IBM Flashsystem

Microsoft Patch Tuesday ประจำเดือนมิถุนายน 2018 อุดช่องโหว่รวม 50 รายการ

Microsoft ประกาศออกแพตช์ด้านความมั่นคงปลอดภัยประจำเดือนมิถุนายน 2018 ล่าสุดบนระบบปฏิบัติการ Windows อุดช่องโหว่รวมทั้งสิ้น 50 รายการ ทั้งบน Windows OS, Internet Explorer, Microsoft Edge, ChakraCore JavaScript Engine และ Microsoft Office และ Microsoft Office Services

Credit: alexmillos/ShutterStock

ช่องโหว่ทั้ง 50 รายการนั้นแบ่งเป็นช่องโหว่ความรุนแรงระดับ Critical 11 รายการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่องโหว่ Memory Corruption และ Remote Code Execution ในขณะที่ช่องโหว่ความรุนแรงระดับ Important อีก 39 รายการเป็นช่องโหว่ทางด้าน Information Disclosure, Privilege Escalation และ Security Feature Bypass

ข่าวดีสำหรับแพตช์ประจำเดือนนี้คือ ไม่พบช่องโหว่ Zero-day บนระบบปฏิบัติการ Windows แต่อย่างใด รวมไปถึงมีการอุดช่องโหว่ Remote Code Execution รหัส CVE-2018-8267 บน Microsoft Scripting Engine ที่เพิ่งค้นพบเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อย

นอกจากนี้ Microsoft Patch Tuesday ประจำเดือนนี้ยังออกแพตช์สำหรับอุดช่องโหว่ Zero-day บน Adobe Flash Player รหัส CVE-2018-5002 ซึ่งทาง Adobe เพิ่งทำการออกแพตช์ไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาด้วย แนะนำให้ผู้ดูแลระบบ Windows ทำการอัปเดตแพตช์ทั้งหมดโดยเร็ว

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับช่องโหว่และแพตช์ทั้งหมดได้ที่: https://portal.msrc.microsoft.com/en-us/security-guidance

ที่มา: https://www.bleepingcomputer.com/news/microsoft/microsoft-june-2018-patch-tuesday-fixes-50-security-issues/

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Salesforce เปิดตัว Agentforce 3 พร้อม Command Center และการรองรับ MCP

Salesforce ประกาศอัปเกรด Agentforce เป็นเวอร์ชัน 3 เพิ่มความสามารถด้านการมองเห็นและควบคุม AI Agents ผ่าน Command Center พร้อมรองรับ Model Context Protocol …

การปกป้องข้อมูลจาก Ransomware ที่ปลอดภัยที่สุด และไม่ต้องลงทุนสูง

องค์กรที่งบไม่หนา ก็ยังสู้ภัย Ransomware ได้แบบสบายๆ ลดความเสียหายได้แบบสบายกระเป๋า! อยากให้ทุกท่านได้อ่านบทความนี้ และพิจารณาถึงความเป็นจริง หลายองค์กรนิยมการ สำรองข้อมูลแบบ Disk-to-Disk เป็นหลัก เนื่องจากมีความเร็วและสะดวกในการใช้งาน อย่างไรก็ตามแรนซัมแวร์ได้พัฒนาความสามารถในการโจมตีโดยตรงไปยังระบบสำรองข้อมูล ออนไลน์เหล่านี้ และเข้ารหัสข้อมูลสำรอง …