OWASP (Open Web Application Security Project) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่เน้นวิจัยทางด้าน Web Application Security ออกเอกสาร OWASP Top 10 ฉบับใหม่ ปี 2017 เวอร์ชัน Release Candidate เพื่อเก็บคอมเมนต์และกระแสตอบรับจากผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ฟรี
OWASP Top 10 เป็นเอกสารงานวิจัยทางด้าน Web Application Security ที่รวบรวม 10 อันดับช่องโหว่ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเว็บแอพพลิเคชันมากที่สุด จัดอันดับโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านความมั่นคงปลอดภัยหลากหลายสาขาจากทั่วโลก ซึ่งเป็นเอกสารที่แนะนำให้ทุกองค์กรนำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการอุดช่องโหว่และรับมือกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นบนเว็บแอพพลิเคชัน
“OWASP Top 10 ปี 2017 นี้รวบรวมความเสี่ยงล่าสุด และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับรับมือกับภัยคุกคามบนเว็บแอพพลิเคชัน ซึ่งแนะนำให้ทั้ง IT Admin และ Developer ศึกษา เพื่อที่จะได้ออกแบบแอพพลิเคชันและระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ” — I-SECURE ผู้ให้บริการ Managed Security Services ชื่อดังระบุ
ตารางด้านล่างแสดงผลการเปรียบเทียบ OWASP Top 10 – 2013 และ 2017 RC
จะเห็นว่าความเสี่ยงบางรายการของปี 2013 ถูกรวมเข้ากับความเสี่ยงใหม่ในปี 2017 ยกเว้น A10 – Unvalidated Redirects and Forwards ที่หายไป ในขณะที่ OWASP Top 10 – 2017 มีการเพิ่มความเสี่ยงใหม่เข้ามา 3 รายการ คือ
- A4 – Broken Access Control: เคยถูกยกมาเป็นประเด็นครั้งแรกในปี 2003/2004 เป็นความเสี่ยงทางด้านฟังก์ชันของแอพพลิเคชันที่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์ตัวตนและการบริหารจัดการเซสชันซึ่งถูกพัฒนาอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม ช่วยให้แฮ็คเกอร์สามารถแฮ็ครหัสผ่าน กุญแจที่ใช้เข้ารหัส โทเค็นของเซสชัน หรือเจาะช่องโหว่เพื่อขโมยตัวตนของผู้ใช้ได้
- A7 – Insufficient Attack Protection: แอพพลิเคชันและ API ขาดความสามารถพื้นฐานในการตรวจจับ ป้องกัน และตอบสนองต่อการโจมตีแบบ Manual และ Automated
- A10 – Underprotected APIs: แอพพลิเคชันสมัยใหม่มีการใช้ Client Applications และ APIs เป็นจำนวนมาก เช่น JavaScript, SOAP/XML, REST/JSON, RPC, GWT และอื่นๆ ซึ่ง API เหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการป้องกัน หรือมีช่องโหว่เป็นจำนวนมากแอบแฝงอยู่
สรุปคำอธิบายความเสี่ยงของ Web Application 10 อันดับแรก
ดาวน์โหลดเอกสาร OWASP Top 10 – 2017 Release Candidate [PDF]
วิธีการที่ดีที่สุดสำหรับลดความเสี่ยงทั้ง 10 รายการนี้คือการเขียนโค้ดให้มั่นคงปลอดภัยตามแนวคิด Secure Software Development Lifecycle อย่างไรก็ตาม สำหรับองค์กรที่มีข้อจำกัดด้านการแก้ไขซอร์สโค้ด แนะนำให้เพิ่มมาตรการควบคุม เช่น Web Application Firewall เพื่ออุดช่องโหว่ดังกล่าว ซึ่งทาง I-SECURE และ UIH พร้อมให้บริการ Managed WAF ตั้งแต่การให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง และปรับแต่งนโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัย เพื่อให้มั่นใจได้ว่า องค์กรจะพร้อมรับมือกับภัยคุกคามทั้ง 10 รายการนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ