CDIC 2023

Qualcomm เปิดตัว ARM CPU ขนาด 48 Core สำหรับ Server เตรียมสู้ Intel ในตลาด Data Center

Qualcomm ได้ประกาศเปิดตัว Qualcomm Centriq 2400 ซึ่งเป็น ARM CPU สำหรับ Server รุ่นแรกของ Qualcomm ที่ผลิตบนเทคโนโลยี 10-nanometer Process Node เพื่อรุกตลาด Server และกลายเป็นขุมกำลังใหม่ของวงการหน่วยประมวลผลของ Server ให้กับโลกนี้

Qualcomm Data Center Technologies หนึ่งในบริษัทลูกของ Qualcomm ได้ออกมาเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ARM CPU ตระกูล Qualcomm Centriq 2400 ที่มีจำนวน Core สูงสุดถึง 48 Core ที่ใช้สถาปัตยกรรม ARMv8 CPU ซึ่งถูกออกแบบสำหรับให้มาใช้งานภายใน Rack Server โดยเฉพาะอยู่แล้ว และนำมาปรับแต่งพิเศษเพิ่มเติมกลายเป็นชื่อ Qualcomm Falkor CPU ไปในที่สุด

Falkor CPU นี้ถูกออกแบบให้รองรับการทดสอบตาม SBSA ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มโครงการ ทำให้ Qualcomm Falkor CPU นี้สามารถทำงานร่วมกับ ARMv8 Server Platform ใดๆ ก็ได้ โดยทาง Qualcomm นั้นได้ทำการสาธิตการใช้งาน CPU ตระกูลนี้ร่วมกับ Linux, Java และ Apache Spark เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ตัวทดสอบของ Qualcomm Centriq 2400 นี้เริ่มถูกแจกจ่ายให้กับลูกค้าบางรายเพื่อทำการทดสอบ และจะเริ่มวางตลาดอย่างเป็นทางการภายในครึ่งปีหลังของปี 2017

สงครามครั้งใหญ่ของตลาด Server CPU อาจจะปะทุขึ้นมาในปีหน้าให้เราได้รับชมกันครับ ต้องติดตามกันต่อไปดีๆ

ที่มา: https://www.qualcomm.com/news/onq/2016/12/07/meet-qualcomm-centriq-2400-worlds-first-10-nanometer-server-processor


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Microsoft แพตช์แก้ไขช่องโหว่เร่งด่วน 2 รายการให้ Edge, Teams และ Skype

Microsoft ได้แก้ไขช่องโหว่ Heap Buffer Overflow 2 รายการอย่างเร่งด่วนในไลบรารีที่ผลิตภัณฑ์ของตนเกี่ยวข้อง ทั้งนี้มีรายงานพบว่าช่องโหว่ได้ถูกนำไปใช้โจมตีจริงแล้ว

ตอบโจทย์ “การควบคุมการเข้ารหัส” จากประกาศของ ก.ล.ต. ด้วยโซลูชันจาก Thales

เมื่อไม่นานมานี้ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกประกาศเกี่ยวกับ “แนวปฏิบัติในการจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ” ซึ่งพูดถึงแนวทางของธุรกิจภายใต้การดูแลของ ก.ล.ต. ว่าต้องมีวิธีการกำกับดูแลระบบไอทีและจัดหาการรักษาความมั่นคงปลอดภัย พร้อมกันนี้ยังต้องตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ แต่ที่น่าสนใจคือหมวดหนึ่งภายใต้ประกาศคือหัวข้อ “การควบคุมการเข้ารหัส” มาถึงตรงนี้คำถามสำคัญคือ แล้วธุรกิจใดที่ถูกควบคุมภายใต้ประกาศของกลต. และท่านจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรต่อไป โดยเฉพาะการควบคุมการเข้ารหัส ต้องมีอุปกรณ์หรือโซลูชันใดที่ถูกนำเข้ามา …