Microsoft Patch Tuesday – แพทช์ใหม่ประจำเดือนกรกฎาคม 2016

microsoft_logo

Microsoft ออกแพทช์ใหม่ประจำเดือนกรกฎาคม 2016 สำหรับอุดช่องโหว่ทั้งหมด 49 รายการ โดยแบ่งออกเป็น 11 Bulletins แนะนำให้ผู้ใช้รีบอัพเดทแพทช์ทั้งหมดทันที

6 ใน 11 Bulletins ถูกจัดระดับเป็น Critical ซึ่งระบุถึงช่องโหว่บน Edge, Internet Explorer, JScript/VBScript, Print Spooler, Office และ Adobe Flash Player ที่เหลือเป็น Bulletins ระดับ Important สำหรับแพทช์ช่องโหว่ที่พบบน Windows Kernel, Office, Kernel-Mode Drivers, .NET Framework และ Secure Boot.

Credit: alexmillos/ShutterStock
Credit: alexmillos/ShutterStock

Bulletins ระดับ Critical

  • MS16-084 – ช่องโหว่บน Internet Explorer เวอร์ชัน 9, 10, 11 ทั้งหมด 15 รายการ
  • MS16-085 – ช่องโหว่บน Edge 13 รายการ
  • MS16-086 – CVE-2016-3024 บั๊ค Memory Corruption บน JScript และ VBScript
  • MS16-087 – CVE-2016-3238 และ CVE-2016-3239 บน Print Spooler ซึ่งเป็นช่องโหว่ Remote Code Execution และ Local Privilege Escalation
  • MS16-088 – CVE-2016-3278 ถึง CVE-2016-3284 ช่องโหว่ Remote Code Execution บน Microsoft Office
  • MS16-093 – ช่องโหว่ของ Flash Player Libraries บน IE และ Edge

Bulletins ระดับ Important

  • MS16-089 – ช่องโหว่ Information Disclosure บน Windows Secure Kernel Mode (CVE-2016-3256)
  • MS16-090 – ช่องโหว่หลายรายการบน Microsoft Windows Kernel-Mode Drivers เช่น Local Privilege Escalation
  • MS16-091 – CVE-2016-3255 ช่องโหว่ Information Disclosure บน .NET Framework
  • MS16-092 – ช่องโหว่บน Windows Kernel ได้แก่ CVE-2016-3258 และ CVE-2016-3272
  • MS16-094 – แพทช์อัพเดทสำหรับอุดช่องโหว่ CVE-2016-3287 บน Secure Boot

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://technet.microsoft.com/en-us/library/security/mt637763.aspx


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

ผลกระทบจากควอนตัมต่อระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ประเทศไทยต้องเร่งเดินหน้าแผนรับมือ [Press Release]

การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing)  การแข่งขันด้านเทคโนโลยีการคำนวณแบบใหม่ที่กำลังร้อนแรง และเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงไทยก็เกาะติดกระแสอย่างใกล้ชิด แต่นักวิจัยและนักเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์กำลังกังวลกับข้อดีข้อเสียของการคำนวณเชิงควอนตัม แม้ประโยชน์จะมีมากมาย ตั้งแต่เรื่องแมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยทางการแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการรหัสลับและระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ แต่เทคโนโลยีเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงและช่องโหว่ใหม่โดยเฉพาะความสามารถในทะลุทะลวงการเข้ารหัสยุคใหม่ซึ่งถือเป็นรากฐานของอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และอีคอมเมิร์ซ ที่เชื่อมผสานสังคมของเราเข้าด้วยกัน

Veritas Backup Exec 22 ราคาไม่แพงแน่นะพี่วี ?

“Backup ข้อมูล 10 vm ราคาเริ่มต้นเพียง 19,000 บาท แถมฟรี Backup Microsoft 365 จำนวน 10 users”