บทความนี้เป็นตอนที่ 3 และเป็นตอนสุดท้ายของซีรี่ส์บทความที่เน้นเกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีของ SD-WAN โดยเฉพาะ
ซึ่งในบทความก่อนหน้า เราได้แสดงให้เห็นว่า Business Intent Policies และ Dynamic Path Control สามารถสร้างสมรรถนะ (Performance) ให้สูงยิ่งขึ้นได้อย่างไร ในบทความนี้ซึ่งเป็นตอนสุดท้าย เราจะพาไปดูบทบาทของ Traffic Shaping และการเพิ่มประสิทธิภาพ WAN (WAN optimization)
คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในองค์กร จะขึ้นกับสมรรถนะของแอปพลิเคชัน (Application performance) และความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็ว ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะนำไปสู่ความได้เปรียบด้านการแข่งขันสำหรับองค์กรทุกแห่ง วิธีหนึ่งในการสร้างความมั่นใจว่า ทราฟฟิกไม่ถูกหน่วงไว้ก็คือการใช้ Traffic Shaping
เทคโนโลยี Traffic Shaping สามารถช่วยสร้างความมั่นใจว่าการเชื่อมต่อแต่ละประเภทจะไม่มีผู้ใช้งานมากเกินไป Traffic Shaper Engine ควรจะจัดสรรแบนด์วิดท์เป็นเปอร์เซ็นต์แบนด์วิดท์ของระบบ และให้การสนับสนุนระดับ Class ของทราฟฟิกที่แตกต่างกันได้มากถึง 10 ระดับ โดยทั่วไปมักกำหนดระดับทราฟฟิกไว้ล่วงหน้าสี่ระดับ คือ แบบตามเวลาจริง (Real-Time), แบบโต้ตอบ (Interactive), แบบค่าเริ่มต้น (Default) และแบบทำหน้าที่อย่างดีที่สุด (Best Effort)
เทคโนโลยี Traffic Shaping ทำงานเป็นอิสระกับทั้งทราฟฟิกขาเข้าและขาออก สำหรับทราฟฟิกขาออก อาจกำหนดค่าต่ำสุดและสูงสุดของ Traffic Shaping Engine ที่ใช้ในการส่ง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ผู้จัดการฝ่ายไอทีมีความยืดหยุ่นในการรับรองคุณภาพการให้บริการ หรือ QoS
สำหรับทราฟฟิกขาเข้า Traffic Shaper Engine จะใช้สำหรับลิงก์ IP เพื่อสร้างความมั่นใจว่าทราฟฟิกที่มีความสำคัญต่ำจะไม่แทนที่ทราฟฟิกที่มีความสำคัญสูงกว่า ตัวอย่างได้แก่ การที่ YouTube และแอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียอื่นๆ สามารถรักษาแบนด์วิดท์เอาไว้ได้จากการดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ยังจำเป็นจะต้องมั่นใจว่าสถานการณ์การใช้งานที่เกิดบ่อยนี้ไม่ลดทอนสมรรถนะของลิงก์สำหรับแอปพลิเคชันที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ (Mission-critical)
SD-WAN มีขีดความสามารถในการทำ Dynamic Rate Control (DRC) เพื่อเพิ่มประโยชน์ของ Traffic Shaping แบบสองทิศทาง (Bidirectional) ให้มากยิ่งขึ้นไปอีก DRC ช่วยให้อุปกรณ์ปรับแบนด์วิดท์สูงสุดสำหรับแต่ละทันแนล (Tunnel) โดยอัตโนมัติ อันเป็นการช่วยขจัดปัญหาความแออัดบน WAN รวมทั้งความเร็วในการเชื่อมต่อ ดังนั้น เมื่อต้องการเลือกใช้ SD-WAN ให้พิจารณาชนิดที่มีคุณสมบัติการทำ Traffic Shaping
การเพิ่มประสิทธิภาพ WAN
การเพิ่มประสิทธิภาพ WAN เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของสมรรถนะ แอปพลิเคชัน TCP/IP บางอย่าง เช่น การประมวลผลธุรกรรม ต้องอาศัยการทำแฮนด์เช็ค หรือการตอบรับระหว่างจุดปลายทาง (Endpoint) ซึ่งสิ่งนี้จะไม่เป็นปัญหาในระบบ LAN เนื่องจากระยะทางสั้น ดังนั้นจึงใช้ระยะเวลาในการส่งข้อมูลน้อยที่สุด
แต่หากสำนักงานสาขาที่อยู่ห่างไกลต้องเข้าถึงแอปพลิเคชันการประมวลผลธุรกรรมที่สำนักงานใหญ่ หรือในคลาวด์ ระยะเวลาส่งข้อมูลดังกล่าวอาจทำให้สมรรถนะและเวลาตอบสนองช้าลงอย่างเห็นได้ชัด เทคโนโลยี SD-WAN บางชนิดสามารถเร่งโพรโทคอล TCP ให้เร็วขึ้น ส่งผลให้เวลาตอบสนองของแอปพลิเคชันดีขึ้นมาก รวมทั้งประสิทธิภาพการทำงานด้วย
ดังนั้น เมื่อพิจารณาโซลูชัน SD-WAN ที่จะเลือกใช้ วิธีที่ดีที่สุดคือมองหาคอมโพเนนท์การเพิ่มประสิทธิภาพ WAN ที่มาพร้อมขีดความสามารถที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถถ่ายโอนข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีสมรรถนะในระดับสูงสุดสำหรับระยะทางไกลๆ
เทคนิคการขจัดความซ้ำซ้อน (De-duplication) และการบีบอัดข้อมูลยังช่วยลดการส่งไฟล์และข้อมูลซ้ำๆ กันบน WAN ให้เหลือน้อยที่สุด และสร้างลายนิ้วมือ (fingerprint) ไปยังข้อมูลต้นฉบับเพื่อการเรียกใช้ในภายหลัง ซึ่งจะทำให้ผู้จัดการฝ่ายไอทีทำการสำรองข้อมูลเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือกู้คืนข้อมูลที่สูญหายได้อย่างรวดเร็ว
หากท่านกำลังมองหา SD-WAN ขอแนะนำให้พิจารณา SD-WAN ที่มาพร้อมกับฟังก์ชั่นการเพิ่มประสิทธิภาพ WAN หรือ WAN Optimization ซึ่งมีความจำเป็นต่อการใช้งานที่เน้นระยะเวลาในการส่งข้อมูลหรือการใช้งานที่ต้องมีการถ่ายโอนข้อมูลเป็นจำนวนมาก
หากสนใจเกี่ยวกับ SD-WAN ที่ขับเคลื่อนด้วยสมรรถนะและ Unity EdgeConnect สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ Silver Peak ที่ https://www.silver-peak.com/products/unity-edge-connect