Quantum Computing เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้กลศาสตร์ควอนตัมเข้ามาสนับสนุนเพื่อให้สามารถประมวลผลได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมหลายเท่าตัว ช่วยให้สามารถคำนวณและแก้ไขสูตรทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อนได้เร็วอย่างที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเทียบไม่ติด อย่างไรก็ตาม การมาถึงของ Quantum Computer ก็ส่งผลอัลกอริธึมการเข้ารหัสเช่นเดียวกัน

อัลกอริธึมการเข้ารหัสข้อมูลในปัจจุบันอาศัยการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน ส่งผลให้ในเชิงทฤษฎีแล้ว Quantum Computer สามารถคำนวณหากุญแจหรือถอดรหัสข้อมูลเกือบทุกวิธีการเข้ารหัสในโลกได้ภายในเวลาไม่นาน อาจจะเพียงหลักวันหรือสัปดาห์เท่านั้น
ปัจจุบันนี้ Quantum Computer เริ่มปรากฏให้เห็นในองค์กรเฉพาะทาง เช่น องค์กรเพื่อการวิจัย หรือห้องแล็บมากยิ่งขึ้น Quantum Compter ที่มีกำลังในการประมวลผลมากที่สุด 2 ระบบอยู่ในประเทศจีน คือ Sunway TaihuLight และ Tianhe-2 ตามมาด้วย Titan ในสหรัฐฯ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายมองว่า ภายในไม่นานนี้ Quantum Computer จะถูกพัฒนาให้มีราคาที่สามารถจับต้องได้ ส่งผลให้หลายอุตสาหกรรมจะเริ่มนำ Quantum Computer เข้ามาใช้มากขึ้น
สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ (NIST) เริ่มเห็นถึงเสี่ยงที่ว่า ถ้า Quantum Compter เป็นที่แพร่หลายมากขึ้น อาจเกิดการแคร็กการเข้ารหัสข้อมูลแบบ Public-key Cryptosystems ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันได้ง่ายขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงของปัญหาดังกล่าว NIST ได้ออกประกาศ Federal Redister เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เพื่อร้องให้นักวิจัยด้านวิทยาการเข้ารหัสลับของทั้งภาครัฐและมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูลแบบใหม่ ที่มีความซับซ้อนและแข็งแกร่งเพียงพอที่ Quantum Computer ที่มีทรัพยากรจำกัดไม่สามารถแคร็กได้
“ด้วยความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอก NIST ตั้งใจที่จะใช้เวลาในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ในการเก็บข้อมูล ทดสอบ และแนะนำอัลกอริธึมใหม่ที่คงทนต่อการโจมตีโดย Quantum Computer มากกว่าเดิม” — กลุ่มเทคโนโลยีวิทยาการเข้ารหัสลับของ NIST โพสต์บน Blog
NIST พร้อมเปิดรับงานวิจัยตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2017 จากนั้น NIST จะทำการรีวิวและเชิญนักวิจัยมานำเสนอผลงานที่ได้รับการคัดเลือกใน Workshop ที่จะจัดขึ้นประมาณต้นปี 2018
ที่มา: http://thehackernews.com/2016/12/quantum-computing-encryption.html