รู้จัก TP-Link Auranet EAP: 802.11ac Access Point สำหรับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง

โดยทั่วไปหากนึกถึงชื่อของ TP-Link แล้วเราก็มักจะนึกถึงอุปกรณ์เครือข่ายสำหรับใช้งานตามบ้านกันเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วทาง TP-Link นั้นก็มีโซลูชันสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางเช่นกัน อย่างเช่นโซลูชันของ TP-Link Auranet EAP ซึ่งเป็น Wireless Access Point มาตรฐาน 802.11ac ที่สามารถบริหารจัดการจากศูนย์กลางได้ผ่าน Software Controller และเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าด้วย Power over Ethernet (PoE) ได้ในตัว อีกทั้งยังสามารถติดตั้ง Controller เอาไว้บน Cloud เพื่อบริหารจัดการ Access Point ในหลายๆ สาขาได้พร้อมๆ กันอีกด้วย

 

แนะนำ TP-Link Auranet EAP: Wireless Access Point รุ่นสำหรับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลางจาก TP-Link

Credit: TP-Link

 

TP-Link Auranet นี้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นโซลูชันทางด้าน Wireless Access Point สำหรับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลางโดยเฉพาะ ดังนั้นจึงมีฟีเจอร์พื้นฐานต่างๆ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพ, ความปลอดภัย และการบริหารจัดการอย่างครบถ้วน และรองรับการนำไปติดตั้งใช้งานภายในสาขาเดียวขององค์กร หรือหลายสาขาและทำการบริหารจัดการร่วมกันแบบรวมศูนย์ก็ได้เช่นกัน

ฟีเจอร์ต่างๆ ที่น่าสนใจของ TP-Link Auranet EAP มีดังนี้

  • สามารถให้บริการ Wi-Fi ตามมาตรฐาน 802.11a/b/g/n/ac ได้ และให้บริการสัญญาณเครือข่ายไร้สายได้แบบ Dual Band
  • รองรับการทำ Multiple SSID ในตัว
  • สามารถทำการเลือก Channel และกำลังส่งในการกระจายสัญญาณที่เหมาะสมที่สุดได้ด้วยตัวเอง
  • สามารถทำการ Load Balancing ผู้ใช้งานให้ไปเชื่อมต่อกับ Access Point แต่ละชุด เพื่อไม่ให้ Access Point ชุดใดชุดหนึ่งต้องรับภาระมากเกินไปได้
  • สามารถทำ Band Steering เพื่อปรับให้ผู้ใช้งานไปเชื่อมต่อในย่านความถี่ที่ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่าได้
  • สามารถทำ Rate Limit เพื่อจำกัดปริมาณ Bandwidth ในการเชื่อมต่อสำหรับผู้ใช้งานแต่ละคนได้
  • มีเทคโนโลยี Airtime Fairness ช่วยจัดสรรเวลาที่ผู้ใช้งานแต่ละคนทำการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายไร้สายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ Throughput ในการเชื่อมต่อโดยรวมสูงขึ้นได้ถึง 2.5 เท่า
  • มีเทคโนโลยี Beamforming ปรับมุมการรับส่งสัญญาณสำหรับผู้ใช้งานแต่ละคนโดยเฉพาะ ทำให้ผู้ใช้งานแต่ละคนได้รับ Throughput สูงขึ้นได้ถึง 30%
  • สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้ผ่านทาง Captive Portal, MAC Address และ 802.1X พร้อมทั้งกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งานได้
  • สามารถทำ SSID to VLAN Mapping ได้ ทำให้การออกแบบระบบเครือข่ายมีความยืดหยุ่นสูงขึ้น
  • สามารถทำ Client Isolation เพื่อป้องกันการโจมตีกันเองระหว่างผู้ใช้งานได้
  • สามารถตรวจจับ Rogue AP ภายในเครือข่ายได้
  • มีระบบ Reboot Schedule ในตัว ทำการ Reboot ตัวได้โดยอัตโนมัติเมื่อถึงเวลาที่กำหนดเอาไว้
  • รองรับการใช้งาน Power over Ethernet (PoE) ลดประเด็นปัญหาด้านการเดินสายลงไปได้

 

โดยรวมแล้วฟีเจอร์ต่างๆ เหล่านี้ก็สามารถรองรับการใช้งาน Wi-Fi ในขั้นพื้นฐานได้ระดับหนึ่งแล้ว ก็เรียกได้ว่าตัว Auranet EAP เองนี้ก็สามารถตอบโจทย์การใช้งานในองค์กรขนาดเล็กถึงขนาดกลางได้ไม่น้อยเลย

 

มี Wireless Access Point รองรับ 802.11ac ด้วยกัน 4 รุ่น เลือกใช้ได้ตามต้องการ

สำหรับ TP-Link Auranet EAP นี้มี Access Point มาตรฐาน 802.11ac ให้เลือกใช้งานด้วยกันทั้งสิ้น 4 รุ่น ดังนี้

  • EAP330 รุ่น AC1900 รองรับ 600Mbps (2.4GHz) + 1300 Mbps (5GHz) พร้อม 2x GbE, PoE, Airtime Fairness และ Beamforming
  • EAP320 รุ่น AC1200 รองรับ 300Mbps (2.4GHz) + 867 Mbps (5GHz) พร้อม 1x GbE, PoE, Airtime Fairness และ Beamforming
  • EAP245 รุ่น AC1750 รองรับ 450Mbps (2.4GHz) + 1300 Mbps (5GHz) พร้อม 1x GbE, PoE
  • EAP225 รุ่น AC1200 รองรับ 300Mbps (2.4GHz) + 867 Mbps (5GHz) พร้อม 1x GbE, PoE

 

จะเห็นได้ว่าประเด็นหลักๆ ที่แตกต่างนั้นก็คือเรื่องของประสิทธิภาพ และฟีเจอร์อย่าง Airtime Fairness และ Beamforming สำหรับใช้รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์จำนวนมากภายในพื้นที่อาคารที่มีความซับซ้อนให้สัญญาณนั้นมีคุณภาพมากขึ้นนั่นเอง

 

บริหารจัดการจากศูนย์กลางหลายสาขาพร้อมกันผ่าน EAP Software Controller ได้ฟรีๆ ทันที

Credit: TP-Link

 

ถือเป็นอีกจุดเด่นที่น่าสนใจมากของโซลูชัน TP-Link Auranet EAP เลยก็ว่าได้ เพราะชุด EAP Software Controller สำหรับทำหน้าที่บริหารจัดการ Wireless Access Point เหล่านี้ทั้งหมดนั้นแถมฟรี ทำให้องค์กรไม่ต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในส่วนของ Wireless Controller และลิขสิทธิ์ในการใช้งานแต่อย่างใด

EAP Software Controller นี้จะรองรับการบริหารจัดการ Wireless Access Point ภายในระบบเครือข่ายที่เป็น Layer 3 ได้, มีระบบ Automatic Device Discovery เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มอุปกรณ์ในอนาคต, สามารถติดตามการใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายของผู้ใช้งานแต่ละคนได้, ติดตามการทำงานของ Access Point แต่ละชุดได้ และทำการ Update Firmware ของอุปกรณ์ Access Point ทั้งหมดในระบบได้จากศูนย์กลาง

ในขณะเดียวกัน EAP Software Controller นี้ก็รองรับการบริหารจัดการ TP-Link Auranet EAP ในหลายๆ สาขาพร้อมกันได้จากศูนย์กลางอีกด้วย ดังนั้นธุรกิจที่มีสาขาอยู่เป็นจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วประเทศนั้นก็จะสามารถทำการบริหารจัดการอุปกรณ์ Wireless Access Point และแก้ไขปัญหาจากระยะไกลได้อย่างง่ายดาย ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการลงทุนระบบ Wireless Network ในรูปแบบอื่นๆ ค่อนข้างมาก

Credit: TP-Link

 

นอกจากนี้ ทาง TP-Link เองก็ยังได้มีคำแนะนำสำหรับองค์กรที่มีหลายสาขามากๆ จนต้องการจะบริหารจัดการ Wireless Access Point ในทุกๆ สาขาเหล่านั้นผ่าน Cloud เพื่อลดความซับซ้อนที่จะเกิดขึ้นในการออกแบบระบบเครือข่ายลงไปด้วย โดยในคำแนะนำนี้ทาง TP-Link ก็ได้ชี้แจงถึงวิธีการติดตั้ง EAP Software Controller บน Amazon Web Services (AWS) EC2 เอาไว้ที่ http://www.tp-link.com/us/faq-1248.html ให้ได้ศึกษาเป็นแนวทางกันฟรีๆ

Credit: TP-Link

 

ติดต่อ TP-Link ได้ทันที

ผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อทีมงาน TP-Link ได้ที่อีเมล์ marketing.th@tp-link.com, FB: www.facebook.com/tplinkth และ Line : @tplink เลยครับ


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Dahua Technology : Enabling a Safer Society and Smarter Living

ต้าหัว เทคโนโลยี ได้ขนวัตกรรมภาพและเสียงสุดล้ำ มาจัดแสดงในงาน InfoComm Asia 2023 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 – 26 พ.ค. 2023 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ …

ผลกระทบจากควอนตัมต่อระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ประเทศไทยต้องเร่งเดินหน้าแผนรับมือ [Press Release]

การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing)  การแข่งขันด้านเทคโนโลยีการคำนวณแบบใหม่ที่กำลังร้อนแรง และเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงไทยก็เกาะติดกระแสอย่างใกล้ชิด แต่นักวิจัยและนักเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์กำลังกังวลกับข้อดีข้อเสียของการคำนวณเชิงควอนตัม แม้ประโยชน์จะมีมากมาย ตั้งแต่เรื่องแมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยทางการแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการรหัสลับและระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ แต่เทคโนโลยีเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงและช่องโหว่ใหม่โดยเฉพาะความสามารถในทะลุทะลวงการเข้ารหัสยุคใหม่ซึ่งถือเป็นรากฐานของอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และอีคอมเมิร์ซ ที่เชื่อมผสานสังคมของเราเข้าด้วยกัน