พบบัญชีนิรนามบน Twitter ในเอเชียตะวันออกเพิ่มสูงขึ้น

Maya Gilliss-Chapman นักลงทุนด้านเทคโนโลยีสัญชาติกัมพูชาที่ปัจจุบันทำงานใน Silicon Valley ได้สังเกตุเห็นถึงจำนวนการขอติดตามบัญชี Twitter ของตนว่าเพิ่มขึ้นสูงเป็นอย่างมากตั้งแต่ต้นเดือนนี้ ซึ่งหลายฝ่ายได้ตั้งข้อสมมติฐานว่าอาจจะเป็นความพยายามเพื่อปลุกปั่นกระแส Social Media บางอย่างที่คล้ายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา โดยกลุ่มประเทศที่มีแนวโน้มการเพิ่มจำนวนในภูมิภาคนี้ เช่น ไทย เวียดนาม พม่า ไต้หวัน ฮ่องกง ศรีลังกา เป็นต้น

Gilliss-Chapman ได้ตั้งข้อสังเกตุจากการที่เธอได้รับการร้องขอเพื่อติดตามจากผู้ใช้งานจำนวนกว่าพันรายตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมาและบัญชีเหล่านั้นก็ไม่มีแม้แต่รูปภาพแสดงตัวหรือการทวิตข้อความใดๆ ตั้งแต่ถูกสร้างขึ้น โดยผู้ใช้งานเหล่านี้จะพยายามไปติดตามผู้ใช้งานในกัมพูชา เช่น นักข่าว นักธุรกิจ การศึกษา และคนดัง

อย่างไรก็ตามทางทีมงาน Twitter ได้กล่าวว่า “กำลังศึกษาบัญชีผู้ใช้งานที่น่าสงสัยและจะจัดการผู้ใช้งานที่ละเมิดกฏการใช้งานอย่างแน่นอน” แต่ตอนนี้ก็ยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญคนไหนฟันธงได้ถึงข้อสรุปและมันเป็นเรื่องยากในการแยกแยะว่าเป็นผู้ใช้งานจริงที่เพิ่งสร้างบัญชีใหม่หรือเป็นผู้ใช้งานปกติ

มีเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นจากการสร้างกลุ่ม Bot เพื่อปลุกกระแสข่าวใน Social Media กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างเงียบๆ ดังนี้

  • หลังจากที่รัฐบาลทหารพม่าขับไล่ผู้อพยพชาวโรฮิงญามีกลุ่มผู้ใช้งานใน Twitter ออกมาสนับสนุนฝ่ายรัฐบาลจำนวนมากทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นมีผู้ใช้งานในประเทศพม่าน้อยมาก
  • ในการเลือกตั้งรัฐบาลเมื่อปี 2016 เองก็เกิดกระแสสร้าง Bot ที่สนับสนุน นาย Rodrigo Duterte ออกมาเช่นกัน
  • มีผลรายการจากคณะกรรมการของตลาดหลักทรัพย์อเมริกาในปี 2014 พบว่ามีบัญชี Bot บน Twitter อยู่ประมาณ 5-8.5% เช่นเดียวกับผลวิจัยจากมหาวิทยาลัย South California เมื่อปี 2017 พบว่า 9-15% ของบัญชี Twitter เป็น Bot
  • เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีผลวิจัยจาก Pew Research Center วิเคราะห์พบว่า 1.2 ล้านการทวิตที่เป็นภาษาอังกฤษมีลิ้งก์ไปยังเว็บไซต์ยอดนิยมและ 2 ใน 3 มาจากบัญชีที่ต้องสงสัยว่าจะเป็น Bot
  • มีบริษัทแห่งหนึ่งทำการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อตรวจสอบผู้ใช้งานที่ติดตาม นาย Donald Trump ถึงการเป็นบัญชีปลอมพบว่า ผู้ใช้งานกว่า 16 คนจาก 51 ล้านคน ไม่ใช่คนจริงๆ

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Radware เผยรายงานภัยคุกคามปี 2025 การโจมตี DDoS ยังคงหนักหน่วง BOT API และ AI เพิ่มความซับซ้อนให้แก่ฉากทัศน์ภัยไซเบอร์

Radware ผู้นำในด้านโซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยได้ออกรายงานวิเคราะห์ผลสถิติของปีที่ผ่านมา ซึ่งการที่ Radware ได้ให้บริการในประเทศต่างๆทั่วโลกทำให้พวกเขามองเห็นเทรนด์การโจมตีที่เกิดขึ้นภูมิภาคต่างๆ ที่นอกจากมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นแล้ว เทคโนโลยีใหม่เองอย่าง AI และ API ยังได้กลายเป็นความเสี่ยงให้แก่องค์กร และโดยภาพรวมทั้งหมดนั้นมีแต่จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย

GitLab แก้ไขช่องโหว่ระดับ Critical ที่อาจถูกใช้ข้ามผ่านการยืนยันตัวตน

GitLab ออกอัปเดตรักษาความปลอดภัยแก้ไขช่องโหว่ 9 รายการ โดยเฉพาะช่องโหว่ Critical 2 รายการที่อาจถูกใช้ข้ามผ่านระบบยืนยันตัวตน SAML SSO ทำให้ผู้โจมตีสามารถเข้าถึงบัญชีผู้ใช้งานรายอื่นได้