[Guest Post] งานวิจัย Kaspersky เผย พนักงาน 74% ไม่อยากกลับไปทำงานรูปแบบเดิมก่อนมีโควิด-19

งานวิจัยล่าสุดโดยแคสเปอร์สกี้ สำรวจข้อมูลจากพนักงานบริษัทขนาดจำนวนแปดพันกว่าคนทั่วโลก ในอุตสาหกรรมต่างๆ พบว่า เกือบสามในสี่ (74%) ต้องการทบทวนรูปแบบการทำงานช่วงก่อน COVID-19 แทนที่จะกลับไปเหมือนเก่า พนักงานทั่วโลกกำลังปรับธุรกิจในอนาคตไปตามรูปแบบที่ตนต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการให้เวลากับคนอันเป็นที่รักให้มากขึ้น (47%) ลดค่าใช้จ่าย (41%) หรือทำงานจากที่ใดก็ได้ไม่ต้องเข้าออฟฟิศ (32%)

 

ในปัจจุบันเจ้าของธุรกิจทั้งหลายต้องเผชิญกับภาวการณ์การทำงานจากที่บ้าน จากที่ต่างๆ ระยะไกลจากนอกออฟฟิศเข้ามายังระบบของออฟฟิศ จำเป็นเร่งด่วนในการหาทางประยุกต์เข้ากับการทำงานแบบนี้ให้ได้อย่างปลอดภัย และยังให้ความคล่องตัว ขณะเดียวกันพนักงานก็พากันอาศัยช่วงจังหวะการเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นโอกาสที่จะประเมินลำดับความสำคัญ วางแผนอนาคตสำหรับสิ่งที่มีความหมายต่อชีวิตของเขา และการแปรเปลี่ยนครั้งนี้มีเหล่าพนักงานเป็นผู้ขับเคลื่อน

พนักงานกำลังทบทวนวิถีการทำงานรูปแบบใหม่ เพื่อให้หลุดพ้นจากรูปแบบงานประจำที่เคยทำมา รูปแบบใหม่นี้ต้องให้ความคล่องตัวมากขึ้น มีความสะดวกยืดหยุ่นกับตัวเองได้มากขึ้น และมีวัฒนธรรมองค์กรที่มีความห่วงใยเห็นอกเห็นใจสอดคล้องกับหลักมนุษยธรรมมากขึ้น จากข้อมูลที่สำรวจมา พบว่า พนักงานเกือบสองในห้าคน (39%) ไม่ต้องการกลับไปทำงาน 9 โมงเช้าเลิก 5 โมงเย็นอีกแล้ว และตัวเลขยิ่งสูงขึ้นเมื่ออยู่ในช่วงอายุ 25-34 ปี นอกจากนี้ พนักงาน 44% ชี้ว่าเป็นทิศทางที่กำลังเติบโต และ 34% พร้อมที่จะกลับเข้าไปนั่งออฟฟิศ และ 32% ไม่ต้องการทำงานแบบห้าวันต่อสัปดาห์อีกแล้ว

การวิจัยยังได้เน้นว่า เกือบหนึ่งในสาม (32%) ของพนักงานเห็นการทำงานแบบรีโมทเข้ามาเป็นเหมือนสวัสดิการชั้นเยี่ยมที่เป็นผลพลอยได้จากโคโรนาไวรัสจัดสรรให้เลยทีเดียว ติดอันดับสาม ตามข้อดีจากการได้มีเวลากับครอบครัวมากขึ้น (47%) และประหยัดเงินได้มากโข (41%) อันที่จริง ข้อได้เปรียบที่เด่นชัดนั้นเกี่ยวข้องกับการได้โอกาสดูแลความสนใจส่วนตัวที่นอกเหนือไปจากเรื่องงาน เพราะการมีสมดุลระหว่าง งาน-ชีวิตส่วนตัว คือ สิ่งจำเป็นของชีวิต

 

 

อย่างไรก็ตาม ขณะที่พนักงานหันมาใช้วิธีการทำงานแบบใหม่กันอย่างต่อเนื่อง ทางเจ้าของบริษัท / องค์กรก็ต้องหาทางเพิ่มมาตรการรองรับทิศทางนี้ ดูจากจำนวนพนักงานหนึ่งในสาม (38%) คาดหวังว่าทางองค์กรจะเป็นฝ่ายที่ให้ความสนับสนุนเวลาทำงานจากระยะไกล องค์กรจำเป็นต้องจัดหาทูลและเทคโนโลยีรองรับเพื่อการทำงานต่อเนื่อง เชื่อมต่อไม่ติดขัดและปลอดภัย

นายอเล็กซานเดอร์ มอยซีฟ ประธานบริหารฝ่ายธุรกิจ บริษัท แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาที่สำคัญ การที่เราต้องพบเจอโรคระบาดเป็นปัจจัยเร่งการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่รูปแบบดิจิทัล และเป็นตัวที่ผสมผสานชีวิตงานเข้ากับชีวิตส่วนตัว มีพนักงานมากมายหันมาใช้เทคโนโลยีเพื่อก้าวเข้าสู่โลกในอนาคต และไม่กลัวที่จะต้องเผชิญความท้าทายกับปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อแลกกับอิสระและความยืดหยุ่นคล่องตัวที่จะได้มาจากการเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยี ทำให้บรรดาบริษัทธุรกิจต่างต้องเร่งประยุกต์ ปรับแผนภูมิทัศน์การทำงานให้ทันสมัย รับกับแนวทางการทำงานที่ลื่นไหล ได้ผลงาน ยั่งยืน และปรับแปลงได้ง่าย

 

และเพื่อให้การทำงานลักษณะนี้คงความปลอดภัยในความคล่องตัวยืดหยุ่น แคสเปอร์สกี้มีคำแนะนำดังต่อไปนี้:

– ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานและความปลอดภัยทางไซเบอร์ ไม่ว่าจะทำงานจากที่บ้านหรือจากคาเฟ่ไหนๆ นี่เป็นการปรับเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนพฤติกรรมที่พนักงานควรต้องมีความรู้ด้านความปลอดภัยเอาไว้

– ส่งเสริมความรู้ด้านไซเบอร์ให้แก่พนักงานด้วยแพลตฟอร์ม Automated Security Awareness Platform

– วางมาตรการป้องกันข้อมูลที่มีความอ่อนไหว เพื่อปกป้องอุปกรณ์และข้อมูลที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งใช้มาตรการป้องกันรหัสผ่าน เข้ารหัสอุปกรณ์การทำงาน และแบคอัพข้อมูลอยู่เสมอ

– วางมาตรการความปลอดภัยทั้งภายในและภายนอกออฟฟิศ ปกป้องการสื่อสารของพนักงานทั้งภายในออฟฟิศ หรือที่นอกสถานที่ ไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์สื่อสารประเภทก็ตาม และทั้งหมดนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคสมัยนี้ ด้วยโซลูชันเพื่อความปลอดภัย อาทิ Kaspersky Endpoint Security Cloud

 

ท่านสามารถอ่านรายงานฉบับเต็มของ ‘Securing the Future of Work’ ได้ที่

https://www.kaspersky.com/blog/own-your-future/37609/

 

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Kaspersky Endpoint Security Cloud ศึกษากลไกในการป้องกันจากภัยคุกคามไซเบอร์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้อย่างแข็งแกร่งได้อย่างไร

https://www.kaspersky.com/small-to-medium-business-security/cloud

About Maylada

Check Also

ซินเน็คฯ เปิดหลักสูตร THE NEXT: Vision for Future ดึงผู้นำองค์กรแถวหน้าของเมืองไทย ปลุกวิสัยทัศน์ให้ทายาทธุรกิจรุ่นใหม่สู้ศึกยุคดิจิทัล [PR]

บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ดิสทริบิวเตอร์ผู้นำด้านไอทีอีโคซิสเต็ม เปิดหลักสูตร THE NEXT: Vision for Future ดึงผู้นำองค์กรระดับแนวหน้าของเมืองไทย ปลุกวิสัยทัศน์ให้ทายาทธุรกิจพาร์ทเนอร์รุ่นใหม่พร้อมสู้ศึกยุคดิจิทัล โดยหลักสูตรนี้มุ่งพัฒนาทักษะการบริหาร …

Geographic Information System (GIS) คืออะไร ?

Geographic Information System หรือ GIS คือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่มีการจดบันทึกจัดเก็บและตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของพื้นผิวโลกในที่ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจในข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ที่สนใจได้มากยิ่งขึ้น