Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

Prize Interpack (1999) กับก้าวสำคัญในการปรับระบบ ERP สู่ SAP Business ByDesign ตอบโจทย์การผลิตถุงพลาสติกคุณภาพสูงสู่ธุรกิจหลากหลาย

เคยสงสัยกันไหมว่าถุงพลาสติกที่เราใช้งานกันในทุกวันนี้ผลิตมาจากไหน? แน่นอนว่าในไทยเองก็มีโรงงานทางด้านพลาสติกมากมาย แต่หากพูดถึงโรงงานที่ผลิตถุงพลาสติกให้กับแบรนด์ชั้นนำอย่างเช่น C.P., 7-Eleven, Big C, Makro, HomePro และอื่นๆ ล่ะก็ Prize Interpack (1999) คือผู้ผลิตถุงเหล่านั้น และในบทความนี้เราจะเล่าถึงทั้งแนวโน้มที่เปลี่ยนไปในวงการอุตสาหกรรมผลิตถุงพลาสติก และข้อคิดจากการปรับไปใช้ระบบ SAP Business ByDesign ในฐานะระบบ ERP ที่เป็นหัวใจหลักของ Prize Interpack (1999) ที่เป็นผู้ผลิตถุงพลาสติกให้กับหลากหลายธุรกิจที่น่าจะผ่านมือพวกเรากันมาบ้างไม่มากก็น้อย ทั้ง C.P., 7-Eleven, Big C, Makro, Tesco-Lotus, HomePro และธุรกิจอื่นๆ อีกมากมายกันครับ

Prize Interpack (1999): ผู้ผลิตถุงพลาสติกคุณภาพสูงสำหรับการใช้งานทั่วไปและธุรกิจเฉพาะทาง ยอดขายกว่า 360 ล้านบาทในปี 2018 ที่ผ่านมา

ก่อนจะเล่าไปถึงเรื่องราวของระบบ ERP เราขอเล่าถึงเรื่องราวธุรกิจของ Prize Interpack (1999) และธุรกิจด้านการผลิตถุงพลาสติกให้ทุกท่านได้รู้จักกันโดยเบื้องต้นกันก่อน ซึ่งคุณพีรพงศ์ ศาศวัตวิบูลย์ ผู้บริหารระดับสูงจากบริษัท Prize Interpack (1999) จำกัด ก็ได้ให้เกียรติมาสัมภาษณ์เพื่อใช้เป็นเนื้อหาสำคัญในบทความนี้

คุณพีรพงศ์ ศาศวัตวิบูลย์ ผู้บริหาร บริษัท ไพรซ์ อินเตอร์แพค(1999) จำกัด

สไตล์ของคุณพีรพงศ์ที่สามารถสัมผัสได้จากการพูดคุยอย่างสนุกสนานในครั้งนี้นั้นก็ถือได้ว่าคุณพีรพงศ์เป็นผู้บริหารอารมณ์ดีที่มีวิสัยทัศน์ไกล พร้อมเปิดรับในเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ อีกทั้งยังได้ลงมาคลุกคลีกับระบบ ERP ด้วยตนเองตั้งแต่แรกเพราะเล็งเห็นอยู่แล้วว่า ERP นี้จะเข้ามาเป็นหัวใจสำคัญของทุกกระบวนการในธุรกิจของ Prize Interpack (1999) อย่างแน่นอน

ผลิตภัณฑ์หลักๆ ที่ถูกคิดค้นวิจัยและสร้างขึ้นมาในโรงงานของ Prize Interpack (1999) ซึ่งมีพนักงานกว่า 140 คนในโรงงาน 2 แห่งที่มหาชัยและบางบอนนี้ก็คือถุงพลาสติกสำหรับใส่สินค้าที่เราได้ใช้กันในชีวิตประจำวันอยู่ทุกวันนี้นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นถุงพลาสติกของ C.P., 7-Eleven, Big C, Makro, Tesco-Lotus, HomePro หรืออีกหลากหลายแบรนด์ก็ตาม เรียกได้ว่า Prize Interpack (1999) นี้ได้รับความไว้วางใจจากแบรนด์ชั้นนำทั่วไทย ในการผลิตถุงพลาสติกก็ว่าได้

ความไว้วางใจที่ได้รับจากแบรนด์ต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 20 ปีนี้ ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจของแบรนด์นั้นๆ ที่มีให้กับกระบวนการการผลิตของ Prize Interpack (1999) ได้เป็นอย่างดี ซึ่งประเด็นนี้ก็สอดคล้องกับกลยุทธ์ของทาง Prize Interpack (1999) เองที่มุ่งเน้นในคุณภาพของการผลิตและมาตรฐานของกระบวนการทำงาน ที่นอกเหนือไปจากการได้รับการรับรองมาตรฐานอย่าง ISO 9000 : 2015, GMP, HACCP แล้ว การเลือกใช้แรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายภายในโรงงานก็เป็นอีกประเด็นสำคัญที่ Prize Interpack (1999) ให้ความสำคัญเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากเหล่าธุรกิจองค์กรชั้นนำที่หลากหลายมา ซึ่งนอกจากลูกค้าที่เป็นธุรกิจองค์กรไทยแล้ว แบรนด์ต่างชาติในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองก็ยังเลือกใช้ Prize Interpack (1999) ด้วยเช่นกัน

อ่านมาถึงตรงนี้หลายๆ คนก็อาจจะสงสัยว่า “แค่ผลิตถุงพลาสติกนี้จะมีอะไรมากไปกว่าการทำถุงที่ทนทานและพิมพ์ชื่อแบรนด์ของลูกค้าลงไป?” ในการพูดคุยครั้งนี้ทางเราเองก็สงสัยเรื่องนี้เหมือนกันจึงได้สอบถามคุณพีรพงศ์ และได้รับคำตอบที่น่าสนใจและต้องอธิบายขยายความกันยาวมากว่า “การผลิตถุงพลาสติกทุกวันนี้มีรายละเอียดเยอะกว่าที่คนทั่วไปรู้”

ถุงพลาสติกสำหรับใช้งานทั่วไป ต้องหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันเป็นสำคัญ

สำหรับถุงพลาสติกในสมัยก่อนผู้ใช้งานอย่างเราๆ นั้นอาจสัมผัสได้ถึงประเด็นเรื่องคุณภาพจากความเหนียวและความทนทานของถุงที่ใช้ และในมุมของผู้ผลิตนั้นก็มุ่งเน้นด้านคุณภาพการผลิตและความเร็วในการผลิตเป็นหลัก แต่ในมุมของแบรนด์และผู้ผลิตทุกวันนี้จะมองแค่นั้นไม่ได้อีกแล้ว

ประเด็นใหญ่ที่เริ่มกลายเป็นที่พูดถึงในสังคมไทยทุกวันนี้ ก็คือเรื่องของขยะที่เกิดขึ้นทุกวันอย่างต่อเนื่องจากการบริโภคสินค้าต่างๆ และกำจัดได้ยาก ซึ่งปัญหานี้ก็ถือเป็นปัญหาสำคัญที่หากคนไทยเราไม่ร่วมมือกันตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อลดปริมาณขยะลง หรือเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคไปใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ อนาคตลูกหลานของเราก็คงต้องเป็นผู้แบกรับการอยู่ร่วมกับขยะไป

ด้วยเหตุนี้เอง เหล่าแบรนด์ต่างๆ จึงต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการหันมาใช้ถุงพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้, นำมา Recycle ได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งก็เป็นโจทย์ต่อมายังทาง Prize Interpack (1999) ที่ต้องมุ่งหาวัตถุดิบสำหรับการผลิตถุงแบบใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเทรนด์หนึ่งที่กำลังมาแรงก็คือผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม BIOPlastic นั่นเอง

ไม่เพียงเท่านั้น นอกจากวัตถุดิบที่เปลี่ยนไปแล้ว สารเคมีและกระบวนการการผลิตรวมถึงเครื่องจักรที่ใช้นั้นก็ต้องเปลี่ยนแปลงทั้งหมด เพื่อลดการสร้างมลพิษที่จะเกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนการผลิตไปด้วย นี่คือสิ่งที่ Prize Interpack (1999) ได้คิดและทำเผื่ออนาคตของเมืองไทยไปอีกก้าวหนึ่ง
ทุกวันนี้ถุง BIOPlastic ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนี้ได้กลายเป็นทางเลือกของแบรนด์ที่หลากหลายในเมืองไทยมากขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มกลายเป็นมาตรฐานของการเลือกใช้ถุงพลาสติกกันไปแล้ว ไม่ว่าผู้บริโภคอย่างเราๆ จะทราบหรือไม่ก็ตา

ถุงพลาสติกเฉพาะทาง เพื่อตอบโจทย์การใช้งานในธุรกิจที่แตกต่างตามความต้องการที่หลากหลาย

นอกจากถุงพลาสติกที่เราได้ใช้กันในทุกวันนี้แล้ว Prize Interpack (1999) เองก็ยังมีการผลิตถุงพลาสติกที่มีความพิเศษสูงยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งก็เป็นโจทย์ที่ถือว่าท้าทายและสร้างความแตกต่างให้กับ Prize Interpack (1999) ไปด้วยในตัว

ตัวอย่างที่คุณพีรพงศ์ยกขึ้นมาให้เห็นภาพกันอย่างชัดเจนนั้นก็เช่น ถุงพลาสติกสำหรับใส่สัตว์น้ำ สำหรับใส่ปลาหรือกุ้งเพื่อทำการขนย้ายโดยเฉพาะ เพื่อให้ถุงนั้นมีความทนทานสูงอยู่ และมีการออกแบบในรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาหรือกุ้งนั้นว่ายไปโดนขอบถุงหรือก้นถุงบาดจนได้รับการบาดเจ็บ ด้วยการเสริมชั้นซีลเข้าไปตรงขอบถุง หรืออย่างเช่นการผลิตถุงสำหรับบรรจุอาหาร ที่ต้องคำนึงถึงประเด็นด้านการถนอมอาหารให้ได้ยาวนานยิ่งขึ้น เป็นต้น

ถุงลักษณะนี้มักถูกใช้งานภายในกระบวนการของอุตสาหกรรมต่างๆ และไม่ได้ปรากฏให้ผู้บริโภคได้เห็นแต่อย่างใด ซึ่งธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรมนั้นก็จะมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป จุดนี้เองที่ทำให้ Prize Interpack (1999) ต้องคอยสรรหาวัตถุดิบ, กระบวนการ และแนวทางใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้อย่างต่อเนื่องและขยายตลาดออกไปให้กว้างขึ้น

4 ข้อสำคัญสำหรับอนาคตของธุรกิจผลิตถุงพลาสติก: สิ่งแวดล้อม, คุณภาพ, ตอบโจทย์เฉพาะทาง และการทำ Automation

คุณพีรพงศ์ได้สรุปแนวโน้มของวงการผลิตถุงพลาสติกเอาไว้ 4 ประเด็นสำคัญหลัก ดังนี้

  • การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น ซึ่งก็จะทำให้โรงงานผลิตนั้นต้องมองหาวัตถุดิบ, เครื่องจักร และกระบวนการการผลิตใหม่ๆ ที่จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิมเรื่อยๆ และกลายเป็นประเด็นที่ธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ต้องปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • ต้องควบคุมคุณภาพการผลิตและสินค้าให้ได้ดี เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของธุรกิจโรงงานที่ยังคงมองข้ามไม่ได้
  • ต้องผลิตถุงที่ตอบโจทย์เฉพาะทางให้ได้มากขึ้น เพราะธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่นๆ นั้นก็ต้องมองหาหนทางที่จะสามารถปรับปรุงกระบวนการการทำงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และถุงในฐานะของภาชนะนั้นก็มีบทบาทต่อกระบวนการทำงานในบางธุรกิจมากอย่างคาดไม่ถึง การคิดค้นสร้างนวัตกรรมถุงรูปแบบใหม่ๆ จึงต้องเกิดขึ้นเพื่อสอดรับกับความต้องการของตลาด
  • การทำ Automation ในกระบวนการการผลิตและการทำงานให้มากขึ้น ซึ่งครอบคลุมถึงทั้งในระดับของเครื่องจักร, ในระดับของกระบวนการการทำงาน และในระดับของการจัดการข้อมูลในธุรกิจ

ERP: กลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้การทำงานมีคุณภาพได้อย่างสม่ำเสมอ

จะเห็นได้ว่าใน 4 แนวโน้มสำคัญของธุรกิจการผลิตถุงพลาสติกนี้ ประเด็นเรื่องการทำ Automation ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาด้วย ซึ่งคุณพีรพงศ์ก็ได้เล็งเห็นในจุดนี้มานานและมองอย่างรอบด้านครบถ้วนว่า การทำ Automation นั้นไม่ได้หมายถึงเพียงแค่การนำเครื่องจักรเข้ามาใช้ช่วยให้การผลิตเป็นไปได้อย่างอัตโนมัติมากขึ้นเท่านั้น แต่ในแง่ของกระบวนการและการจัดการข้อมูลของธุรกิจนั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน

ด้วยเหตุนี้ ERP จึงได้เข้ามาเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานภายใน Prize Interpack (1999) ได้ระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าหลังจากได้ริเริ่มนำระบบ ERP แรกมาใช้งานนั้น ก็ทำให้การทำงานของ Prize Interpack (1999) มีระบบระเบียบมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ด้วยการมีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน, มีการระบุถึงข้อมูลที่ต้องเก็บและใช้อย่างครอบคลุม ซึ่งก็ส่งผลถึงการทำงานที่มีคุณภาพมากขึ้น, การแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างฉับไวมากยิ่งขึ้น และการวางแผนธุรกิจได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

อีกประเด็นหนึ่งซึ่งถือว่าสำคัญมากต่อ Prize Interpack (1999) นั้น ก็คือข้อมูลจากระบบ ERP นั้นช่วยให้การ Audit ทั้งตามกฎหมายและตามมาตรฐานต่างๆ นั้นเป็นไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิมมาก ทำให้พนักงานที่เกี่ยวข้องนั้นเสียเวลาในการทำงานในส่วนของการเตรียมข้อมูลเพื่อ Audit น้อยลงอย่างชัดเจน ในขณะที่ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์และทันต่อเวลานั้น ก็ทำให้การ Audit ผ่านได้ง่ายขึ้นไปด้วย

ประสบการณ์เป็นครู เรียนรู้ข้อผิดพลาดและปัญหาจากระบบ ERP เดิม สู่ระบบ ERP ใหม่ที่ตอบโจทย์ธุรกิจได้อย่างแท้จริง

อย่างไรก็ดี การใช้ ERP แรกนั้นก็ไม่ได้ราบรื่นไปเสียทีเดียว เพราะเมื่อธุรกิจของ Prize Interpack (1999) นั้นเติบโตขึ้นและมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ปริมาณของข้อมูลก็เติบโตขึ้นตามไปด้วย และความต้องการที่จะปรับแต่งระบบ ERP ให้ตอบรับต่อกระบวนการใหม่ๆ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ นั้นก็มากขึ้น และตอนนั้นเองที่ปัญหาก็เกิดขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด

ด้วยระบบ ERP ที่มาจากผู้ผลิตรายเล็กนั้น การปรับแต่งแก้ไขต่างๆ ก็เป็นไปได้ยากด้วยข้อจำกัดมากมาย อีกทั้งปัญหาด้านประสิทธิภาพของระบบก็แสดงออกมาอย่างชัดเจนจนทำให้พนักงานภายใน Prize Inperpack ต้องมาคอยจัดการย้ายข้อมูลออกจากระบบเป็นประจำ ในขณะที่ทีมงานที่สนับสนุนการใช้งานระบบ ERP ในยามนั้นก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที รวมถึงไม่สามารถปรับแต่งระบบให้เป็นไปได้ตามต้องการ ก็ทำให้การทำงานในช่วงนั้นติดขัดกันไม่น้อย

Prize Interpack (1999) ที่ได้เรียนรู้ถึงข้อดีของระบบ ERP และได้รับบทเรียนในการเลือกใช้ระบบ ERP มาแล้ว ก็ได้เริ่มเห็นความต้องการที่ชัดเจนมากขึ้นในระบบ ERP ใหม่ที่จะมาสนับสนุนธุรกิจของตนเองอีกยาวนานต่อไปนับสิบปีในอนาคต และได้ริเริ่มโครงการระบบ ERP ใหม่ขึ้นมา

ตัดสินใจใช้ SAP Business ByDesign เป็นรายแรกๆ ของไทย มั่นใจในชื่อเสียงของ SAP และวางใจในความง่ายของ Cloud

Credit: SAP

คุณพีรพงศ์ได้ประสานงานให้ทีมงาน Prize Interpack (1999) ติดต่อไปยังแบรนด์ของผู้ผลิตระบบ ERP ชั้นนำทั้งหมดในตลาด เพื่อมานำเสนอโซลูชันระบบ ERP ของตนเอง ซึ่งแต่ละเจ้านั้นก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป แต่ประเด็นสำคัญหนึ่งที่คุณพีรพงศ์เห็นได้ชัดในบางโซลูชัน ก็คือในขั้นตอนการทดสอบการใช้งานจริง ที่พบว่าหากบางโซลูชันนั้นต้องมีกระบวนการในการรับส่งข้อมูลระหว่าง Module ที่ซับซ้อนเพิ่มเติมเข้ามา ทำให้หากนำมาใช้งานจริงนั้นพนักงานก็จะมีภาระด้านการจัดการข้อมูลเหล่านี้อยู่ดี และก็อาจมีความผิดพลาดเกิดขึ้นในการใช้งานได้ด้วย

นอกจากนี้ ในช่วงที่ทาง Prize Interpack (1999) กำลังพิจารณาระบบ ERP ใหม่อยู่นั้น ก็เป็นช่วงที่ Cloud ERP กำลังเป็นเทคโนโลยีที่เริ่มได้รับความนิยมพอดี ทำให้ทาง Prize Interpack (1999) ไม่รีรอที่จะพิจารณาและทดสอบเทคโนโลยีดังกล่าว และสัมผัสได้ถึงความง่ายในการเริ่มต้นใช้งานและดูแลรักษา อีกทั้งยังได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากผู้ผลิตโดยตรง

Credit: SAP

สุดท้ายแล้ว คุณพีรพงศ์ก็เล่าว่าทาง Prize Interpack (1999) ตัดสินใจเลือกใช้ SAP Business ByDesign เป็นรายแรกๆ ของไทย โดย SAP Business ByDesign นี้เป็นโซลูชัน Cloud ERP ที่มีการออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์เฉพาะทางของธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ มาอยู่แล้ว โดยมี Template สำหรับกระบวนการทำงานในธุรกิจแต่ละอุตสาหกรรมให้เลือกใช้และนำไปปรับแต่งได้ทันที ซึ่งทาง SAP ก็ได้สร้าง Template เหล่านี้ขึ้นมาจากประสบการณ์ในการช่วยธุรกิจทั่วโลกให้ได้เริ่มต้นใช้งานระบบ ERP นั่นเอง

นอกจากข้อดีดังกล่าวแล้ว ภายใน SAP Business ByDesign นี้ก็ยังมีโมดูลต่างๆ มาให้พร้อมเลือกนำไปใช้งาน โดยฐานข้อมูลทั้งหมดเชื่อมถึงกันอยู่แล้ว การจัดการข้อมูลทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นจึงสามารถเป็นไปได้อย่างง่ายดายในการป้อนข้อมูลเพียงครั้งเดียว จากนั้นทุกแผนกของทั้งบริษัทก็จะเห็นข้อมูลเหมือนกันทั้งหมดแบบ Real-time ได้ทันที ทำให้การทำงานนั้นเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว, คล่องตัว, แม่นยำมากยิ่งขึ้น และพนักงานของ Prize Interpack (1999) ก็ไม่ต้องเสียเวลากับการจัดการข้อมูลซ้ำซ้อนอีกต่อไป

ทั้งนี้ ด้วยความเป็นระบบ Cloud ERP ก็ทำให้ SAP Business ByDesign นั้นสามารถรองรับการเติบโตของข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องโดยที่ Prize Interpack (1999) ไม่ต้องพะวงกับประเด็นด้านเทคนิคในเชิง IT เองอีกต่อไป ภาระของแผนก IT ในบริษัทก็จะเบาลงไปด้วย

ร่วมงานกับ ISS Consulting คู่ค้าที่พร้อมดูแลระบบ ERP สำคัญให้ Prize Interpack (1999) ได้เป็นอย่างดี

ในการเลือกใช้ SAP Business ByDesign เป็นรายแรกๆ ของไทยนี้ จุดหนึ่งที่ทำให้ Prize Interpack (1999) ตัดสินใจได้ คือความเชื่อมั่นใน SAP on Cloud Solution ของ SAP ที่เหมาะกับความต้องการของบริษัทฯ รวมทั้งประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาระบบงาน SAP อันยาวนานของ ISS Consulting ในประเทศไทย

จุดที่ทำให้คุณพีรพงศ์ประทับใจนั้นก็คือความพร้อมของทีมงาน ISS Consulting ที่สามารถตระเตรียมข้อมูลต่างๆ ในการนำเสนอ Solution ระบบ SAP Business ByDesign ได้จนเกิดความมั่นใจ และสามารถตอบทุกปัญหาที่ทางทีมงาน Prize Interpack (1999) สงสัยได้อย่างครบถ้วน ทำให้ทาง Prize Interpack (1999) สามารถตัดสินใจได้อย่างชัดเจนและเข้าใจถึงข้อดีข้อเสียในแต่ละทางเลือก และในการทำงานโดยลงรายละเอียดในการปฏิบัติงานและทำงานร่วมกับทีมของ Prize Interpack (1999) อย่างเต็มที่

สำหรับ ISS Consulting ที่มีประสบการณ์มากมายในการ Implement ระบบ ERP ให้ธุรกิจโรงงานนั้น ก็มีความเข้าใจปัญหาและความต้องการของ Prize Interpack (1999) เป็นอย่างดี จึงได้ทำการปรับปรุงระบบในส่วนของการผลิต, การเชื่อมต่อผสานข้อมูลจากระบบเครื่องชั่งให้ส่งเข้ามาในใบสั่งผลิตในรูปแบบที่เหมาะสม ทำให้กระบวนการผลิตสามารถดำเนินไปได้อย่างไม่สะดุด, การคิดต้นทุนที่ถูกต้องในใบสั่งผลิต (Actual Cost), การคิดต้นทุนที่ถูกต้องสำหรับสินค้าที่สั่งซื้อจากต่างประเทศ (Landed Cost) และการบริหารการผลิตแบบที่มีการรับจ้างช่วง (Subcontract) รวมทั้งการฝึกอบรมให้ทางผู้ใช้งานได้มีความเข้าใจการทำงานและบันทึกข้อมูลได้ถูกต้อง เพื่อให้ทางผู้บริหารได้มีข้อมูลที่ชัดเจน แม่นยำ เชื่อถือได้ เพื่อสามารถนำมาในการบริหารจัดการและการตัดสินใจในเชิงธุรกิจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ปัจจุบัน Prize Interpack (1999) ได้ใช้งานจริงระบบ SAP Business ByDesin แล้ว ผู้ใช้งานในแผนกต่าง ๆ สามารถทำงานบนระบบในระดับ Operation ได้อย่างเต็มที่และมีความเชื่อมโยงข้อมูลในองค์กรสามารถตรวจสอบและดูรายงานเกี่ยวกับการดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ รวมถึงและใช้ข้อมูลในเชิงบริหารและการวิเคราะห์ได้อย่างเต็มที่เพื่อตอบสนอบความต้องการของลูกค้าและคู่ค้าด้วยการทำธุรกรรมบนระบบ SAP Business ByDesign ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Prize Interpack (1999) ยังได้ให้ความไว้วางใจกับทาง ISS เป็นที่ปรึกษาและสนับสนุนผ่านช่องทาง Helpdesk Support อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการและรองรับการขยายตัวที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ทีมงานภายใน ต้องพร้อมเรียนรู้และเติบโตไปกับ ERP และมี Data ประกอบในทุกการตัดสินใจ

หลังจากที่ระบบ SAP Business ByDesign ได้ใช้งานจริงและ Go Live แล้วนั้น ทางทีมงานของ Prize Interpack (1999) ยังต้องปรับตัวเรียนรู้การใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีอยู่บน ERP ระบบใหม่นี้ต่อไป โดยจัดกระบวนการทำงานในระบบ Operation และ Master Data ใหม่ ๆ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ของระบบ เพื่อให้การทำงานในแต่ละวันเป็นไปได้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปลายทางหนึ่งของ Prize Interpack (1999) นั้นก็คือการนำข้อมูลที่เกิดขึ้นในธุรกิจทั้งหมดมาใช้ในการตัดสินใจในเชิงธุรกิจให้ได้ครอบคลุมทุกแผนก และข้อมูลนี้เองที่จะกลายเป็นหัวใจสำคัญในการทำงานร่วมกันของพนักงานภายใน Prize Interpack (1999) ในอนาคต

นอกจากการทำงานร่วมกันภายในเองแล้ว การส่ง Feedback ให้กับทาง ISS Consulting และทาง SAP เองอย่างต่อเนื่องนั้นก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญ เพราะบริการ SAP Business ByDesign นี้เป็นโซลูชันที่เกิดขึ้นจากการที่ SAP รวบรวมเอาประสบการณ์ของธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลกมาสร้างขึ้น ดังนั้นหากมี Feedback ใดๆ ส่งกลับเข้าไปให้ทีมงาน SAP มากเท่าไหร่ โอกาสที่ Feedback เหล่านั้นจะถูกนำมาพัฒนาและปรับปรุงต่อไปนั้นก็จะมีสูงขึ้น และสุดท้ายแล้วก็จะส่งผลดีต่อธุรกิจของ Prize Interpack (1999) และธุรกิจอื่นๆ ร่วมกันไปด้วย

ก้าวถัดไปคือ E-Commerce และ API

หลังจากที่ระบบ SAP Business ByDesign ถูกใช้งานได้เป็นอย่างดีแล้ว แผนถัดไปของ Prize Interpack (1999) นั้นก็คือการพัฒนาระบบ E-Commerce เพื่อขยายช่องทางการขายให้มากขึ้นและปรับกระบวนการการขายให้เป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น และการพัฒนาระบบ API เพื่อเชื่อมต่อระบบต่างๆ เข้ากับ SAP Business ByDesign ให้มากขึ้นนั่นเอง

การทำ E-Commerce ในธุรกิจ B2B นี้ถือเป็นทิศทางที่กำลังได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะแทบทุกคนในเวลานี้ต่างก็คุ้นชินกับการซื้อสินค้าออนไลน์อยู่แล้ว และความคุ้นชินนั้นก็เริ่มเข้ามาถึงจุดที่เหล่าธุรกิจจะนำมาใช้งานในรูปแบบ B2B ได้ ทางคุณพีรพงศ์จึงมองว่ายามนี้คือโอกาสที่ดีของ Prize Interpack (1999) ที่จะขยายตลาดให้กว้างขึ้น เปิดโอกาสให้ธุรกิจอื่นๆ สามารถเข้าถึงการผลิตถุงพลาสติกคุณภาพสูงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น

ส่วนการพัฒนา API นั้นก็เป็นอีกทิศทางหนึ่งที่สำคัญ เพราะ API นั้นจะเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างระบบต่างๆ โดยมี SAP Business ByDesign เป็นพื้นฐาน และทำให้การทำ Automation นั้นเกิดขึ้นได้จริง ทั้งในระดับของเครื่องจักรที่จะสามารถเชื่อมต่อกับระบบ ERP ได้, การลดกระบวนการการทำงานของพนักงานลงด้วยการทำให้ระบบต่างๆ เชื่อมต่อถึงกันทั้งหมด และจัดการข้อมูลที่เกิดขึ้นในระบบร่วมกันได้ผ่านทาง API

สรุปบทเรียนสำคัญสำหรับผู้ที่กำลังเลือก ERP จากประสบการณ์ของ Prize Interpack (1999)

คุณพีรพงศ์ได้สรุปบทเรียนสำคัญเอาไว้เพื่อเป็นแนวทางให้กับธุรกิจอื่นๆ ที่กำลังมองหาระบบ ERP อยู่ดังนี้

  • การทำ ERP นั้นคือโครงการสำคัญที่ธุรกิจต้องทุ่มเททรัพยากรลงไปอย่างเต็มที่เพื่อไม่ให้โครงการล้มเหลว โดยทั้งผู้บริหารและพนักงานจะต้องได้เรียนรู้ Know How ที่จำเป็นอย่างครบถ้วน และพัฒนาบุคลากรพร้อมกับระบบ โดยสุดท้ายแล้วคนที่จะต้องอยู่กับระบบ ERP คือทุก ๆ คนในองค์กร
  • เลือกเทคโนโลยีและผู้ Implement ที่มีความน่าเชื่อถือและมั่นคง เพราะธุรกิจของเราจะต้องทำงานร่วมกับคู่ค้าเหล่านี้อีกนาน
  • ตรวจสอบ Reference Customer ที่ใกล้เคียงกับธุรกิจของเราให้ดี ข้อมูลเหล่านี้สำคัญมากเพราะ Implementer แต่ละรายนั้นมีประสบการณ์และองค์ความรู้ที่ต่างกัน
  • การเลือกระบบ ERP นั้นต้องตรวจสอบและทดลองใช้งานให้ลึก เพราะถึงแม้ในภาพรวมทุกระบบนั้นจะสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้เหมือนกัน แต่รายละเอียดปลีกย่อยนั้นจะแตกต่างกันออกไป และรายละเอียดนั้นเองที่เป็นจุดตัดสินใจสำคัญในการเลือก ERP ที่เหมาะกับธุรกิจจริงๆ
  • คำนึงถึงจำนวนทรัพยากรบุคคลที่จะต้องใช้ในการทำงานร่วมกับระบบ ERP และการดูแลรักษาระบบ ERP ให้ดีด้วย เพราะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่มีพนักงานไม่มากนัก ปัจจัยนี้ถือเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้โครงการสำเร็จหรือล้มเหลวได้เลย
  • อย่าจ้างที่ปรึกษาให้ทำงานให้อย่างเดียว แต่ผู้บริหารและพนักงานต้องลงมือทำเองด้วย เพราะยิ่งเรารู้หรือมีประสบการณ์กับระบบมากเท่าไหร่ การใช้งานก็จะยิ่งเป็นไปได้ดียิ่งขึ้นเท่านั้น อีกทั้งในระยะยาวการที่สามารถจัดการสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองได้นั้น ก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาระบบมากขึ้นไปอีก

เกี่ยวกับ ISS Consulting (Thailand) Ltd.

บริษัท ไอเอสเอสคอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการออกแบบ พัฒนา และติดตั้งระบบ Enterprise Resource Planning หรือ ERP ให้กับธุรกิจทุกขนาดในหลากหลายอุตสาหกรรมมาเป็นเวลากว่า 20 ปี โดยมีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีของ SAP ครอบคลุมทั้ง SAP S/4HANA, SAP Business ByDesign, SAP Business One โดยคลอบคลุมตลาด ERP สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ รวมถึงขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยปัจจุบันนี้มีลูกค้าธุรกิจและองค์กรทั่วประเทศไทยรวมมากกว่า 200 ราย พร้อมให้บริการทั่วประเทศไทยโดยทีมงานกว่า 250 คน

สำหรับในปี 2019 นี้ทางบริษัทจะครบรอบ 20 ปี ในการทำธุรกิจพร้อมประกาศวิสัยทัศน์ถึงการขยายตลาด SAP โดยนำโซลูชันอื่นๆ นอกเหนือจาก ERP อย่างเช่น SAP Customer Experience SAP C/4HANA, SAP SuccessFactors,SAP ARIBA, SAP Analytic on Cloud, SAP IBP Digital Supply Chain และอื่นๆ อีกมากมายเข้ามาเติมเต็มความต้องการของธุรกิจไทย ให้การทำ Digital Transformation เป็นไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ทางบริษัทยังเป็นส่วนหนึ่งของ United VARS ซึ่งเป็นการรวมตัวของพาร์ทเนอร์ของ SAP ทั่วโลก เพื่อให้บริการการติดตั้งและให้คำปรึกษาในการใช้งาน SAP สำหรับธุรกิจข้ามชาติโดยเฉพาะ เพื่อให้ในแต่ละสาขาของธุรกิจข้ามชาตินั้นๆ ได้รับบริการจากพาร์ทเนอร์ในท้องถิ่นซึ่งมีความเชี่ยวชาญและความเข้าใจในธุรกิจภูมิภาคนั้นๆ เป็นอย่างดี พร้อมนำองค์ความรู้ด้านกระบวนการทางธุรกิจ, เทคโนโลยี และกฎหมายมาประยุกต์ใช้ในระบบเพื่อให้การใช้งานเทคโนโลยีของ SAP ในประเทศต่างๆ เป็นไปได้ด้วยประสบการณ์ที่ดีที่สุด

ปัจจุบัน บริษัท ไอเอสเอสคอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการแต่งตั้งจาก SAP ให้เป็นพาร์ทเนอร์ระดับ Platinum ที่มุ่งเน้นนำเสนอโซลูชั่นที่เป็นประโยชน์กับองค์กรธุรกิจหลากหลาย Solution โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทได้มี Program Move 2.0 ซึ่งช่วยให้ลูกค้าค้าองค์กรสามารถขึ้นระบบได้ง่ายขึ้น ด้วย Qualified Solution ภายใต้ Smart One qualified solution เช่น Smart One S/4HANA Implementation for Manufacturing, Smart One S4/HANA Implementation for Trading และ Smart One S/4 HANA Conversion, SAP SuccessFactors Solution, SAP Analytic on Cloud เป็นต้น

โดยในปี 2018 ที่ผ่านมานี้ ทางบริษัทก็ได้รับรางวัลจาก SAP หลายรางวัล ได้แก่

  • รางวัลลูกค้าใหม่สูงสุดในกลุ่มธุรกิจ General Business (GB) จากงาน SAP Partner Kick Off 2019
  • รางวัล Top Net New Names Contribution 2018 ซึ่งเป็นรางวัลที่แสดงให้เห็นถึงการที่ ISS Consulting มีลูกค้า SAP รายใหม่เป็นจำนวนมากที่สุด
  • รางวัล Top DRS Contribution 2018 ซึ่งเป็นรางวัลที่แสดงให้เห็นถึงการที่ ISS Consulting นั้นได้มีลูกค้า SAP รายใหม่ๆ ไว้วางใจเตรียมพร้อมขึ้นโครงการในอนาคตด้วยกันมากที่สุด
  • รางวัล SAP Business One Top Performance Award 2018 เป็นรางวัลที่แสดงให้เห็นถึงการที่ ISS Consulting มีผลงานและสร้างยอดขายสูงสุดให้กับ SAP Business One
  • รางวัล Partner of The Year 2018 สุดยอด Partner ของ SAP ประจำปี 2018 จากการต่อยอดโครงการ SAP ของลูกค้าเดิมที่ไว้วางใจใช้บริการ ISS Consulting รวมกับการริเริ่มโครงการ SAP ร่วมกับลูกค้ารายใหม่มากที่สุดในปี 2018 ที่ผ่านมา

ผู้ที่ต้องการปรึกษาเกี่ยวกับเรื่อง SAP เพื่อพัฒนาระบบบริหารการจัดการในองค์กรให้ดีขึ้น ISS Consulting พร้อมให้คำปรึกษาในทุกกลุ่มประเภทธุรกิจเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ ISS Consulting (Thailand) ได้ที่ http://www.issconsulting.co.th/ หรือโทร 02 237 0553
#ISSConsulting

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เอชพี เปิดตัวพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AI PCs [PR]

เอชพี เปิดตัวพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AI PCs ขับเคลื่อน ด้วยขุมพลัง AI ยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน การสร้างสรรค์ และประสบการณ์ของผู้ใช้ในสภาพแวดล้อม การทำงานแบบไฮบริด

Microsoft ยกเลิกการใช้ 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว

Microsoft ประกาศยกเลิกการใช้กุญแจเข้ารหัส 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว เปลี่ยนไปใช้กุญแจเข้ารหัสความยาว 2048-bit เป็นอย่างน้อย