การแชร์ข้อมูลส่วนตัวหรือภาพถ่ายลงโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊กหรืออินสตราแกรม กลายเป็นเรื่องปกติสำหรับหลายๆ คน แคสเปอร์สกี้ แลป ได้ทำการค้นคว้าล่าสุดเรื่อง Stranger danger: the connection between sharing online and losing the data we love เพื่อเปิดเผยว่าผู้ใช้โซเชียลได้แชร์ข้อมูลส่วนตัวสู่สาธารณะมากน้อยเพียงใด จากรายงานพบว่า ผู้ใช้ส่วนมาก (93%) มีพฤติกรรมแชร์ข้อมูลดิจิทัล ในจำนวนนี้ 70% แชร์รูปและวิดีโอของลูกหลาน และ 45% แชร์รูปและวิดีโอส่วนตัวและเปราะบางของคนอื่น รายงานยังพบพฤติกรรมเช่นนี้ในกลุ่มเยาวชน ซึ่งนับว่าแย่กว่ามาก นั่นคือการแชร์ข้อมูลส่วนตัวให้คนแปลกหน้ารับรู้อีกด้วย
ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเกือบครึ่ง (44%) เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวสู่สาธารณะ และเมื่อข้อมูลส่งไปยังโดเมนสาธารณะ ก็จะถูกส่งต่อไปเรื่อยๆ เกินควบคุม ผู้ใช้จำนวนหนึ่งในห้ายอมรับว่าได้แชร์ข้อมูลเปราะบางกับคนอื่นทั้งที่ไม่รู้จักกันดี รวมถึงคนแปลกหน้า จึงทำให้ควบคุมการนำข้อมูลไปใช้ได้ยาก สาเหตุที่ทำให้ตกเป็นเหยื่อการจารกรรมตัวตนและการโจมตีทางการเงิน เกิดจากการแชร์รายละเอียดการเงิน/การจ่ายเงิน (37%) การสแกนหน้าพาสปอร์ต ใบขับขี่ และเอกสารอื่นๆ (41%) และการเปิดเผยพาสเวิร์ด (30%)
นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ใช้ไม่เพียงแต่แชร์ข้อมูลเท่านั้น ยังแชร์ดีไวซ์ที่เก็บข้อมูลมีค่าอีกด้วย ผู้ใช้หนึ่งในสิบ (10%) แชร์รหัส PIN ที่ใช้เข้าเครื่องกับคนแปลกหน้า ผู้ใช้หนึ่งในห้า (22%) ไม่ล็อกเครื่องและทิ้งเครื่องไว้ในคนอื่นเข้าถึง และผู้ใช้เกือบหนึ่งในสี่ (23%) เอาเครื่องตัวเองให้คนอื่นหยิบยืมใช้เป็นระยะเวลาหนึ่ง
อังเดรย์ โมโคล่า หัวหน้าฝ่ายธุรกิจสำหรับคอนซูมเมอร์ แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “การแชร์ข้อมูลส่วนตัวมากเกินไปกับคนอื่นๆ เป็นพฤติกรรมที่นำภัยมาสู่ตัว โลกออนไลน์ในปัจจุบัน การแชร์ข้อมูลให้คนอื่นรู้เป็นเรื่องง่ายมาก ทำได้หลายช่องทาง แต่ทันทีที่คุณเปิดเผยข้อมูลสำคัญและเปราะบาง ก็ไม่อาจรู้ได้เลยว่าข้อมูลจะส่งไปไหน ถูกนำไปใช้อย่างไร”
ผลการค้นคว้ายังพบว่า เยาวชนมักแชร์รูปส่วนตัวออนไลน์มากกว่าวัยอื่น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอายุระหว่าง 16-24 ปี จำนวน 61% ยอมรับว่าได้แชร์รูปจริง ขณะที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่อายุมากกว่า 55 ปี มีจำนวนเพียง 38% เช่นเดียวกับการแชร์ข้อมูลการเงิน เยาวชน 42% แชร์ข้อมูลการเงิน/การจ่ายเงิน ขณะที่ผู้ใช้รุ่นใหญ่มีเพียง 27% เท่านั้น
อังเดรย์กล่าวเสริมว่า “การหวังให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตหยุดแชร์รูป แชร์รายละเอียดส่วนตัวและข้อมูลอื่นให้คนอื่นรู้ คงเป็นไปได้ยาก เราจึงขอให้ผู้ใช้คิดให้รอบคอบก่อนแชร์ข้อมูลสำคัญสู่สาธารณะ และควรมีมาตรการเพื่อปกป้องดูแลความปลอดภัย ไม่ให้ข้อมูลและดีไวซ์ตกอยู่ในมือมิจฉาชีพ”
ข้อมูลเพิ่มเติม
- รายงานเรื่อง “Stranger danger: the connection between sharing online and losing the data we love”
https://blog.kaspersky.com/my-precious-data-report-three/16883/
###
เกี่ยวกับแคสเปอร์สกี้ แลป
แคสเปอร์สกี้ แลปก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2540 เป็นบริษัทระดับโลกที่เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ซึ่งความชำนาญพิเศษด้านภัยคุกคามที่ใช้เทคนิคเชิงลึก (deep threat intelligence) และระบบการป้องกันรักษาความปลอดภัยของแคสเปอร์สกี้ แลปได้ถ่ายทอดออกมาเป็นโซลูชั่นและบริการเพื่อการรักษาความปลอดภัยที่คอยให้การปกป้ององค์กรธุรกิจ โครงสร้างที่มีความสำคัญ องค์กรภาครัฐและผู้บริโภคมากมายทั่วโลก ทั้งนี้พอร์ตโฟลิโอผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาความปลอดภัยที่ครบถ้วนของบริษัทประกอบด้วยโซลูชั่นและบริการเพื่อการป้องกันเอนด์พอยนท์ รวมทั้งโซลูชั่นเฉพาะทางมากมายเพื่อรับมือภัยคุกคามทางดิจิตอลที่วิวัฒนาการขยายขีดความซับซ้อนยิ่งขึ้นทุกวัน ปัจจุบันเทคโนโลยีของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถปกป้องยูสเซอร์มากกว่า 400 ล้านคนทั่วโลก และเราได้ให้การช่วยเหลือลูกค้าองค์กรในการป้องกันสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่ง อีกมากกว่า 270,000 แห่งทั่วโลก ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.kasperesky.com