CDIC 2023

Open-Source Software ยังคงได้รับความนิยมจากนักพัฒนา

จากการสำรวจกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้าน Open Source Software (OSS) จำนวน 2660 ราย โดย OpenLogic ของ Perforce และ Open Source Initiative พบว่า 77% ขององค์กร นิยมใช้งาน OSS มากกว่าเมื่อปีที่ผ่านมา โดย 36% พบว่ามีจำนวนการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นจากเดิม
 
มีรายงานสถิติของปี 2565 จาก The State of Open Source Report เกี่ยวกับการเติบโต และความหลากหลายของเทคโนโลยีข้อมูลโอเพนซอร์ซ เป็นผลมาจากความต้องการสูงขึ้น สำหรับนวัตกรรมและทางเลือกอื่นๆ แทน “ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์เฉพาะ”
 
ในการทำแบบสำรวจได้สอบถามกลุ่มนักพัฒนา, CTO, นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล, ผู้เชี่ยวชาญด้าน DevOps, ผู้จัดการโครงการ และผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์อื่นๆ เกี่ยวกับการใช้โอเพนซอร์สภายในบริษัทของตน พบว่า
  • 39.3% – Programming Languages และ Frameworks เป็นรูปแบบ OSS ทั่วไปที่ใช้โดยองค์กร 
  • 36.5% – มีการเติบโตในการใช้ฐานข้อมูลโอเพ่นซอร์สและเทคโนโลยีข้อมูลมากขึ้น
  • 34% – มีการใช้ระบบปฏิบัติการ
  • 27.7% – มีการใช้งานเครื่องมือ Git ในการเป็นตัวช่วยสำหรับการบันทึกกระบวนการพัฒนา OSS
  • 26.8% – มีการใช้งานเครื่องมือ Frameworks และเครื่องมือสำหรับปัญญาประดิษฐ์ AI และการเรียนรู้ของเครื่อง Machine Learning
  • 25.1% – มีการใช้งานเครื่องมือ CI/CD
  • 22% – มีการงานใช้เครื่องมือระบบคลาวด์โอเพนซอร์ส และเครื่องมือรักษาความปลอดภัย
“Git คือ ระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการติดตาม ตรวจสอบ การพัฒนา แก้ไข ซอร์ซโค้ด ซอร์ซไฟล์ ต่าง ๆ ในขั้นตอนการพัฒนา ที่สามารถตรวจสอบได้ทุกตัวอักษร ทุกบรรทัด ทุกไฟล์ ที่มีการแก้ไข ใครเป็นคนแก้ไข และแก้ไข ณ วันที่เท่าไหร่”
 
ธุรกิจที่ขาดแคลน Programmer ในการพัฒนา OSS มากที่สุด คือ อุตสาหกรรมการเงิน และโทรคมนาคม ยังขาดแคลน Programmer ที่มีทักษะเข้ามาพัฒนา OSS มากที่สุด อาจจะเป็นเพราะกลุ่มธุรกิจดังกล่าว เป็นศาสตร์เฉพาะทางที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเชิงวิชาการในกระบวนการและแนวทางให้ลึกซึ้ง ทำให้มองเห็นถึงความจำเป็นในทักษะความชำนาญเฉพาะทางด้านการดำเนินการธุรกิจเพื่อนำความรู้ความเข้าใจมาใช้ควบคู่ไปกับการพัฒนา Open-Source ให้กับองค์กร
 
ภาพรวมจากผู้ตอบแบบสอบถาม 29.5% ที่มีความกังวลในการใช้ OSS
  • 26% – กังวลเกี่ยวกับ Open-Source Licenses จากกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความกังวลในการใช้ OSS
  • 22.7% – กังวลเกี่ยวกับไม่ได้รับการสนับสนุนแบบทันท่วงทีจาก OSS นั้นๆ (Support) จากกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความกังวลในการใช้ OSS
ภาพรวมจากผู้ตอบแบบสอบถาม 27.5% ที่ไม่มีความกังวลหลักในการใช้ OSS
ผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มนี้ สังเกตเห็นประโยชน์มากมายของการใช้โอเพ่นซอร์ส ซึ่งต่างจากการใช้งานซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์
  • 44.2% – การเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ดีขึ้น จากกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่มีความกังวลในการใช้ OSS
  • 37.5% – ต้นทุนที่ต่ำกว่า จากกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่มีความกังวลในการใช้ OSS
  • 35.1% – สามารถปรับการใช้ได้เร็วขึ้น จากกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่มีความกังวลในการใช้ OSS
  • 26.7% – หลีกเลี่ยงการการผูกขาดกับเทคโนโลยีจากผู้จัดจำหน่าย จากกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่มีความกังวลในการใช้ OSS
จากสถิติการรายงานของ The State of Open Source Report ปี 2565 เกี่ยวกับความนิยมใน Programming Languages พบว่า Python ยังได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการนำแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องกับระบบ AI/ML ไปใช้มากขึ้น แม้ว่า JavaScript ยังคงเป็นภาษาการเขียนโปรแกรมโดยรวมที่ใช้กันมากที่สุดเช่นเดียวกัน
 

About Pawarit Sornin

- จบการศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต - เคยทำงานด้าน Business Development / Project Manager / Product Sales ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Wireless Networking และ Mobility Enterprise ในประเทศ - ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

เปิดเทคโนโลยีใหม่จาก LINE ที่นักพัฒนาไทยห้ามพลาด จากงาน LINE Conference Thailand 2023 [Guest Post]

ปิดฉากอย่างยิ่งใหญ่กับครั้งแรกในประเทศไทย ของงาน LINE Conference Thailand 2023 หรือ #LCT23 งานสัมมนาด้านเทคโนโลยีสุดยิ่งใหญ่จาก LINE ประเทศไทย กับการเผยวิสัยทัศน์ ทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ จาก LINE …

การ์ทเนอร์ชี้ 6 กลยุทธ์ที่ผู้นำทีม Software Engineering ต้องทราบในปี 2023

การมีกลยุทธ์ถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะแนวปฏิบัติเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรมีกรอบที่จะเป็นไป ให้อยู่เหนือการเปลี่ยนแปลงของกระแสเทคโนโลยี ในมุมของ Software Engineering การ์ทเนอร์ได้แนะนำ 6 กลยุทธ์ไว้ดังนี้