สรุปงานสัมมนาออนไลน์ Enable a Remote Workforce with VMware Workspace ONE Tunnel and Assist

เมื่อวันที่ 18 กันยายนที่ผ่านมา ทางทีมงานของ VMware ได้จัดสัมมนาออนไลน์ขึ้นภายใต้หัวข้อ “Enable a Remote Workforce with VMware Workspace ONE Tunnel and Assist” เพื่อนำเสนอถึงการตอบโจทย์ในยุคของ Remote Workforce โดยทางทีมงาน TechTalkThai จึงขอสรุปมาให้ผู้อ่านทุกท่านได้ติดตามกันอีกครั้งครับ

จากสถานการณ์โควิด 19 ทำให้องค์กรและออฟฟิศหลายแห่งอนุมัติการทำงานนอกออฟฟิศหรือ Remote Workforce แต่โดยปกติแล้วเรามักจะต้องมีการกลับเข้าไปใช้ทรัพยากรจากภายในบริษัทเพื่อทำงาน ความท้าทายที่เกิดขึ้นคือเราจะทำอย่างไรให้พนักงานสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ โดยยังรักษาความมั่นคงปลอดภัยขององค์กร ซึ่งยังต้องมองไปถึงอุปกรณ์ต่างแพลตฟอร์ม ต่างเวอร์ชันด้วย 

Anywhere Any Device ด้วย VMware Workspace ONE

VMware Workspace ONE เป็นโซลูชันด้าน Mobile Device Management (MDM) ตัวหนึ่งที่ช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการใช้อุปกรณ์ของพนักงาน ในคอนเซปต์ทั้ง Bring-your-own (BYO), Choose Your Own Device (CYOD) หรือ Corporate Own/Personally Enable (COPE) ทำให้องค์กรสามารถกำหนดการเข้าถึงทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม ซึ่งรองรับการใช้งานในทุกแพลตฟอร์ม และรักษาคอนเซปต์ของ Zero-trust ไว้ได้

สำหรับ Workspace ONE นั้นสามารถรองรับการใช้งานได้ทั้งอุปกรณ์บน macOS, iOS (Workspace ONE กับการบริหารจัดการอุปกรณ์ Apple ระดับองค์กร) , Android, Linux แต่โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้งานทั่วไปในองค์กรจะนิยมใช้ Windows 10 เป็นส่วนใหญ่ โดยปัจจุบัน Microsoft ก็เปิดให้ Windows 10 สามารถรับการสั่งงานควบคุมได้ผ่านคลาวด์ ซึ่งวงจรการทำงานของ Workspace ONE กับ Windows 10 มีดังนี้

เครดิต : VMware
  • Device Onboarding – การเริ่มต้นใช้งานอุปกรณ์ Windows 10 ผู้ใช้งานสามารถติดตั้ง Agent ได้ง่ายๆ หรือในระดับองค์กรอาจใช้เครื่องมือ PC Lifecycle Management อย่าง SCCM และอื่นๆ หรือ GPO เพื่อ Deploy Agent ได้ นอกจากนี้ VMware ยังมีความร่วมมือกับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง Dell Technologies ซึ่งเมื่อองค์กรสั่งเครื่องมาก็สามารถสั่งติดตั้ง Agent ไว้ก่อนได้ 
  • Configuration Management – ในการกำหนด Policy ผู้ดูแลจะสามารถกำหนดการใช้งานแม้ว่าเครื่องจะไม่ได้ Join domain หรือสั่งอัปเดต BIOS ไปจนถึงติดตามทรัพย์สินได้ว่าเครื่องอยู่ที่ไหน
  • OS Update – เปิดให้ผู้ดูแลสามารถบริหารจัดการ Patch ของ Windows โดยเลือกได้ว่าอาจจะใช้เซิร์ฟเวอร์ WSUS ขององค์กรหรือผ่านคลาวด์ก็ได้ หรือต่อยอดทำ Patch Analytics ด้วยโซลูชัน Intelligent ได้
  • Software Distribution – สามารถใช้ Workspace ONE Catalog เพื่อเผยแพร่ซอฟต์แวร์ในกลุ่มผู้ใช้ในรูปแบบทั้ง MSI หรือ EXE โดยเปิดให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกติดตั้งเองได้ (Self-service)
  • Security – ผู้ดูแลสามารถตรวจสอบการตั้งค่าด้าน Security ของอุปกรณ์ได้ว่ามีฟีเจอร์อะไรเปิดอยู่บ้างเช่น เปิด BitLocker ไว้หรือไม่ และการตั้งค่าอื่นๆ ไปจนถึงสามารถ Customize เพิ่มเติมเพื่อทำ Sensor คอยตรวจสอบประสิทธิภาพด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์บนเครื่องว่าเป็นอย่างไร

ควบคุมความมั่นคงปลอดภัยระดับแอปพลิเคชันด้วย VMware Workspace ONE Tunnel

Workspace ONE Tunnel ช่วยให้องค์กรสามารถสร้างการเชื่อมระหว่างอุปกรณ์ของ End User เข้ามาใช้งานทรัพยากรในองค์กรได้อย่างมั่นคงปลอดภัย โดยข้อดีมีดังนี้

  • ผู้ไม่ต้องติดตั้ง VPN Client บนตัวอุปกรณ์ปลายทาง ซึ่ง End-user มักไม่เชี่ยวชาญด้านไอที ทำให้ลดภาระของไอที
  • ดูแลการใช้งานระดับแอปพลิเคชัน ทำให้สามารถควบคุมการใช้งานได้มากกว่า VPN ที่คัดกรองได้แค่ระดับเครือข่าย
  • รองรับการใช้งาน TLS และการใช้ Client Certificate เพื่อรับรองตัวบุคคล
  • มี SDK ให้ใช้ Integrate แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นเองเข้ากับโซลูชัน Workspace ONE
  • เปิดโอกาสให้องค์กรจัดการอุปกรณ์แบบ Unmanaged โดยไม่ต้องติดตั้งแอป Tunnel เพราะองค์กรอาจมองว่าการเข้าจัดการอุปกรณ์เป็นการรุกล้ำความเป็นส่วนตัว ซึ่งอาจจะไปใช้บริการผ่าน Web-based แทน แต่หากต้องการเข้าใช้ทรัพยากรบางอย่าง ค่อยร้องขอเพื่อติดตั้งแอปพลิเคชัน 
เครดิต: https://techzone.vmware.com/

องค์ประกอบ 4 ตัวที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน Workspace ONE Tunnel มีดังนี้ 

  • Workspace ONE Tunnel – เป็นแอปพลิเคชันที่นำไปติดตั้งบนอุปกรณ์ปลายทางเพื่อเชื่อมต่อกับ Gateway
  • Unified Access Gateway – เป็น Virtual Appliance ที่ติดตั้ง VMware Tunnel Edge Service เอาไว้และช่วยจัดการการเชื่อมต่อที่เข้ามาจาก Client
  • Per-App Tunnel – ส่วนประกอบหนึ่งบน Workspace ONE Tunnel สำหรับการทำเรื่องความมั่นคงปลอดภัยให้กับ Tunnel ของแต่ละแอปพลิเคชัน
  • Per-App VPN Profile and Device Traffic Rule – เป็นส่วนเก็บการตั้งค่าของ Tunnel กับ Application แต่ละตัว ซึ่งหากมีการใช้งานจากแอปพลิเคชันที่ตั้งค่าเอาไว้ ตัว Tunnel Client จะเข้ามาเอาค่าคอนฟิคไปบังคับใช้ในการ Routing แล้วค่อยสร้าง Connection ของแต่ละแอปกับ Gateway

ผู้สนใจสามารถติดตามขั้นตอนการใช้งาน VMware Workspace ONE Tunnel ได้ที่ https://techzone.vmware.com/deploying-vmware-workspace-one-tunnel-vmware-workspace-one-operational-tutorial#1214601 

ดูแล Remote Workforce ของคุณอย่างมั่นใจด้วย Workspace ONE Assist

Workspace ONE Assist เป็นโซลูชันที่ทำให้ทีมไอทีสามารถรีโมตให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของผู้ใช้งานปลายทางได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในสถานการณ์โรคภัยเราไม่สามารถเดินทางไปหากันได้ แม้สถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติในอนาคต ฟีเจอร์นี้ก็ยังช่วยให้ความช่วยเหลือพนักงานที่ทำงานจากที่ต่างๆได้

โซลูชันนี้ยังรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานอย่างสูงสุด เนื่องจากการกระทำใดของทีมช่วยเหลือจะต้องขออนุญาตผู้ใช้อุปกรณ์เสมอ ซึ่งผู้ใช้งานปลายทางมีสิทธิ์ที่จะยอมรับ หยุดชั่วคราว หรือตัดการเชื่อมต่อ สำหรับองค์กรที่ต้องการเริ่มต้นโซลูชันดังกล่าวนี้จะต้องติดตั้ง Intelligent Hub และ Remote Management Client ก่อนบนอุปกรณ์ด้วย ส่วนผู้ใช้บน SaaS จะสามารถเริ่มต้นใช้งาน Workspace One Assist ได้ทันที ชมการสาธิตการใช้งานกับ Windows 10 ได้ตามวีดีโอด้านล่าง


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Google เปิดตัว Secure AI Framework แนวทางการสร้าง AI อย่างปลอดภัย

Google เปิดตัว Secure AI Framework ช่วยแนะนำแนวทางการสร้าง AI อย่างปลอดภัย

Cisco เปิดตัวบริการ Multicloud Defenese

Cisco ได้ประกาศเปิดตัวบริการใหม่ Cisco Multicloud Defense ช่วยสร้างนโยบายรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับระบบ MultiCloud รองรับผู้ให้บริการ Public Cloud หลายราย