สรุปงานสัมมนาอนาคตของ National Instant Payment กับธนาคารในประเทศไทย โดย Stream I.T. Consulting

stream_it_orange_logo_h100

ทางทีมงาน TechTalkThai ได้รับเชิญจากทาง Stream I.T. Consulting ให้ไปอัปเดตความรู้และเทคโนโลยีทางด้านธนาคารและการเงินในส่วนของระบบ National Instant Payment กับอนาคตและทิศทางที่ธนาคารและธุรกิจการเงินในประเทศไทยควรปรับตัวมาในงานสัมมนาที่จัดร่วมกันโดย Stream I.T. Consulting, VocaLink และ IBM Thailand จึงขอสรุปเนื้อหาให้ทุกท่านได้อ่านกันดังนี้

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com

 

ธนาคารและธุรกิจการเงิน ต้องเริ่มปรับตัวเพื่อเปิดรับโอกาสใหม่ๆ จาก AnyID และ PromptPay

การมาของ National Infrastructure นั้นถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของประเทศไทยในวงการการเงิน ซึ่งทาง Stream I.T. Consulting ที่ทำธุรกิจ IT สำหรับธุรกิจการเงินมาเป็นระยะเวลานานนั้น ก็มองว่าธนาคารต่างๆ มีโอกาสที่จะเชื่อมต่อระบบของธนาคารเองเข้ากับ National Infrastructure เพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจในปัจจุบันได้ จึงได้จัดงานนี้ขึ้นเพื่อแบ่งปันความรู้และแนวทางในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของธุรกิจธนาคารและการทำธุรกรรมต่างๆ ให้เชื่อมต่อกับระบบ AnyID หรือ PromptPay สำหรับสร้างโอกาสในการนำเสนอบริการใหม่ๆ ให้กับลูกค้าของทางธนาคารเอง และเปลี่ยนแปลงธุรกิจของธนาคารให้เป็นไปตามทิศทางของตลาดที่ธุรกิจต่างๆ เริ่มมีพฤติกรรมทางการเงินเปลี่ยนไปในปัจจุบัน รวมถึงรับมือกับการมาของธุรกิจ Startups และ FinTech ใหม่ๆ ไปพร้อมๆ กัน

 

Digital Disruption จะสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับธนาคารทั่วประเทศไทย

ด้วยการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีทั่วโลกที่ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการทำธุรกิจและการใช้ชีวิตในปัจจุบัน การเกิดขึ้นของ Digital Disruption นี้ก็ได้ขยายวงกว้างไปสู่ทั่วทุกธุรกิจ การใช้อุปกรณ์โมไบล์ในการทำธุรกิจเริ่มกลายเป็นเรื่องธรรมดา และในกระบวนการทางด้านการเงินเองนั้น ก็จะเริ่มมีการโยกย้ายจากการใช้เงินสดไปสู่ความเป็น Digital มากขึ้น โดยอุปกรณ์โมไบล์ต่างๆ ก็จะมีบทบาทในฐานะของกระเป๋าสตางค์ Digital ต่อไปทั้งในภาคธุรกิจและการใช้งานส่วนบุคคล

การที่เงินถูกแปลงรูปให้กลายเป็น Digital และสามารถจับจ่ายได้ผ่านอุปกรณ์โมไบล์แบบ Real-Time นี้ จะช่วยให้ความคล่องตัวของการซื้อขายสูงขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก และจะเป็นตัวเร่งให้การเติบโตของภาคธุรกิจต่างๆ รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งการมาของ AnyID และ PromptPay ในประเทศไทยเวลานี้เองก็ถือเป็นจังหวะเหมาะที่จะมาช่วยเร่งให้การใช้จ่ายต่างๆ มีความง่ายดายมากยิ่งขึ้นด้วยการรวมบัญชีจากธนาคารต่างๆ ให้ประชาชนทั่วประเทศสามารถนำมาใช้งานได้ง่ายผ่านการจดจำด้วยเลขบัตรประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์นั่นเอง

ความง่ายที่กำลังจะเกิดขึ้นกับวงการการเงินในประเทศไทยนี้ จะส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อทุกๆ ธุรกิจและทุกในประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะการทำธุรกรรมต่างๆ จะมีความง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ประชาชนทุกคนก็จะมีทางเลือกในการใช้บริการจากธนาคารหลายแห่งได้อย่างสะดวกมากขึ้น, สามารถเลือกใช้บริการจากธนาคารที่ตอบโจทย์ทางการเงินที่สุดได้ในแต่ละช่วงเวลา ก็จะทำให้ธนาคารแต่ละแห่งมีโอกาสในการขยายตลาดสู่ลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ และต้องแข่งขันกันมากขึ้นไปด้วยในเวลาเดียวกัน

ในอีกมุมหนึ่ง การตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ก็จะง่ายขึ้นทั้งสำหรับเจ้าของบัญชี, เจ้าของธุรกิจ, ธนาคาร และผู้ตรวจสอบไปด้วยพร้อมๆ กัน เป็นโอกาสอันดีทางหนึ่งในการที่ธนาคารจะสร้างบริการข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการเงินขึ้นมาเสริมความจงรักภักดีของลูกค้าธนาคารได้ และทางธนาคารเองก็สามารถถือโอกาสนี้ในการปรับเปลี่ยนระบบ Backend ของธนาคารในการประมวลผลแต่ละ Transaction ให้มีความเป็นอัตโนมัติมากขึ้น, ใช้คนน้อยลง และลดต้นทุนลงไปได้พร้อมๆ กัน ช่วยให้ธนาคารสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายระยะยาวลงไปได้ และทำให้พนักงานสามารถนำความรู้ความสามารถไปช่วยสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ เพื่อทำงานเชิงรุกได้มากขึ้น

และเมื่อพูดถึงนวัตกรรมทางการเงินแบบเชิงรุก การมาของ Real-time Payment เองก็จะช่วยเปิดให้ธนาคารสามารถสร้างผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินในรูปแบบใหม่ๆ ได้อีกมหาศาลเพื่อมาตอบโจทย์แก่เหล่าลูกค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำ P2P Payment, Short Term Loan, Invoice/Request for Payment, การออกใบแจ้งหนี้และใบเสร็จแบบ Digital สำหรับ SME, การโอนเงินและจ่ายเงินข้ามประเทศ, การซื้อขายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในรูปแบบ Digital และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ต่างก็เกิดขึ้นได้เพราะมีการนำ Digital Transaction มาใช้แทนเงินสดทั้งสิ้น

นอกจากนี้ด้วยการทำธุรกรรมต่างๆ ในแบบ Digital นี้ ก็จะทำให้ทั้งธนาคารและองค์กรต่างๆ มีโอกาสในการสร้างระบบ Payment Data Insights ขึ้นมาสำหรับใช้งานในกรณีต่างๆ ได้มากมาย ทั้งในการใช้เป็นข้อมูลประกอบการอนุมัติเงินกู้, การวิเคราะห์ภาพรวมของเศรษฐกิจ, การตรวจสอบการทำทุจริตที่เกิดขึ้นในทางการเงิน (Fraud Detection) หรือแม้แต่ธุรกิจ SME เองก็สามารถตรวจสอบภาพรวมทางการเงินของตนเองได้อย่างง่ายดายในแบบ Real-time

ทั้งนี้การทำระบบ Digital Payment ผ่านอุปกรณ์โมไบล์นั้นจะกลายเป็นพื้นที่ที่เหล่าธุรกิจธนาคารและการเงินต้องแย่งชิงกัน ทั้งในแง่มุมของการสร้างความภักดีของลูกค้าที่มีต่อธนาคารด้วยการนำเสนอระบบที่มีทั้งความปลอดภัย, ความน่าเชื่อถือ และประโยชน์ต่างๆ ในการใช้งาน ให้อุปกรณ์โมไบล์เหล่านั้นกลายเป็นกระเป๋าสตางค์อีกใบของผู้ใช้งานและเป็นช่องทางที่ธนาคารจะนำเสนอบริการต่างๆ แก่ลูกค้าได้โดยตรง ซึ่งในอนาคตอุปกรณ์โมไบล์ของผู้ใช้งานนี้เองก็อาจจะมาแทนกระเป๋าสตางค์หรือบัตรเครดิตทั้งหมดของลูกค้าก็เป็นได้

 

Digital Disruption ทางการเงินไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในประเทศไทย แต่ต้องมองไปให้ถึงทั่วโลก

สิ่งที่จะเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ในประเทศไทยให้กลายเป็นรูปแบบ Digital ทั้งหมดแล้วนั้น ก็คือการที่การทำธุรกรรมต่างๆ ข้ามชาติเองก็จะถูกเปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นรูปแบบ Digital ทั้งหมดด้วยเพื่อประโยชน์ทั้งในแง่ของความเร็ว, ความโปร่งใส และความสามารถในการการตรวจสอบได้นั่นเอง ซึ่งประเด็นนี้จะยิ่งกลายเป็นตัวเร่งให้การทำธุรกิจต่างๆ มีความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น และกระบวนการทางการเงินที่เคยมีความซับซ้อนสูงนั้นก็จะมีความง่ายดายมากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้ความคล่องตัวในการแปลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสูงขึ้น และเศรษฐกิจเติบโตขึ้นไปด้วยในเวลาเดียวกัน

 

Stream I.T. Consulting จับมือ VocaLink นำเทคโนโลยีและประสบการณ์การพัฒนาระบบ National Instant Payment สู่ประเทศไทย

เพื่อช่วยให้เหล่าธนาคารและธุรกิจการเงินสามารถรับมือได้กับความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ทาง Stream I.T. Consulting ผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านระบบ IT สำหรับสถาบันการเงิน ได้จับมือกับ VocaLink ผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบ Payment ระดับโลกที่มีประสบการณ์การพัฒนาระบบ National Instant Payment ในหลากหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา, อังกฤษ หรือแม้แต่สิงคโปร์ เพื่อร่วมมือกันนำเทคโนโลยี, ประสบการณ์ และองค์ความรู้ที่มีอยู่มาปรับใช้เพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวเข้าสู่การทำ National Instant Payment ได้ในระดับโลก

vocalink_ips_mpp_001

เทคโนโลยีของ VocaLink ที่จะเข้ามามีบทบาทในครั้งนี้ก็ได้แก่ระบบ Instant Payment Services (IPS) ที่จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเพื่อให้ธนาคารต่างๆ สามารถทำ Digital Transaction ระหว่างกันได้แบบ Real-time ผ่าน IPS Gateway โดยมีระบบ Multi Proxy Platform (MPP) ที่ทำหน้าที่สนับสนุนระบบ IPS ด้วยการผสานข้อมูลเลขบัตรประชาชนและเบอร์โทรศัพท์ของประชาชนแต่ละคนเข้ากับบัญชีธนาคาร ให้การทำ Transaction ต่างๆ สามารถอ้างอิงได้ผ่านเลขบัตรประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์ได้ทันที แทนที่จะต้องใช้เลขที่บัญชี เพื่อตอบโจทย์ของการทำ AnyID และ PrompPay ได้อย่างครอบคลุม

ภาพทั้งหมดนี้จะนำไปสู่ปลายทางคือระบบ Pay by Bank App ที่ทาง VocaLink ได้ทำการออกแบบมาเพื่อให้ธนาคารแต่ละแห่งมี Mobile Application ที่ลูกค้าของแต่ละธนาคารสามารถทำการใช้จ่ายได้ทั้งแบบ Online บนอินเทอร์เน็ต และแบบ Offline ในการซื้อขายสินค้าตามหน้าร้านต่างๆ ได้เสมือนเงินสดได้ทันทีแบบ Real-time รวมถึงแต่ละธนาคารยังสามารถทำการสื่อสารกับลูกค้าแต่ละคนเพื่อทำการนำเสนอโปรโมชันหรือการทำ Loyalty Program ต่างๆ ได้ทันทีอีกด้วย

pay_by_bank_app_001

และนอกจากธนาคารจะสามารถเข้าถึงลูกค้ารายต่างๆ ได้มากขึ้นแล้ว เมื่อการใช้จ่ายทั้งหมดกลายเป็นแบบ Digital ถัดจากนี้ไปการทำ Fraud Detection นั้นก็จะกลายเป็นเรื่องที่ง่ายดายยิ่งขึ้นและกลายเป็นหน้าที่ร่วมกันระหว่างธนาคารและลูกค้าในการช่วยกันดูแลสอดส่องธุรกรรมต่างๆ ด้วยความสามารถในการเปิดให้ทั้งสองฝ่ายสามารถตรวจสอบตัวเลขรายรับรายจ่ายต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการจับจ่ายและทำธุรกรรมต่างๆ มากยิ่งขึ้นไปอีก

ทั้งนี้นอกเหนือไปจากประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจับจ่าย ไม่ว่าจะเป็นประเด็นทางด้านความปลอดภัย, ความน่าเชื่อถือ และความเร็วแล้ว การเสริมความสามารถต่างๆ เช่น การจัดโปรโมชัน, การลดราคาสินค้า และอื่นๆ อีกมากมายก็สามารถทำผ่านช่องทางเหล่านี้ได้ทั้งหมดอย่างง่ายดายด้วยเช่นกัน

โจทย์ที่สำคัญสำหรับเหล่าธนาคารและสถาบันการเงินเพื่อตอบรับต่อแนวโน้มเหล่านี้ ก็คือการพัฒนาระบบ Infrastructure ที่สามารถตอบรับต่อความต้องการของทางฝั่งธนาคาร และความต้องการในการจับจ่ายใช้สอยของลูกค้าจำนวนมากให้ได้ในแบบ Real-time นั่นเอง

 

ISO 20022 จะมาเป็นหัวใจห้องหนึ่งของการทำธุรกรรมถัดจากนี้

ISO 20022 จะกลายมาเป็นมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่เหล่าธนาคารใช้เพื่อตอบรับต่อการมาของเรื่องราวทั้งหมดเหล่านี้ โดยนอกจากจะสามารถนำมาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงการทำธุรกรรมต่างภายในแต่ละธนาคารให้มีความเป็น Digital แล้ว การแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือทำ Transaction กันระหว่างธนาคารภายในแต่ละประเทศและระหว่างประเทศเองนั้นก็จำเป็นต้องอาศัยมาตรฐานกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันอีกด้วย

นอกเหนือจากการทำหน้าที่เป็นมาตรฐานกลางในการสื่อสารระหว่างกันของแต่ละธนาคารเพื่อให้มีการรับส่งข้อมูล Transaction ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตรงกันแล้ว ISO 20022 เองนั้นก็ยังมีส่วนที่ระบุถึงบริการต่างๆ ของสถาบันการเงินอย่างการแลกเปลี่ยนเงินตรา, การลงทุน และอื่นๆ รวมถึงการรับส่งข้อมูลภายในแต่ละธนาคารเองอีกด้วย ทำให้ในภาพรวมแล้วการนำมาตรฐาน ISO 20022 มาใช้ภายในธนาคารและสถาบันการเงินนั้น จะทำให้ข้อมูลต่างๆ ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบระเบียบมากขึ้นในหลายๆ ภาคส่วนเลยทีเดียว

vocalink_ips_mpp_002

ทั้งนี้เทคโนโลยีของ VocaLink เองนั้นถึงแม้จะมีการสนับสนุนให้ใช้งานมาตรฐาน ISO 20022 เป็นหลักในการรับส่งข้อมูล Transaction ต่างๆ แต่ทาง VocaLink เองก็มีความเข้าใจในตลาดเป็นอย่างดีว่ามาตรฐานเดิมที่เคยมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายอย่าง ISO 8583 นั้นก็คงไม่สามารถละทิ้งไปจากอุตสาหกรรมได้อย่างง่ายดาย ดังนั้น VocaLink จึงได้ทำการพัฒนาระบบ IPS ให้รองรับการใช้งานได้ทั้งสองมาตรฐานไปพร้อมๆ กัน

 

เตรียมต่อยอดอนาคตของธุรกิจการเงินด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ จากความร่วมมือระหว่าง Stream I.T. Consulting และ IBM

IBM เองนั้นก็ถือเป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีที่มีบทบาทต่อสถาบันการเงินทั่วโลกมาโดยตลอด อีกทั้งในระบบของ VocaLink เองก็มีการใช้งานเทคโนโลยีจาก IBM อยู่ด้วยเช่นกัน ทำให้ทาง Stream I.T. Consulting เองนั้นก็ได้ร่วมมือกับ IBM เพื่อช่วยหนุนเสริมให้เหล่าธนาคารและธุรกิจการเงินในไทยสามารถก้าวเข้าสู่โลกของการทำ Digital Disruption ได้อย่างเต็มตัว และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาตอบโจทย์ของการทำธุรกิจและพฤติกรรมการจับจ่ายที่เปลี่ยนไปในโลกยุคปัจจุบันนี้

ทาง IBM มองว่าการทำ Digital Disruption ทางการเงินนั้นไม่ใช่เรื่องของธนาคารและสถาบันการเงินเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของธุรกิจหลากหลายไม่ว่าจะเป็นบริษัท Startups กลุ่ม Fin Tech และบริษัทอื่นๆ ที่เริ่มทำ Application สำหรับการจับจ่ายต่างๆ ของตัวเองไม่ว่าจะเป็นบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Apple หรือ Samsung และธุรกิจชั้นนำอย่าง Starbucks ก็ตาม

 

เทคโนโลยีฝั่ง Infrastructure และ Software Architecture สำหรับตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงของธนาคาร

เทรนด์หนึ่งที่เหล่าธนาคารเองต้องเริ่มเปลี่ยนมุมมองก็คือการนำ Public Cloud มาใช้ในการเติมเต็มโซลูชันต่างๆ ของธนาคารเพื่อให้ตามการทำ Digital Transformation ให้ทัน โดยระบบ Core Banking เองนั้นอาจจะยังคงอยู่ภายใน IT Infrastruvture ของธนาคารเอง แต่กลุ่ม Digital Apps ใหม่ๆ ที่จะมาเพิ่มเติมมาเพื่อเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันนั้นก็อาจจะอยู่บนระบบ Public Cloud และธนาคารเองก็ต้องบริหารจัดการทั้งสองระบบนี้ร่วมกันให้ได้ในรูปแบบของ Hybrid Cloud

สำหรับระบบ Payment นั้น แต่ละธนาคารก็อาจจะมีระบบที่หลากหลายและแตกต่างกันไปตามรูปแบบและกลุ่มตลาด การปรับโครงสร้างของ Application เหล่านี้ให้รองรับการทำธุรกรรมแบบใหม่ๆ และการเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ อย่าง IPS ของ VocaLink เพื่อขจัดความเป็น Silo ของระบบที่ธนาคารใช้อยู่เดิม และเปิดรับต่อเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง Big Data Analytics และ Payment Platform ใหม่ๆ ให้ได้จึงถือเป็นสิ่งที่ธนาคารต้องเริ่มให้ความสำคัญ

ในมุมมองของ IBM เอง การพัฒนา Application สำหรับธนาคารนั้น การใช้สถาปัตยกรรมแบบ SOA เองนั้นก็ยังคงถือเป็นสถาปัตยกรรมที่คลาสสิคและยังรองรับต่ออนาคตต่อไปได้ด้วยความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงแต่ละส่วนของระบบที่เชื่อมต่อกันได้โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงหมดทั้งระบบ และก็ถือเป็นสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมกับธนาคารในการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงระบบต่างๆ ได้โดยไม่มี Downtime เกิดขึ้น และรองรับการเปิดบริการใหม่ๆ ในอนาคตได้อย่างต่อเนื่อง

 

API และการ Integrate ระบบทั้งภายในและภายนอก จะมาเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญของธุรกิจธนาคาร

IBM ได้นำเสนอว่าถัดจากนี้ไป การพัฒนาระบบ Application Programming Interface หรือ API ในธนาคารเองก็จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบรับต่อการมาของ Platform ใหม่ๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์โมไบล์ที่ได้สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับการทำธุรกิจและการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเงินอย่างหลากหลาย ซึ่งในมุมมองของการพัฒนาระบบ API นี้ การนำ Microservices Architecture ที่เรียกได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำ SOA ที่มีความรวดเร็วและรองรับต่อการทำ Agile ได้เป็นอย่างดี ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจธนาคาร

ในขณะเดียวกัน ระบบ Enterprise Service Bus (ESB) อย่าง IBM Integration Bus ก็ยังคงมีความสำคัญในการเชื่อมต่อระบบต่างๆ ของธนาคารเข้าด้วยกันให้ได้โดยที่แต่ละ Change ที่เกิดขึ้นในระบบจะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ มากนัก และ ESB เองก็จะมีบทบาทหลักในการเชื่อมต่อไปยังระบบของ VocalLink IPS และ ITMX ได้ด้วยการจัดการปรับเปลี่ยนข้อมูลและการติดต่อสื่อสารต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเชื่อมต่อ

ibm_data_power_gateway_2

ในมุมของ IBM เองก็ยังมีอีกมุมมองที่น่าสนใจ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ในกลุ่มระบบสำหรับธุรกิจการเงินของ IBM ทั้งหมดนั้นรองรับการติดตั้งได้ทั้งบน On-premises Data Center ของธนาคารเอง หรือติดตั้งบนระบบ Cloud เพื่อให้ธนาคารสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างรวดเร็วและยืดหยุ่น รวมถึงยังมีระบบ MQ ที่ต่อยอดขึ้นมาเพื่อรองรับการทำ Internet of Things (IoT) ได้อย่าง MQTT อีกด้วย

สำหรับ IBM MQ เองนั้นก็มีการปรับปรุงทั้งในแง่ประสิทธิภาพและการปลอดภัย รวมถึงมีระบบ IBM MQ Appliance ที่รองรับการทำ High Availability และ Disaster Recovery (DR) ได้ในตัว ทำให้ธนาคารและสถาบันการเงินสามารถติดตั้งใช้งานระบบ IBM MQ ได้อย่างรวดเร็ว, ง่ายดาย และทนทานเพื่อทำหน้าที่เป็นระบบ Messaging Platform รองรับการเชื่อมต่อกับระบบ VocaLink IPS และระบบอื่นๆ ด้วยมาตรฐาน ISO20022 นั่นเอง

ส่วน IBM DataPower Gateways เองนั้นก็จะมีบทบาทสำคัญทั้งในแง่ของการรักษาความปลอดภัยในการเชื่อมต่อและการทำธุรกรรมต่างๆ รวมถึงยังสามารถช่วยบริหารจัดการและควบคุมการใช้งาน API ต่างๆ ของธนาคารได้อย่างปลอดภัย สำหรับเสริมต่อการพัฒนา API ของธนาคารที่กำลังจะทวีความสำคัญขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคต

IBM Data Power Gateway
IBM Data Power Gateway

 

API จะเป็นตัวเร่งธุรกิจของธนาคารให้เติบโต

หนทางหนึ่งที่ธนาคารจะสามารถก้าวเข้าสู่การทำ Digital Transformation ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ก็คือการวางกลยุ่ทธ์ทางด้าน API เพื่อสร้าง Ecosystem ของธนาคารเพิ่มด้วยการเปิดให้เหล่านักพัฒนามาเชื่อมต่อกับบริการต่างๆ ของธนาคารได้อย่างง่ายดาย และเป็นการร่วมมือกับเหล่าบริษัท Startups ต่างๆ ให้เติบโตไปด้วยกันได้ในระยะยาว

API อาจกลายเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินใหม่ๆ ให้แก่เหล่าธนาคารได้สำหรับการทำธุรกรรมในโลกออนไลน์ ในขณะเดียวกันการเปิด API ให้องค์กรหริอนักพัฒนาภายนอกเข้าถึงได้ ก็อาจเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ทางการเงินขึ้นมาได้ด้วยเช่นกัน

สิ่งที่ธนาคารต้องทำเพื่อเปิดรับความต้องการของ API จากภายนอกนี้ก็คือการมองหาโอกาสใหม่ๆ และการปรับปรุงบริการเดิมๆ ที่ธนาคารเคยพัฒนาเป็น SOA สำหรับใช้งานภายในว่าจะสามารถนำไปปรับให้องค์กรอื่นๆ ภายนอกนำไปใช้งานต่อยอดได้อย่างไรบ้าง

ทางด้าน IBM เองก็มีเทคโนโลยีระบบ API Connect สำหรับทำหน้าที่บริหารจัดการการเปิด API ของธนาคารให้นำไปใช้งานได้ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กรอย่างปลอดภัย โดยมีตั้งแต่ระบบขนาดเล็กไปจนถึงระบบขนาดใหญ่อย่าง IBM DataPower Gateways และรองรับภาษาในการพัฒนาที่หลากหลายรวมถึง Node.js ด้วย

ดังนั้นสิ่งที่ IBM มองว่าเป็นแนวทางที่สำคัญมากสำหรับทุกๆ ธนาคารในปัจจุบันนี้ ก็คือการเร่งพัฒนาความสามารถในการ Integrate ระบบ, ผลิตภัณฑ์ และบริการของธนาคารกับองค์กรและธุรกิจอื่นๆ ภายนอกให้ได้ทันต่อความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยนั่นเอง

 

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม? ติดต่อ Stream I.T. Consulting ได้โดยตรง

stream_it_orange_logo_h100

สำหรับผู้ที่สนใจเทคโนโลยีต่างๆ สำหรับธุรกิจการเงินและการธนาคาร และต้องการคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง สามารถติดต่อทีมงานของ Stream I.T. Consulting ได้โดยตรงทันทีที่ Stream I.T Consulting Ltd. 11 Q.House Sathorn Bldg., 7th Floor,South Sathorn Rd., Tungmahamek, Sathorn, Bangkok 10120 Tel: (66) 2679-2233 e-mail:marketing@stream.co.th หรือ http://www.stream.co.th

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

ขอเชิญเข้าร่วม Sumo Logic Webinar: “AI-Powered SOC: การเปลี่ยนแปลงปฏิบัติการด้านความปลอดภัยด้วยระบบอัจฉริยะ” [9 เม.ย. 2025 – 13.30น.]

Sumo Logic ขอเรียนเชิญ CISO, Cybersecurity Manager, Cybersecurity Engineer, IT Administrator และผู้ที่สนใจทุกท่าน เข้าร่วมงาน Webinar ในหัวข้อ “AI-Powered SOC: การเปลี่ยนแปลงปฏิบัติการด้านความปลอดภัยด้วยระบบอัจฉริยะ” เพื่อเรียนรู้ถึงแนวทางในการทำ SecOps แห่งอนาคตที่ผสาน AI สู่ SOC เพื่อให้การตรวจจับและตรวจสอบภัยคุกคามมีความแม่นยำและง่ายดายยิ่งขึ้นกว่าเดิม และบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยของระบบ IT สำคัญในองค์กรได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น ในวันที่ 9 เมษายน 2025 เวลา 13.30น. - 14.30น.

BMSP Webinar: Next-Gen Cyber Defense – ปกป้ององค์กรจาก AI Threats ด้วย EDR, MDR และ SOC

BMSP ร่วมกับ Kaspersky ขอเรียนเชิญผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้าน IT Security เข้าร่วมงานสัมมนาออนไลน์เรื่อง “Next-Gen Cyber Defense – ปกป้ององค์กรจาก AI Threats ด้วย …