Forrester ผู้จัดอันดับผลิตภัณฑ์และสินค้าทางไอที ก็ชี้ไปในทางเดียวกันว่า VMware UEM คือผู้นำของตลาดนี้ และเป็นเครื่องยืนยันถึงความน่าเชื่อถือในตลาดระดับโลกได้ว่า VMware UEM เป็นโซลูชันชั้นนำที่โลกให้การยอมรับ

1.) ดูแลอุปกรณ์ได้หลากหลาย ตอบโจทย์ทุกแพลตฟอร์ม

ความเก่งกาจของโซลูชัน Workspace ONE ก็คือความสามารถในการบริหารจัดการอุปกรณ์ได้แทบทุกประเภท สำหรับงานในองค์กรไม่ว่าจะเป็น Windows, macOS, iOS และ Android ซึ่งก็เพียงพอแล้วกับการใช้งานขององค์กรในทุกวันนี้ ยกตัวอย่างเช่นใน Windows 10 โซลูชัน VMware Workspace ONE สามารถติดตามสินทรัพย์ได้ว่าเครื่องอยู่ที่ใด กำหนด Policy ของเครื่องว่าควรเป็นอย่างไร สั่งอัปเดต BIOS (เฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ DELL เท่านั้น) หรือการสั่งแพตช์ช่องโหว่ Windows ตลอดจนการตรวจสอบว่ามีฟีเจอร์ต่างๆ เปิดใช้หรืออยู่หรือไม่เช่น BitLocker

2.) ใช้งานง่าย ควบคุมอุปกรณ์ได้ตั้งแต่ Day Zero Onboarding

จากประสบการณ์อันเจ็บปวดที่พนักงานใหม่ต้องรอคอยเครื่องหลายวันคงไม่มีอีกแล้ว เพราะแม้แต่พนักงานที่ไม่เชี่ยวชาญไอทีก็สามารถดูแลตัวเองได้  หลังเปิดเครื่องใหม่ที่ได้รับมา  ระบบก็จะทำการ Enrollment เครื่องอย่างอัตโนมัติเพื่อเข้าไปรับโปรไฟล์ตามบัญชีใช้งาน และบังคับใช้ Policy ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานรายนั้น หากพนักงานลาออก เปลี่ยนตำแหน่ง หรือทำเครื่องสูญหาย Workspace ONE ก็มีความสามารถที่จะสั่งลบข้อมูลสำคัญขององค์กรได้จากทางไกล

3.) ตอบโจทย์ Zero Trust

Zero Trust หมายถึงการที่ไม่ไว้วางใจในทุกสิ่ง ดังนั้นทุกการเข้าใช้งานจะต้องถูกตรวจสอบเสมอ หัวใจสำคัญอันดับแรกของแนวทางนี้ก็คือ Identity Access Management และสิงสำคัญนี้ก็ติดมาพร้อมกับชุดของ Workspace ONE ในส่วนที่เรียกว่า Access Intelligence ซึ่งสามารถใช้เป็นโซลูชันในการจัดการ Identity ของทุกการใช้งานหรือสามารถผูกเข้ากับ Active Directory เดิมที่มีอยู่แล้วก็ได้ นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ Single Sign-on อีกด้วย

หากผู้ใช้งานจำเป็นต้องเชื่อมต่อเข้ามาใช้ทรัพยากรในองค์กร VMware Workspace ONE Tunnel คือฟีเจอร์ที่จะช่วยทำ per APP VPN ให้การเชื่อมต่อระหว่าง End User กับแอปพลิเคชันมีความมั่นคงปลอดภัย ที่สำคัญคือไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Client ที่อุปกรณ์ปลายทางให้ยุ่งยาก และสามารถควบคุมการใช้งานไปจนถึงระดับแอปพลิเคชัน ซึ่งเหนือกว่าแค่การทำ VPN แบบปกติ ไม่เพียงเท่านั้นในระดับ Network ตัว Workspace ONE ยังสามารถทำงานร่วมกับ VMware NSX ซึ่งเป็นสุดยอดโซลูชันด้านหรือ Software Defined-Network, SD-WAN และ SASE ในตัวเดียวกันได้อีกด้วย

ข้อมูลที่ส่งผ่านเครือข่ายและที่ถูกจัดเก็บอยู่จะมีการเข้ารหัส เพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าข้อมูลของท่านจะไม่ถูกเปิดเผย และยังมีการควบคุม Policy ให้ข้อมูลไม่สามารถถูกแชร์หรือหลุดออกไปได้ง่ายๆ ในส่วนของ Threat Protection ทาง VMware ได้นำเสนอโซลูชัน Carbon Black หรือ Cloud-native Endpoint Security ที่เป็น Intelligence ในการรับมือกับภัยคุกคามบน Endpoint ต่างๆ

4.) รองรับแอปพลิเคชันทุกรูปแบบ

ในมุมของการจัดการแอปพลิเคชัน ไอทีขององค์กรสามารถสร้างโปรไฟล์แอปพลิเคชันตามแผนกหรือรายผู้ใช้ได้ อย่างไรก็ดีในการใช้งานบางกรณีที่องค์กรถูกบังคับด้วย กฏหมายและระเบียบปฏิบัติในทางอุตสาหกรรม ทำให้ต้องการมาตรการดูแลเรื่องข้อมูลสูงกว่าปกติ VMware ได้นำเสนอสิ่งที่เรียกว่า VMware Productivity App ซึ่งก็คือแอปพลิเคชันพิเศษที่ VMware พัฒนาขึ้นเองเช่น อีเมล แชท และเบราเซอร์ ซึ่งข้อดีคือองค์กรจะสามารถจำกัดการใช้งานของพนักงาน ได้มากกว่าแอปพลิเคชันทั่วไปในท้องตลาด ตอบโจทย์เรื่องความสำคัญของข้อมูลนั่นเอง

สำหรับแอปพลิเคชันพิเศษที่เขียนขึ้นในองค์กร ก็สามารถใช้ได้กับ Workspace ONE อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการทำ Virtualized Apps หรือใช้โซลูชัน VDI เพื่อจำลองเครื่องบนคลาวด์และให้อุปกรณ์ทำหน้าที่รับภาพเท่านั้น นอกจากนี้เอง Workspace ONE ยังมีความสามารถในการเชื่อมต่อทำงานร่วมกับแอปพลิเคชันการทำงานอื่นได้ ผ่านฟีเจอร์ Mobile Flow ซึ่งอยู่ในรูปแบบ no-code หรือ low code เช่น เมื่อเครื่องเกิดปัญหาขึ้นผู้ใช้งานสามารถเปิดเคสจาก Workspace ONE เข้าระบบ ServiceNow ได้โดยตรง

5.) ง่ายกว่าใคร ด้วยประสบการณ์เดียว

อุปสรรคสำคัญของโซลูชันส่วนใหญ่ที่ไม่ประสบความสำเร็จระหว่างการผลักดันใช้ในองค์กรนั่นก็คือ User Experience เพราะแม้จะมีฟังก์ชันฟีเจอร์น่าสนใจขนาดไหนแต่หากเข้าถึงผู้ใช้งานไม่ได้แล้ว ก็เป็นเรื่องยากที่จะเดินหน้าต่อไป ถึงแม้ Workspace ONE จะถูกออกแบบมาให้รองรับได้ทุกแพลตฟอร์ม แต่ก็ไม่ได้ทำให้ User รู้สึกลำบากเพราะหน้าจอการใช้งานนั้นเข้าใจได้ง่าย และเหมือนกันในทุกแพลตฟอร์ม ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่เป็นปัญหาในการเข้าถึงผู้ใช้งานในทุกระดับ

AIS Business Unified Endpoint Management x Fusion

Fusion Advantec คือผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มาอย่างยาวนานในด้าน Digital Workspace และ Cloud Transformation โดยส่วนของ VMware ทาง Fusion Advantec มีรางวัลการันตีความเชี่ยวชาญด้วย Certified ที่ตรงกับการให้บริการในด้าน Digital Workspace, Workspace UEM และ Desktop & Mobility ด้วยเหตุนี้ AIS Business จึงจับมือร่วมกับ Fusion Advantec เพื่อนำบริการ Workspace ONE จาก VMware มาให้บริการลูกค้าได้อย่างมั่นใจ

โดยโปรโมชันที่ AIS Business นำเสนอต่อองค์กรมีอยู่ 3 ทางเลือกคือ

  • Standard – เหมาะสำหรับการใช้งานในระดับองค์กรทั่วไป มีการใช้แอปพลิเคชันตามท้องตลาดไม่ได้พิเศษมากนัก ซึ่งในชุดมาตรฐานนี้มาพร้อมกับความสามารถ UEM และ IAM มาให้แล้ว
  • Advanced – สำหรับองค์กรที่มีความเข้มงวดจาก กฏหมายหรือข้อบังคับ ที่จำเป็นต้องควบคุมดูแลพิเศษ ในชุดแพ็กเกจนี้จะมี Productivity Apps เข้ามาตอบโจทย์ รวมถึงกรณีที่ต้องติดต่อใช้แอปที่ตั้งอยู่ในองค์กรแต่ยังไม่มี VPN เป็นของตัวเอง ก็สามารถใช้ฟีเจอร์ per App VPN จาก Workspace ONE Tunnel ที่อยู่ในแพ็กเกจนี้ได้เช่นกัน
  • Enterprise – องค์กรที่มีขนาดใหญ่และมีการพัฒนาแอปพลิเคชันภายในของตัวเองขึ้นมา ไม่สามารถใช้วิธีการทั่วไปได้ ต้องพึ่งพาการทำ Virtualized Apps หรืออาจจะต้องการใช้งาน VDI เพิ่ม จะเหมาะกับแพ็กเกจนี้มากที่สุด

ทั้งหมดนี้ราคาเพียงหลักร้อยต่อเดือนเท่านั้น ดังนั้นสำหรับองค์กรที่ยังมองหาโซลูชันที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าการทำงานให้เป็น Digital Anywhere Workspace สามารถไว้วางใจให้ AIS Business และ Fusion Advantec ดูแลองค์กรของท่านได้

AIS UEM ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ด้วยหลากหลายโซลูชัน นอกจาก VMware Workspace ONE แล้ว AIS ยังมีโซลูชัน UEM จากผู้ให้บริการระดับโลกอื่นๆ อีกหลากหลายแพลทฟอร์ม เช่น IBM MaaS360, MobileIron, Samsung Knox, WeGuard เป็นต้น ซึ่งแต่ละแพลทฟอร์มจะมีจุดเด่นและความเหมาะสมกับการใช้งานของลูกค้าองค์กรในแต่ละกรณีแตกต่างกันไป

ลงทะเบียนเข้าร่วม AIS Business Webinar เพื่อรับฟังข้อมูลเพิ่มเติม

ทาง AIS Business ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนา Mobility Jump Webinar ในหัวข้อ “Freedom & Secure for work everywhere” ในวันอังคารที่ 24 สิงหาคม 2564 เวลา 10.00 – 11.30 น.

หากองค์กรใดสนใจการจัดการอุปกรณ์ต่างๆ ขององค์กรด้วย Unified Endpoint Management  (UEM) สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ AIS Business ที่ดูแลองค์กรของท่าน หรืออีเมล์ business@ais.co.th   ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ AIS UEM Page

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

OpenAI เปิดตัวโมเดล Audio รุ่นใหม่สำหรับพัฒนา Voice Agent อัจฉริยะ

OpenAI ประกาศเปิดตัวโมเดล Audio รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงทั้ง Speech-to-Text และ Text-to-Speech พร้อมให้นักพัฒนาทั่วโลกใช้งานผ่าน API เพื่อสร้าง Voice Agent ที่มีความสามารถในการโต้ตอบอย่างเป็นธรรมชาติ

ขอเชิญร่วมงาน AWS Summit Bangkok 2025 สัมนนาใหญ่อัปเดต AWS พร้อมฉลองครบรอบ 10 ปี AWS ประเทศไทย [29 เม.ย. 2025]

AWS ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนาใหญ่ประจำปี 2025 กับงาน AWS Summit Bangkok 2025 พร้อมการเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปีของ AWS ประเทศไทย ด้วยการอัปเดตเทคโนโลยี นวัตกรรม …