Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

Smart Property อนาคตของธุรกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และอาคารพาณิชย์ กับการแข่งขันกันด้วยเทคโนโลยีและ Digital Service

ท่ามกลางกระแส Digital Disruption ที่ถูกเร่งให้เร็วยิ่งขึ้นด้วยสถานการณ์ New Normal ในปัจจุบันนี้ เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกวงการธุรกิจ ในขณะที่ชีวิตของทุกคนนั้น Digital ก็ได้กลายเป็นส่วนสำคัญที่ไม่อาจแยกขาดจากกันได้อีกต่อไป และมีบทบาทเป็นอย่างมากทั้งในการดำรงชีวิตประจำวัน ไปจนถึงการทำงานให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่เพียงเท่านั้น โจทย์สำคัญหนึ่งที่เกิดขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่เคยพบเจออย่างในปัจจุบันนี้ ก็คือคำถามว่า อนาคตของ “พื้นที่” ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ส่วนตัว พื้นที่สาธารณะ และสถานที่ทำงานนั้น ควรต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเพื่อให้ตอบโจทย์ต่อการใช้ชีวิต, การเดินทาง และการทำงานที่มี Digital เข้ามาเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งคำตอบของคำถามนี้ย่อมกระทบต่อธุรกิจทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นบริษัทต่างๆ ที่ต้องปรับปรุงออฟฟิศให้เหมาะสมกับการทำงานในอนาคต ห้างสรรพสินค้าหรือสนามบินที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของลูกค้า นิคมอุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับการผลิตรูปแบบใหม่ ไปจนถึงโครงการหมู่บ้านหรือคอนโด ที่ต้องออกแบบให้รองรับไลฟ์สไตล์แบบ Digital ให้มากขึ้น

ทุกวันนี้ AIS เราได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของสังคม ในการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทั่วประเทศไทยให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของผู้คนและการทำงานของธุรกิจให้สอดคล้องกับทิศทางในโลกยุค Digital มากขึ้นคุณยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร ของ AIS กล่าว “ไม่เพียงแต่ความต้องการในการการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่าน 4G, 5G หรือไฟเบอร์ได้จากทุกที่ทุกเวลาเท่านั้น แต่การให้บริการลูกค้าในแต่ละอุตสาหกรรมนั้นก็มีโจทย์เฉพาะของตัวเองที่แตกต่างกันไปทั้งในเชิงเทคโนโลยีและการลงทุน ซึ่ง AIS เราต้องการจะเข้าไปเติมเต็มความต้องการนั้นในฐานะของ Digital Enabler

ในมุมมองของ AIS ในฐานะของ Digital Enabler ที่จะช่วยให้ทุกธุรกิจสามารถปรับตัวสู่อนาคตที่เป็นยุค Digital ให้ได้อย่างเต็มตัว ในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมานี้ได้เล็งเห็นถึง Digital Roadmap สำหรับธุรกิจองค์กรที่แบ่งออกเป็น 6 ข้อหลักๆ ด้วยกันได้แก่

  1. Digital War Room ต่อยอดจากการทำ Digitization เปลี่ยนกระบวนการทำธุรกิจให้กลายเป็น Digital และมีข้อมูลครบถ้วน ก่อนจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์แสดงผลและใช้งานในการตัดสินใจในเชิงธุรกิจตั้งแต่ระดับบริหารไปจนถึงระดับปฏิบัติการ สู่การเป็น Data-Driven Business อย่างเต็มตัว
  2. Overhaul Forecasting เปลี่ยนการทำนายวิเคราะห์แนวโน้มแบบเดิมๆ มาสู่การใช้เทคโนโลยีอย่าง AI, Machine Learning และ Deep Learning ควบคู่กับข้อมูลปริมาณมหาศาลที่เกิดขึ้นจากเครื่องจักร, การทำ Digitization และระบบ IoT เพื่อให้เกิดการทำนายแนวโน้มในทุกมิติการทำงาน และตัดสินใจได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น
  3. Digital Experience สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้าคนสำคัญด้วยประสบการณ์ในเชิง Digital ทั้งการติดต่อสื่อสาร, การปรับกระบวนการทำงานเพื่ออำนวยความสะดวกลูกค้าบนโลก Digital ได้มากขึ้น ไปจนถึงการทำความเข้าใจลูกค้าด้วยข้อมูลและนำเสนอในสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้อยู่เสมอ
  4. Technological Investment การลงทุนในเชิงเทคโนโลยีตั้งแต่ระดับโครงสร้างพื้นฐานไปจนถึงระดับของนวัตกรรม เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ และการปรับนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้เสริมธุรกิจ และเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมของตนเองได้อย่างมั่นใจ
  5. Automation เปลี่ยนกระบวนการทำงานให้กลายเป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น ทั้งในเชิงของ Digital เพื่อจัดการข้อมูลและผสานการทำงานระหว่างระบบ Business Application สำคัญ ไปจนถึงการนำเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์มาทำงานที่ซับซ้อนได้แบบอัตโนมัติ จากการที่เทคโนโลยีด้าน AI นั้นมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
  6. Agile & Distributed Workforce แนวโน้มการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปให้มีความรวดเร็วยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น และไม่จำเป็นต้องทำงานจากที่ออฟฟิศเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แม้แต่ที่บ้านหรือระหว่างการเดินทางนั้น ก็สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างจากการทำงานในออฟฟิศ

จาก Digital Roadmap ข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่าข้อ 2, 3 และ 6 นั้นล้วนส่งผลกระทบต่อพื้นที่ส่วนตัว พื้นที่สาธารณะ และสถานที่ทำงานทั้งสิ้น และประเด็นเหล่านี้ก็คือสิ่งที่ธุรกิจซึ่งให้บริการพื้นที่ สถานที่ อาคาร โรงงาน หรือสนามบินนั้นต้องพิจารณาและปรับปรุงให้สิ่งที่ตนเองให้บริการอยู่นั้นสามารถตอบโจทย์ต่อความต้องการของผู้บริโภคและภาคธุรกิจในอนาคตให้ได้

ผสาน Digital Service เปิดโอกาสใหม่ให้ธุรกิจอาคารพาณิชย์และอสังหาริมทรัพย์ไทย

แนวทางการปรับตัวเพื่อตอบรับต่ออนาคตที่เป็นไปได้นั้นก็คือการผสานนำ Digital Service เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการพื้นที่หรือสถานที่ต่างๆ เป็นอีกปัจจัยสำคัญหนึ่งเพื่อให้ผู้ที่มาใช้บริการหรือเช่าพื้นที่ใช้งานนั้นมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และมั่นใจได้มากขึ้นว่าหากต้องการใช้งานเทคโนโลยีใดๆ ในอนาคต สถานที่ที่ได้ตัดสินใจเช่าเอาไว้นี้จะสามารถตอบโจทย์ได้

หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายขึ้นนั้น ก็สามารถยกตัวอย่างดังเช่น

ห้างสรรพสินค้า ที่แต่เดิมมุ่งเน้นการนำเสนอภาพลักษณ์ที่ดี การเดินทางที่ง่ายดาย และความสะดวกสบายของผู้มาเช่าพื้นที่หรือลูกค้าที่มาจับจ่ายใช้สอยเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันนี้ก็อาจต้องเพิ่มบริการอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายเพื่อให้บริการร้านค้าสำหรับเชื่อมต่อกับระบบ Business Application โดยเฉพาะ, บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับลูกค้า, การเดินเครือข่ายหรือการจ่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับอุปกรณ์ Internet of Things (IoT), การวางระบบลาดจอดรถอัจฉริยะ ไปจนถึงระบบ Analytics เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าผู้มาเยี่ยมชมในแต่ละช่วงเวลา ช่วยให้ร้านค้าสามารถปรับตัวหรือปรับกลยุทธ์การตลาดของตนเองได้แม่นยำยิ่งขึ้น เป็นต้น

นิคมอุตสาหกรรม ที่เดิมทีมักมุ่งเน้นเรื่องการให้บริการสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่อให้โรงงานสามารถดำเนินการต่อไปได้ แต่ในอนาคตที่ Digital จะต้องกลายเป็นอีกหนึ่งสาธารณูปโภคสำคัญ นิคมอุตสาหกรรมก็ต้องปรับตัวเพื่อรองรับการเชื่อมต่อเครือข่ายความเร็วสูงในราคาที่คุ้มค่า, การใช้งานเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ที่เชื่อมต่อ 5G ได้, การนำระบบ IoT มาปรับให้โรงงานกลายเป็น Smart Factory, การนำเทคโนโลยี IoT ไปเสริมเพื่อสร้าง Smart Warehouse และ Smart Transportation/Logistics หรือมีบริการเสริมด้าน Smart Energy, Smart Meter, Smart Water และอื่นๆ ตามแต่ความต้องการของแต่ละโรงงาน

สนามบิน สามารถนำเทคโนโลยีเข้าไปเสริมความสะดวกสบายให้แก่ผู้เดินทางและเจ้าของร้านค้าได้ในแง่มุมเดียวกับห้างสรรพสินค้า และยังสามารถปรับกระบวนการต่างๆ ที่ผู้โดยสารต้องทำให้กลายเป็น Digital อย่างเต็มตัวมากขึ้น เพิ่มความเร็วในการตรวจสอบขั้นตอนต่างๆ ก่อนเดินทาง ทำให้ผู้โดยสารมีเวลามากยิ่งขึ้น และใช้เวลาในสนามบินทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น รวมถึงสนามบินเองก็ยังสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นได้จากบริการใหม่ๆ เหล่านี้

อาคารพาณิชย์ เสริมเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่จำเป็นเพื่อให้ธุรกิจที่มาเช่าใช้พื้นที่ทำออฟฟิศนั้นสามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมต่างๆ เพื่อสร้าง Smart Office ในรูปแบบที่ตนเองต้องการ ไม่ว่าจะเป็นระบบ Video Surveillance ที่ใช้ AI วิเคราะห์ภาพ, การผสานระบบ Access Control เข้ากับระบบตรวจจับใบหน้า, การจัดออฟฟิศแบบ Flexible ที่เปิดให้ทุกคนทำงานได้จากทุกพื้นที่ทำงาน, ระบบจองห้องประชุม และอื่นๆ

พื้นที่จัดอีเวนต์ ปรับการจัดงานให้สามารถส่งมอบประสบการณ์แบบ Hybrid ได้ในพื้นที่เดียว และให้บริการเครือข่ายหรือการรองรับการติดตั้งอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ ในการจัดงานเพื่อให้สามารถสร้างสรรค์กิจกรรมรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมาได้ ในขณะที่ยังสามารถอำนวยความสะดวกด้านการถ่ายทอดสดผ่านเครือข่ายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี

คอนโด หมู่บ้าน และโครงการอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ เสริมระบบรักษาความปลอดภัยแบบอัตโนมัติและรองรับ Smart Home ได้ รวมถึงยังติดตั้งเทคโนโลยีนวัตกรรมต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้อยู่อาศัยได้มากขึ้น ทั้งระบบสั่งซื้อสินค้า, ระบบสื่อสาร, ระบบจัดการพื้นที่จอดรถ, ระบบริหารจัดการสำหรับนิติบุคคล เป็นต้น

และอีกประเด็นหนึ่งที่กำลังได้รับความสำคัญจากภาคธุรกิจทั่วโลก ก็คือการนำเทคโนโลยีแบบ Touchless มาใช้เพื่อส่งเสริมการทำ Social Distancing และลดการสัมผัสสิ่งต่างๆ ในระหว่างทำงานลง ซึ่งก็เป็นเทคโนโลยีที่ถูกใช้ในแทบทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย, การใช้ AI ตรวจสอบใบหน้าเพื่อเปิดประตูได้โดยไม่ต้องสัมผัส, การนำหุ่นยนต์มาให้บริการ และอื่นๆ อีกมากมาย

ตัวอย่างเหล่านี้จะกลายเป็นโอกาสและการแข่งขันใหม่ในวงการธุรกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อาคารพาณิชย์ ไปจนถึงธุรกิจอื่นๆ ที่มีการขายหรือเปิดให้เช่าพื้นที่เพื่อวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตาม ซึ่งแน่นอนว่าสถานที่ที่มีระบบ Digital Service ที่ตอบโจทย์การใช้งานจริง ก็ย่อมส่งผลต่อการตัดสินใจเช่าหรือซื้อของลูกค้าอย่างแน่นอน

คุณยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร ของ AIS

AIS พร้อมเป็นพันธมิตร ติดปีกเทคโนโลยีให้ทุกสถานที่ตอบโจทย์ Digital Lifestyle

AIS เล็งเห็นว่าการที่ธุรกิจใดๆ จะปรับตัวและนำเสนอ Digital Service แก่ลูกค้าของตนเองอย่างเหมาะสมได้นั้น อาจต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและการลงทุนที่ค่อนข้างสูง ซึ่งก็ถือเป็นอุปสรรคใหญ่ของหลายธุรกิจที่ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีหรือมีงบประมาณปริมาณมหาศาลพร้อมจะลงทุน ซึ่ง AIS ก็พร้อมที่จะอุดช่องโหว่เหล่านี้ในฐานะของพันธมิตรทางธุรกิจนั่นเอง

ก่อนหน้านี้ AIS ได้เคยมีความร่วมมือกับธุรกิจและหน่วยงานชั้นนำในประเทศไทยมากมายทั้งในแง่ของโครงข่ายและเทคโนโลยีส่วนเสริม ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการเครือข่ายแก่ห้างสรรพสินค้าหรือธุรกิจค้าปลีกเพื่อให้ร้านค้าสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายและใช้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ, การออก Internet Package พิเศษเพื่อตอบโจทย์การใช้งานในแต่ละสถานที่, ความร่วมมือกับนิคมอุตสาหกรรมเพื่อนำ 5G, ไฟเบอร์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอัจฉริยะสมัยใหม่มาพัฒนาเป็นสายการผลิตอัตโนมัติ, การวางระบบ Digital ให้กับโครงการบ้านจัดสรรหรือคอนโดเพื่อให้รองรับเทคโนโลยีที่ผู้อยู่อาศัยต้องการได้อย่างไม่ติดขัด ไปจนถึงการพัฒนาระบบ Digital เพื่อให้สนามบินอู่ตะเภากลายเป็นตัวอย่างของสนามบินอัจฉริยะ

ความร่วมมือนี้สามารถเกิดได้ในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของ Turnkey ที่ AIS เป็นผู้ลงทุนและให้บริการในโครงการ, การเป็น Joint Venture เปิดบริษัทและร่วมงานด้วยกัน หรือการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่โดยลงทุนร่วมกันและทำ Revenue Sharing แบ่งรายได้ระหว่างกันก็ได้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความเหมาะสมในแต่ละโครงการ

ที่ผ่านมา AIS ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาห้างสรรพสินค้า, นิคมอุตสาหกรรม, สนามบิน, อาคารพาณิชย์ และโครงการอสังหาริมทรัพย์มากมายในฐานะของพันธมิตรต่อเจ้าของโครงการเหล่านั้น ซึ่งในฐานะที่เราเป็น Digital Enabler รวมถึงเป็นผู้นำด้าน 5G เราก็เห็นว่ายังมีโอกาสอีกมากที่พื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทยจะยังคงปรับปรุงด้วยการเสริม Digital Service เพื่อรองรับต่อโจทย์ความต้องการของประชาชนและภาคธุรกิจในอนาคตได้ ซึ่งไม่เพียงแต่จะสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับภาคธุรกิจในไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศไทยในสายตาของนักลงทุนและภาคธุรกิจทั่วโลกอีกด้วย และ AIS ก็เปิดพร้อมที่จะเป็นพันธมิตรกับธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยเดินหน้าไปด้วยกันอย่างแข็งแรง” คุณยงสิทธิ์ กล่าวทิ้งท้าย

สนใจสามารถตรวจสอบข้อมูลและสมัครใช้บริการต่างๆ กับทาง AIS Business ได้ทันที

สำหรับธุรกิจองค์กรที่สนใจสมัครใช้บริการ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ AIS Business ที่ดูแลองค์กรของท่าน หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ AIS Business ได้ที่ https://business.ais.co.th/ หรือติดต่อทีมงานของ AIS ที่ดูแลธุรกิจของคุณอยู่เพื่อประสานงานสำหรับการขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการต่างๆ

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Microsoft ยกเลิกการใช้ 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว

Microsoft ประกาศยกเลิกการใช้กุญแจเข้ารหัส 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว เปลี่ยนไปใช้กุญแจเข้ารหัสความยาว 2048-bit เป็นอย่างน้อย

NVIDIA เปิดตัว Blackwell B200 GPU และ GB200 Superchip

NVIDIA ประกาศเปิดตัว Blackwell B200 GPU และ GB200 Superchip ชิปประมวลผล AI รุ่นใหม่