CDIC 2023

[PR] ม.เอเชียอาคเนย์ ร่วมมือ Labster ให้นักศึกษาใช้แล็บ VR ระดับโลก

มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ร่วมมืออย่างเป็นทางการกับ Labster  พัฒนาการศึกษายุคใหม่สู่การจำลองห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย พัฒนาการเรียนรู้ด้วยระบบสามมิติเสมือนจริง (VR)

นายฉัททวุฒิ พีชผล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ กล่าวว่า เราเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกของไทย ที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการเรียนการสอน มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางการเรียนรู้ โดยทำความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับ Labster ซึ่งเป็นผู้นำของโลกที่พัฒนาการเรียนรู้ด้วยระบบสามมิติเสมือนจริง (VR) ผ่านห้องปฏิบัติการจำลองทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย โดยการนำแนวคิดและกลไกของเกมมาประยุกต์ในการเรียน ที่เรียกว่า Gamification โดยการจำลองสถานการณ์ของผู้เรียน พร้อมระบบติดตาม วัดผล ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความท้าทายในการเรียนรู้ นักศึกษาสามารถใช้ห้องเสมือนจริง Labster ในการค้นคว้าดุจห้องเรียนจริง อีกทั้งยังสามารถเรียนรู้กับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก ผ่านทางระบบออนไลน์ได้อีกด้วย

“มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์จัดเป็นสถาบันแห่งแรก ๆ ในเอเชีย ที่นำ Labster VR มาใช้จริง เหมือนสถาบันการศึกษาชั้นนำของโลกที่ได้นำ Labster มาใช้ เช่น MIT Harvard California State University Stanford หรือ University of Hong Kong โดยการเรียนในแบบ Labster จะทำให้นักศึกษาเรียนรู้นั้นผ่านระบบสามมิติเสมือนจริง  สามารถช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ผ่านการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งการเรียนรู้รูปแบบสามมิติเสมือนจริง เป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิด “สังคมแห่งการเรียนรู้” ช่วยลดข้อจำกัดทางการเรียนรู้ของนักศึกษาในเรื่องเวลาและงบประมาณในการเดินทางมหาวิทยาลัย   อีกทั้งนักศึกษาได้ฝึกทักษะการสื่อสารทางด้านภาษาอังกฤษ รวมถึงลดงบประมาณของมหาวิทยาลัยในการสร้างห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์จริงที่ต้องลงทุนมูลค่าหลายร้อยล้านบาท”

ด้านนายฮันท์ แพคทริค เอิร์ดเวิร์ดสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ สถาบัน Labster กล่าวว่า ในโลกศตวรรษที่ 21 ทุกสิ่งรอบตัวเราล้วนเป็นดิจิทัล จากเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งภาคธุรกิจตลอดจนภาครัฐบาลต่างตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการนำสื่อดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนองค์การ ส่วนของการศึกษานั้นได้ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาผู้สอนและผู้เรียน เพื่อให้ก้าวทันโลกยุคดิจิทัลเช่นเดียวกัน  ซึ่งการศึกษาในศตวรรษที่ 21 จะมุ่งเน้นพัฒนาทักษะของผู้เรียนให้ได้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและเรียนรู้ได้ตลอดเวลา โดยผู้สอนจะต้องปรับตัว และสามารถเป็นผู้ชี้นำ แนะแนวทางในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนให้ได้

ด้าน ผศ.ดร.เอกชัย  ภู่สละ ที่ปรึกษาด้านการศึกษาออนไลน์ กล่าวเสริมว่า นวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและมีแนวโน้มที่จะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21  ก็คือ การเรียนรู้ด้วยห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual  Classroom) และการเรียนรู้ด้วยสามมิติเสมือนจริง (Virtual Reality) ซึ่งเป็นระบบการเรียนรู้ที่มีคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางในการสร้างสิ่งแวดล้อม  ให้มีความเสมือนกับกระบวนการจริงในห้องเรียนหรือห้องปฏิบัติการ  อีกทั้งมีสิ่งสนับสนุนอื่น ๆ ที่จะทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้โดยตรงจากผู้เชี่ยวชาญ

ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จะให้นักศึกษาได้เรียนรู้ผ่าน Labster ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2560  เป็นต้นไป โดยการเรียนด้วยระบบภาพสามมิติเสมือนจริง VR เสริมจากห้องปฏิบัติการจริง จะเป็นการนำนวัตกรรมมาเปิดโอกาสทางการศึกษาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงชีวิตจริงมากที่สุด  ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ในการศึกษาแห่งศตรรษที่ 21 อย่างยิ่ง ที่จะนำพานักศึกษาของมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ให้มีโอกาส พัฒนาทักษะ และได้สัมผัสกับแหล่งความรู้และอุปกรณ์ชั้นนำระดับสากล เทียบเท่ากับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกเช่นกัน

 

###


About TechTalkThai PR 2

Check Also

DGA เปิดผลงาน รัฐบาลดิจิทัล ประหยัด คุ้มค่ามูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 8 พันล้านบาท ชูกลยุทธ์ เข้าถึงบริการภาครัฐ ง่าย สะดวก รวดเร็ว ตรวจสอบได้ ขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล ในบทบาท Smart Connector เชื่อมต่อภาครัฐทุกภาคส่วนกับประชาชน [Press Release]

DGA อัพเดทความก้าวหน้ารัฐบาลดิจิทัลของไทย มุ่งเป้ายกระดับงานบริการ ทั่วประเทศให้เป็นดิจิทัล พร้อมขยายบริการรัฐบนแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ให้ครอบคลุมประชาชนทุกช่วงวัย สามารถรับบริการภาครัฐได้ แฮบปี้ คนไทยตื่นตัวการใช้บริการรัฐผ่านแอปพลิเคชัน และใช้บริการดิจิทัลภาครัฐทุกบริการรวมกว่า 4 ร้อยล้านครั้ง โดยไม่รวมบริการโครงสร้างพื้นฐาน DG …

ไฟร์วอลล์หมดยุคแล้ว? อย่างน้อยก็ยังไม่ใช่ในศตวรรษนี้แน่นอน [Guest Post]

โดยซิดดาร์ท เดชปันเด ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีภาคสนามประจำเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ผมมีโอกาสได้บรรยายเรื่อง SASE (Secured Access Service Edge  หรือ สถาปัตยกรรมการใช้งานระบบคลาวด์ อย่างมั่นคงปลอดภัยให้ประสบความสำเร็จได้ง่ายยิ่งขึ้น) ให้กับบริษัทขนาดใหญ่ต่างๆ กว่า …