Root: หุ่นยนต์และซอฟต์แวร์สำหรับใช้สอนเด็กๆ เขียนโปรแกรม วิ่งบนกระดานได้ พัฒนาโดย Harvard

การผลักดันการสอนเขียนโปรแกรมในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นเป็นวาระระดับชาติมาได้ระยะหนึ่งแล้ว และในครั้งนี้ Harvard University ก็ได้ออกมาแนะนำ Root หุ่นยนต์สำหรับใช้สอนเด็กๆ เขียนโปรแกรมได้อย่างสนุกสนานพร้อมๆ กับเปิดโลกจินตนาการใหม่ เพราะเจ้าหุ่นยนต์ Root นี้สามารถวิ่งบนกระดานแม่เหล็กหน้าชั้นเรียนได้เลยนั่นเอง! (ผู้ใหญ่เห็นยังอยากเล่นเองเลยครับบอกตรงๆ)

Credit: Root
Credit: Root

 

ในโครงการ Root นี้จะแบ่งออกด้วยกันเป็น 2 ส่วน ได้แก่หุ่นยนต์ Root และ Application อย่าง Root Square โดยมีรายละเอียดดังนี้

Root เป็นหุ่นยนต์ขนาดเล็กที่สามารถควบคุมได้ผ่านการเขียนโปรแกรม โดยด้านบนของหุ่นยนต์ Root นี้จะมีปุ่มเปิดปิด, ยางกันกระแทก, Sensor จับค่าแสง, รองรับการ Touch ได้, มีแผง LED, สามารถหยิบจับปากกาไวท์บอร์ดได้ และมีพอร์ตพิเศษสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก ส่วนด้านล่างของหุ่นยนต์จะมี Sensor ตรวจจับสี, Sensor วัดค่าสนามแม่เหล็ก, ล้อสำหรับวิ่ง, แปรงลบกระดาน และช่องสำหรับชาร์จพลังงาน

Credit: Root
Credit: Root

ภายในตัว Root เองนี้ยังมีการติดตั้ง Encoder ความละเอียดสูง, 3D Accelerometer และ 3D Gyroscope เอาไว้ด้วยในตัวเพื่อให้สามารถตรวจจับความเร็ว, ตำแหน่ง, มุม และทิศทางของล้อได้อย่างแม่นยำ และยังสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อปรับความเร็วการเร่งของ Motor ให้ตรงกับความต้องการได้เมื่อต้องวิ่งสวนหรือวิ่งตามแรงโน้มถ่วงด้วย

จุดเด่นของ Root นี้คือการที่มันมีแม่เหล็กในตัวทำให้สามารถเกาะติดกับหลายๆ สิ่งภายในห้องเรียนได้ เช่น กระดานไวท์บอร์ด ทำให้เราสามารถสร้างสนามแข่งรถให้ Root วิ่งแข่งกัน หรือให้ Root จับปากกาไวท์บอร์ดเพื่อวาดรูปต่างๆ ตามที่กำหนดเอาไว้ในโปรแกรมได้บนกระดานหน้าชั้นเรียนได้เลย อีกทั้งด้วย Sensor วัดค่าสีที่อยู่ด้านใต้ของ Root นั้น ก็จะทำให้ Root สามารถมองเห็นเส้นที่วาดอยู่บนกระดาน และนำไปใช้เป็นเงื่อนไขในการทำงานของโปรแกรมที่ระบุลงไปได้

Credit: Root
Credit: Root

นอกจากนี้ Root ยังสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้ผ่านทาง Bluetooth LE และ USB-C อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Raspberry Pi, Arduino, BBC Micro:Bit, กล้องถ่ายรูป, Sensor และอื่นๆ อีกมากมาย

ส่วนการเขียน Software บน Root นั้นจะสามารถทำได้ผ่าน Root Square ซึ่งภายใน Root Square นี้จะมีวิธีการเขียนโปรแกรมด้วยกัน 3 ระดับให้เด็กๆ สามารถค่อยๆ เรียนรู้ได้ตั้งแต่การเขียนโปรแกรมแบบ Graphical Programming, การเขียนโปรแกรมด้วยโค้ดเบื้องต้นแบบบล็อค ไปจนถึงการเขียนโปรแกรมด้วย Python, JavaScript และ Swift ได้เลย

Credit: Root
Credit: Root

จุดเด่นที่ถูกเสริมเข้ามาใน Root Square นี้คือการที่สามารถแก้ไขโค้ดและเห็นผลลัพธ์ได้ทันทีในขณะที่โปรแกรมหรือหุ่นยนต์กกำลังทำงาน ทำให้เด็กๆ สามารถสนุกกับการแก้ไขสิ่งต่างๆ และเห็นผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ในทันที ในขณะที่ตัว UI เองนั้นก็รองรับกับการใช้งานด้วย Touch Screen อย่างเต็มตัว ทำให้คุณครูสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ มาเป็นสื่อได้อย่างหลากหลายยิ่งขึ้น และการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมหุ่นยนต์หรือให้หุ่นยนต์ตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ นั้นสามารถทำได้ตั้งแต่ขั้นแรกเริ่มเลย ทำให้เด็กๆ สามารถเริ่มต้นสนุกสนานกับการเขียนโปรแกรมและบังคับหุ่นยนต์ได้อย่างรวดเร็ว

ปัจจุบันโครงการนี้ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ KickStarter แล้ว ผู้ที่สนใจสามารถสนับสนุนหรือสั่งซื้อได้ทันทีที่ https://www.kickstarter.com/projects/1509453982/root-a-robot-to-teach-coding เลยนะครับ

ที่มา: http://spectrum.ieee.org/automaton/robotics/home-robots/how-root-wants-to-bring-coding-to-every-classroom

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

NB-IoT คืออะไร?

NB-IoT คงเป็นศัพท์ที่หลายท่านได้เห็นในทางเลือกของการเชื่อมต่อระยะไกลของอุปกรณ์ IoT และเชื่อว่าหลายคนก็ยังไม่เข้าใจเช่นกันว่า เหตุใดการโปรโมตบริการ NB-IoT จึงผ่านมาทางผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ ในบทความนี้เราจะมาอธิบายความหมายของ Narrowband IoT ให้รู้จักกันชัดๆ

Mfec เร่งช่วยลูกค้าปรับกลยุทธ์สู้เศรษฐกิจผันผวน มุ่งสู่ AI แต่ยังใส่ใจ Security

MFEC Inspire 2025 หรืองานใหญ่ประจำปีของ MFEC ได้มาพร้อมกับธีม “Simplify Your IT Investment for a Future-Ready Business” โดยได้รับความสนใจจากลูกค้านับพันราย …