Toyota ได้ออกมาแถลงถึงแนวทางในการพัฒนา Platform ของ Connected Car เองทั้งหมดด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัยสำหรับลูกค้า และชี้ว่านี่เป็นหนทางเดียวที่เหล่าผู้ผลิตยานยนตร์จะสามารถรับประกันความปลอดภัยให้กับลูกค้าของตนได้

Shigeki Tomoyama ประธานของบริษัท Connected Car Company ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Toyota ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับ Connected Car ได้ออกมาให้รายละเอียดถึงทิศทางในการพัฒนา Platform ของ Connected Car เองทั้งหมดโดยไม่ใช้เทคโนโลยีจากผู้ผลิตรายอื่นๆ อย่าง Google, Apple, Microsoft หรือ Salesforce เลย โดย Platform นี้ของ Toyota จะมีชื่อว่า Mobility Service Platform หรือเรียกย่อๆ ว่า MSPF
Toyota นั้นจะใช้ Automotive Grade Linux (AGL) ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ Open Source สำหรับระบบ Connected Car โดยเฉพาะจาก Linux Foundation และถึงแม้ Platform หลักสำหรับเชื่อมต่อกับ Connected Car ทั้งหมดนั้นจะถูกพัฒนาขึ้นมาโดย Toyota เอง แต่การ Integrate ระบบบางส่วนเข้ากับเทคโนโลยีจากผู้ผลิตฝั่ง IT เองนั้นก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อให้ผู้ขับขี่รถยนต์สามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย โดยทาง Toyota เองก็จะมีการพัฒนา API เพื่อให้เหล่าผู้ผลิตรายอื่นๆ สามารถเชื่อมต่อกับ Platform ของ Toyota ได้ด้วยเช่นกัน
นอกจากการพัฒนา Platform ใหม่เองนี้ Toyota เองก็ยังมองว่าการมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ของการใช้ยานพาหนะต่างๆ ในรูปแบบของ Car Sharing เองนั้นก็ถือเป็นอีกหัวใจสำคัญ ซึ่งทาง Toyota เองก็ได้พัฒนาเทคโนโลยี Smart Key Box สำหรับใช้เชื่อมต่อกับระบบ Controller Area Network (CAN) ของรถยนต์, Cloud ของ toyota และสามารถยืนยัน Key ที่อยู่ใน Smartphone ของผู้ใช้งานผ่านทาง Bluetooth สำหรับทำการปลดล็อครถยนต์เพื่อนำไปใช้งานได้
Arthur D Little ได้ออกมาวิเคราะห์ว่าตลาดนี้มีมูลค่าสูงถึง 800,000 ล้านเหรียญหรือราวๆ 28 ล้านล้านบาทในแต่ละปี ซึ่งถือเป็นตลาดที่ใหญ่มากเมื่อเทียบกับรายรับจากโฆษณาของ Google ที่ 19,000 ล้านเหรียญหรือราวๆ 665,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา เป็นสาเหตุให้ทั้งเหล่าผู้ผลิตฝั่ง IT และฝั่งยานยนตร์เองนั้นต้องแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดนี้กันให้ได้มากที่สุดนั่นเอง