CDIC 2023
Credit: ra2studio/ShutterStock

12 เมตร !! รัศมีที่ระบบตรวจสอบม่านตาสามารถระบุบุคคลได้

cmu_logo

ระบบสแกนม่านตา เป็นหนึ่งวิธีพิสูจน์ตัวตนทางชีวภาพ (Biometric) ผ่านการตรวจสอบรูปแบบของม่านตา ซึ่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งวิธียอดนิยมของการพิสูจน์ตัวตนนอกจากการใช้ลายนิ้วมือ โดยงานวิจัยล่าสุดของมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon สหรัฐอเมริกาแสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีตรวจสอบม่านตาล่าสุดสามารถระบุบุคคลได้ระยะทางไกลถึง 40 ฟุตหรือประมาณ 12 เมตร

ระบบสแกนม่านตาเริ่มเป็นที่นิยมใช้งาน

ระบบสแกนม่านตาเป็นหนึ่งในความต้องการพื้นฐานของการพิสูจน์ตัวตนตามข้อกำหนด FIDO 2.0 ซึ่งในปัจจุบันหลายบริษัทและองค์กรเริ่มหันมาใช้การพิสูจน์ตัวตนรูปแบบดังกล่าวเนื่องจากผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องจดจำรหัสผ่านให้ยุ่งยาก และข้อมูล Biometric ก็เป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคลที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ NTT Docomo ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือชื่อดังของญี่ปุ่นเองก็ได้มีการเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ที่รองรับการตรวจสอบม่านตาของผู้ใช้เมื่อไม่นานมานี้เช่นเดียวกัน นับว่าการพิสูจน์ตัวตนแบบ Biometric จะเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

ระบุตัวตนได้ไกลถึง 12 เมตร

จากการพัฒนาระบบตรวจสอบม่านตาของทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon (CMU) ด้วยเทคโนโลยีล่าสุด ระบุว่า ทีมนักวิจัยสามารถระบุตัวตนของคนขับรถผ่านทางรูปภาพดวงตาที่ถ่ายสะท้อนกับกระจกมองข้างของรถยนต์ซึ่งอยู่ห่างจากอุปกรณ์ตรวจสอบม่านตาถึง 40 ฟุต หรือประมาณ 12 เมตรได้อย่างแม่นยำ

กระแสต่อต้านจากสังคม

ทีมงานวิจัยพบว่า ถึงแม้ว่าจะมีการติดตั้งระบบพิสูจน์ตัวตนแบบระยะไกลที่ทำให้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องต่อแถว แต่พวกเขาเหล่านั้นก็ยังมีความลังเลในการใช้เทคโนโลยีตรวจสอบม่านตาดังกล่าว โดยบางคนระบุว่า ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ตรวจสอบหรืออุปกรณ์ตรวจสอบเมื่อต้องพิสูจน์ตัวตนแบบ Biometric นอกจากนี้ บางคนยังรู้สึกว่าพวกเขาสามารถยอมรับเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย จำพวกกล้องวงจรปิด หรือระบบติดตามต่างๆได้ แต่บางทีการพิสูจน์ตัวตนจากระยะไกลแบบนี้ก็ “มากจนเกินไป”

พบปัญหาด้านการเก็บข้อมูลม่านตา

อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญของการพิสูจน์ตัวตนแบบ Biometric คือ การเก็บข้อมูลชีวภาพของผู้ใช้งานอย่างไรให้ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเก็บข้อมูลเหล่านั้นลงบนวัตถุ เช่น สมาร์ทโฟน เนื่องจากถ้าสมาร์ทโฟนถูกขโมย ข้อมูลรูปแบบม่านตาของเจ้าของก็อาจหลุดรอดไปยังคนอื่นได้ หรือการเก็บข้อมูล Biometric บนระบบคลาวด์ที่มีแนวโน้มว่าจะต้องมีการส่งข้อมูลผ่านหลายเซิฟเวอร์บนหลายประเทศ ก็ทำให้การป้องกันการเข้าถึงข้อมูล Biometric จากแฮ็คเกอร์ทำได้ยากมากยิ่งขึ้น

ปลอมม่านตาจากรูปภาพบน Google Images

นักวิจัยด้านความปลอดภัย Jan Krissler จาก Chaos Computer Club ให้ข้อมูลกับทาง Forbes ว่า การปลอมม่านตาของผู้ใช้กับระบบตรวจสอบม่านตาสามารถทำได้จริง ขอเพียงสามารถหารูปภาพของเป้าหมายที่มีดวงตาสุกใส มองเห็นม่านตาใหญ่กว่า 75% และเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 75 Pixels ก็สามารถปรินท์รูปม่านตาเพื่อหลอกเครื่องตรวจสอบได้อย่างไม่ยากเย็นนัก

ที่มา: http://www.iflscience.com/technology/iris-scanners-can-now-identify-us-40-feet-away


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

[โปรพิเศษรอบ Early Bird] คอร์สเรียน ‘Incident Response’ จาก Sosecure เรียนออนไลน์ เน้นลงมือจริง 3 วันเต็ม

Incident Response เป็นหนึ่งในหัวข้อหลักของแผนการที่ทุกองค์กรควรมือ คำถามคือทุกวันนี้องค์กรหรือบริษัทที่ท่านมีส่วนรวมมีแผนรับมือเหล่านี้ได้ดีเพียงใด ครอบคลุมความเสี่ยงและเคยผ่านสถานการณ์จริงมาได้ดีแค่ไหน ซึ่งหากปฏิบัติตามแผนได้ดีก็อาจจะช่วยลดผลกระทบของความเสียหายได้อย่างมีนัยสำคัญ ด้วยเหตุนี้เองจึงอยากขอเชิญชวนผู้สนใจทุกท่านมาเพิ่มพูนความรู้ในคอร์สสุดพิเศษจาก Sosecure โดยเนื้อหาจะกล่าวถึง Framework, Incident Response และ Incident Handling …

[โปรพิเศษรอบ Early Bird] คอร์สเรียน ‘Threat Hunting’ จาก Sosecure เรียนออนไลน์ เน้นลงมือจริง 3 วันเต็ม

การต่อกรกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นฝ่ายตั้งรับเท่านั้น และหากทำได้ดีเราก็สามารถลงมือตอบสนองก่อนเกิดเหตุได้เช่นกัน ยิ่งทำได้เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี ซึ่งทีม Threat Hunting มีบทบาทอย่างมากในการทำงานร่วมกับระบบ SoC ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลภัยคุกคามจากทั่วทุกมุมโลกมาช่วยตรวจจับการโจมตีที่เกิดขึ้นได้  คำถามคือแล้วในงานเหล่านี้ควรมีทักษะเกี่ยวข้องในด้านไหนบ้าง Sosecure ขอชวนผู้สนใจในสายงานด้าน Cybersecurity ที่ต้องการรู้ลึก ทำได้จริง …