CDIC 2023

IBM เสริมแกร่งฟีเจอร์ AI ใหม่ ให้ IBM Z, z/OS และ Cloud Paks

สำหรับการแข่งขันในตลาดด้าน AI ที่ร้อนแรง IBM ได้เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้งานเมนเฟรมของตน โดยความคืบหน้าครั้งนี้มีประเด็นสำคัญ 4 เรื่องคือ

credit : IBM

1.) Pyton AI Toolkit ใน z/OS

ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงไลบรารีโอเพ่นซอร์ส Python สำหรับงาน AI นอกจากถูกออกแบบมาสำหรับ IBM Z แล้วยังช่วยรักษาแนวปฏิบัติด้านความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของ AI อีกด้วย

2.) Cloud Pak private cloud software

Data Scientist และนักพัฒนา ในงานด้าน Machine Learning และ Deep Learning จะได้รับประโยชน์จาก z/OS ในเวอร์ชัน Enterprise และ Core มากขึ้น เพราะสามารถเชื่อมต่อกับความสามารถ Generative AI จาก watson.ai ผ่านส่วนขยาย โดยของใหม่นี้จะเกิดขึ้นผ่าน Cloud Pak private cloud software มีคำกล่าวในประกาศของ IBM ได้ยกตัวอย่างสถานการณ์ว่า “สิ่งนี้จะช่วยให้ผู้ใช้เพียงแค่อัปโหลดข้อมูลของพวกเขา เลือกชนิดของปัญหา และระบุ constrain เพื่อรันการทดลองต่างๆได้อัตโนมัติสู่ Pipeline ด้วยความรวดเร็วและง่ายดาย

3.) z/OS 3.1 AI Tuning

z/OS 3.1 ได้รับการปรับแต่ความสามารถด้าน AI โดยช่วยให้มีการเรียนรู้และทำนาย ส่งเสริมการบริหารจัดการและพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งานทางไอที

4.) AI Toolkit for IBM Z & LinuxONE

ช่วยให้แอปสำคัญของธุรกิจสามารถเข้าถึง framework โอเพ่นซอสต์ เช่น TensorFlow, SnapML และอื่นๆได้

โดย Python AI และ Cloud Pak พร้อมให้บริการแล้วในปัจจุบัน z/OS 3.1 จะพร้อมให้บริการภายในพรุ่งนี้ (29 กันยายน) ในขณะที่ AI Toolkit สำหรับ IBM Z และ LinuxONE จะเกิดขึ้นภายในไตรมาสที่ 4 

ที่มา : https://www.networkworld.com/article/3707355/ibm-brings-ai-to-z-series-mainframes-z-os-cloud-paks.html


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Amazon เปิดตัว Amazon Q ระบบ AI Chatbot สำหรับภาคธุรกิจ

ในงาน Amazon re:Invent 2023 ที่ผ่านมา Amazon ได้ประกาศเปิดตัว Amazon Q ระบบ AI Chatbot สำหรับภาคธุรกิจให้ทดลองใช้งานแบบ Preview

Gartner คาดการณ์ ราคาหน่วยความจำอาจปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงปีหน้า

Gartner คาดการณ์ ราคาหน่วยความจำอาจปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงปีหน้า