เทคโนโลยีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2023 ความก้าวหน้าหลายอย่างที่คาดหวังไว้สูง รวมถึง Industrial Metaverse, 5G wearables, Printed Electronics และ Satellite-to-Cell Services อาจจะไม่เกิดขึ้นในปี 2023
อ้างอิงจากเอกสารรายงานฉบับใหม่ มีจำนวน 74 เทรนด์เทคโนโลยีที่จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในปี 2023 นักวิเคราะห์ของ ABI Research ระบุถึง 41 เทรนด์ที่จะกำหนดรูปแบบตลาดเทคโนโลยี และอีก 33 เทรนด์ที่จะดึงดูดการเก็งกำไรและความเห็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็มีแนวโน้มน้อยที่จะเปลี่ยนแปลงภายในปีนี้สำหรับ 5 เทรนด์เทคโนโลยีที่น่าสนใจและคาดว่าจะไม่เกิดขึ้นในปี 2023 ตามที่ ABI วิจัย
กระแสของ Metaverse ถูกกล่าวถึงกันหนาหูถึงการลงทุนเม็ดเงินจำนวนมหาศาล แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับในปี 2023 นี้ จะยังไม่ใช่ปีแห่งการประกาศชัยชนะสู่อุตสาหกรรมและการผลิต (I&M) ด้วยเหตุผลด้านสภาพเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนซึ่งยังขาดแนวทางสู่มูลค่าที่ชัดเจนสำหรับ “โลกเสมือน” แต่เหล่าบริษัทด้าน I&M ยังคงไม่ละความพยายามที่จะลงทุนในเครื่องมือที่สร้างเธรดดิจิทัลสำหรับการให้ข้อเสนอแนะระหว่างนักออกแบบ วิศวกร และทีมผู้ผลิต และจะยังมีการลงทุนใน Digital Twins อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนถึงเครื่องจักร สายการผลิต และสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน
เทคโนโลยี 5G เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ผู้ผลิตอุปกรณ์เคลื่อนที่อ้างอิงถึงคุณสมบัติเฉพาะในผลิตภัณฑ์รุ่นถัดไป Consumer Wearable ซึ่งเป็นอุปกรณ์สวมใส่ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน ทำให้มีอิสระมากขึ้นจากการเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน แต่อย่างไรก็ตาม ABI กลับคาดการณ์ว่าอุปกรณ์สวมใส่ที่รองรับ 5G จะยังคงไม่ปรากฏบนรุ่นถัดไปให้เห็นในปี 2023 เนื่องจากวิวัฒนาการยังมีการขยับตัวไปข้างหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเทคโนโลยี 5G ส่งผลให้โครงการความร่วมมือรุ่นที่ 3 (3GPP) จะเปิดตัวความสามารถที่ลดลง ดังตัวอย่าง (RedCap) New Radio (NR) ภายใต้รุ่น 17, รุ่น 18 และหลังจากนั้น RedCap ได้จัดการกับอุปกรณ์ที่มีต้นทุนและกรณีการใช้งานที่มีข้อจำกัดด้านพลังงาน โดยมุ่งไปที่ผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนน้อยกว่ามาก ราคาถูกกว่า มีอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ดี และต้องการแบนด์วิดท์น้อยกว่าผลิตภัณฑ์ 5G NR ในปัจจุบัน
เพื่อให้สอดคล้องกับคุณสมบัติ 5G ระดับองค์กร ยังสนันสนุนด้วยเทคโนโลยี
Ultra Reliable Low Latency Communication (URLLC) และ Time Sensitive Networking (TSN) เพื่อตอบสนองความต้องการด้านเครือข่ายที่สำคัญในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น และยังจะเริ่มปรากฏในชิปเซ็ตที่มีจำหน่ายทั่วไปภายในสิ้นปี 2023 คุณสมบัติ URLLC และ TSN ใน 5G จะช่วยสนับสนุนกรณีการใช้งานที่หลากหลาย ซึ่งครอบคลุมทั้งยานยนต์ การขนส่ง การดูแลสุขภาพ การศึกษา การผลิตสื่อ ป่าไม้ ความปลอดภัยสาธารณะ การธนาคาร สาธารณูปโภค และอื่นๆ การเปิดตัวอุปกรณ์ระดับอุตสาหกรรมที่สนับสนุนบริการ Time Critical บนเครือข่าย 5G ได้รวมอยู่ในการปรับปรุงต่างๆ ในรุ่นที่ 16 และรุ่นที่ 17 ซึ่งจะพร้อมจำหน่ายภายในไตรมาสที่ 1 ปี 2024 เนื่องจากความล่าช้านี้ 4G LTE จะยังคงเป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อเซลลูลาร์ที่โดดเด่นจนถึงปี 2027 เป็นอย่างน้อย
การออกแบบสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์มีการเติบโตที่น่าสนใจที่สุดสำหรับ IoT และเริ่มมีการประกาศความร่วมมือเบื้องต้นระหว่าง OEM/ODM และบริษัทการพิมพ์ อย่างไรก็ตาม Printed IoT ที่ออกมานั้น จะกำหนดให้บริษัทการพิมพ์แบบดั้งเดิม เช่น ผู้จำหน่ายที่ขาย Near Field Communication หรือ RFID Label/Tags เพื่อขยายวิสัยทัศน์นอกเหนือไปจากพอร์ตโฟลิโอที่มีอยู่และปรับเปลี่ยนวิธีการทำตลาดกับลูกค้าในระดับสายการผลิตและโรงงาน โดย ABI มองว่า ตลาด Printed Electronics ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และปี 2023 ยังไม่ใช่ปีที่อุตสาหกรรมจะสามารถพลิกโฉมได้ สำหรับในปี 2022 ที่ผ่านมา มีข้อมูลที่ทำให้เราได้เห็นภาพภาพของเทคโนโลยีการพิมพ์ใหม่ๆ ซึ่งสามารถนำมาสู่ IoT ได้
-
Satellite-to-Cell Services
Satellite-to-Cell Services ที่เกิดขึ้นใหม่กำลังได้รับแรงผลักดันสู่การพัฒนาที่สามารถเข้าการให้บริการได้ในวงกว้าง สังเกตได้จากผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Apple, Huawei, SpaceX, Globalstar, AST Space Mobile และ Lynk กำลังเร่งเปิดตัวบริการต่างๆ ซึ่งปัจจุบัน Satellite-to-Cell Services พร้อมให้ใช้งานสำหรับเฉพาะทางเท่านั้น แต่ก็ยังสามารถแสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพเพิ่มเติมให้ใกล้เวอร์ชันที่สมบูรณ์ในอีกหลายปีข้างหน้า โดยปีใน 2023 และ 2024 มีแนวโน้มว่าจะถูกนำมาใช้เพื่อความต้องการของผู้บริโภคในระดับชั้นนำเท่านั้น โดย ABI Research คาดการณ์ว่า Satellite-to-Cell Services จะเข้าถึงการเชื่อมต่อที่ 6.8 ล้านครั้งภายในปี 2027 นับว่าเป็นนวัตกรรมที่น่าจับตามองมากๆ อีกเทคโนโลยีนึง
สรุป
ปี 2023 จะเป็นปีที่มีความท้าทายสำหรับวงการเทคโนโลยีที่จะมีการพลิกโฉมนวัตกรรมมากที่สุด เพื่อก้าวเข้าสู่ยุค Digital Transformation ได้อย่างเต็มตัวและสู่ความยั่งยืน โดยเฉพาะวิกฤติ COVID-19 ที่ผ่านมา กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ทุกภาคส่วนเร่งการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ทุกนวัตกรรมที่จะประสบความสำเร็จสู่เวอร์ชันที่สมบูรณ์ได้ง่ายๆ เช่นกัน “กาลเวลายังเป็นเครื่องพิสูจน์ความพยายามต่อไป”