Hypervisor-Based Replication: แนวคิดใหม่เหนือกว่าการสำรองข้อมูลและระบบทั่วไป ก้าวสู่การทำ Hybrid Cloud ได้อย่างเต็มตัว เตรียมความพร้อมสู่ IT Resiliency Platform

zerto_02

ทุกวันนี้เทคโนโลยีการทำ Virtualization นั้นได้กลายเป็นหนึ่งในหัวใจของ IT Infrastructure ภายในหลายๆ องค์กรไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดีถึงแม้ Virtualization จะช่วยเพิ่มความคุ้มค่าในการใช้งาน, ความง่ายในการบริหารจัดการ, ความทนทานของระบบต่างๆ และความยืดหยุ่นในการเพิ่มขยายระบบได้ในอนาคต แต่การป้องป้องข้อมูลและระบบทั้งหมดเหล่านั้นให้ได้จากการสูญหายของข้อมูลหรือภัยพิบัติทีอาจเกิดขึ้นได้กับระบบนั้นก็ยังถือเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเทคโนโลยี Hypervisor-Based Replication กันครับ

 

ปัญหาของเทคโนโลยี Replication แบบเดิมๆ

โดยทั่วไปนั้นการ Replicate ข้อมูลนั้นมักเกิดขึ้นด้วย 3 วิธีการ ซึ่งแต่ละวิธีการเองนั้นก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้

 

  1. การทำ Replicate โดยอุปกรณ์ Storage

วิธีการนี้ถือเป็นวิธีการมาตรฐานที่ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากเป็นวิธีการที่ง่าย, รองรับได้ทั้ง Environment แบบ Physical และ Virtual แต่วิธีการนี้ก็มีข้อเสียคืออุปกรณ์ Storage ทั้งฝั่งสาขาหลักและสาขาสำรองนั้นต้องเป็นยี่ห้อเดียวกันหรืออาจจะต้องเป็นรุ่นเดียวกันเลยด้วยซ้ำ อีกทั้งยังต้องทำการ Replicate ข้อมูลทั้ง LUN เสมอ ไม่สามารถเลือกเป็นราย Application หรือราย VM ได้ ในขณะที่การกู้คืนข้อมูลในระบบนั้นก็อาจไม่ประสบความสำเร็จเสมอไป

 

  1. การทำ Replicate ที่ระดับ Guest/OS

เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ได้รับความนิยมในฐานะของ Software Replication Solution ที่ทำการติดตั้ง Agent สำหรับการ Replicate ข้อมูลบนระบบปฏิบัติการโดยตรงทั้งสำหรับเครื่องที่เป็น Physical และ Virtual เพื่อทำการ Replicate ข้อมูลไปปลายทาง แต่วิธีการนี้เองก็มีข้อเสียในแง่ของความวุ่นวานในการติดตั้งที่มีความแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละระบบปฏิบัติการ รวมถึงมักมีการใช้งาน Shadow VM ทำให้เกิดความวุ่นวายในการติดตั้ง อีกทั้งยังยากต่อการบริหารจัดการการทำ Replication ทั้งหมดจากศูนย์กลางอีกด้วย

 

  1. การทำ Replicate ด้วย Appliance เฉพาะ

ผู้ผลิตบางรายนั้นมีการพัฒนา Appliance ขึ้นมาเพื่อทำการดัก IO ทั้งหมดที่เกิดขึ้นและทำการเขียนข้อมูลเหล่านี้ไปทั้งยัง Storage หลักและ Storage สำรองพร้อมๆ กัน ทำให้ไม่ต้องมีการติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงอะไรที่อุปกรณ์ Storage หรือระบบปฏิบัติการใดๆ เลยนอกจากการตั้งค่าการเชื่อมต่อ Storage ใหม่ โดยก็ยังคงมีข้อเสียที่คล้ายคลึงกับ 2 วิธีการก่อนหน้า คือไม่สามารถทำการ Replicate ข้อมูลเป็นราย VM ได้ และยากต่อการบริหารจัดการ รวมถึงมีความซับซ้อนในระบบ Storage เพิ่มมากขึ้นด้วย

 

จะเห็นได้ว่า 3 วิธีการดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นวิธีการที่ค่อนข้างเหมาะสมใน Environment แบบ Physical ที่มีระบบ Server และ Storage จำนวนไม่มากและไม่ซับซ้อน แต่ถ้าหากเป็นระบบ Virtualization ที่มี Virtual Machine จำนวนมากและมี Storage หลากหลาย การมองหาเทคโนโลยีทางออกอื่นที่เหมาะสมต่อการใช้งานก็อาจเป็นทางออกที่ดีกว่า

 

Zerto Hypervisor-Based Replication สำรองข้อมูลและระบบที่ระดับ Hypervisor ง่ายต่อระบบที่มีความหลากหลาย

Zerto เป็นผู้ผลิตที่เล็งเห็นปัญหานี้ และได้คิดค้นพัฒนาเทคโนโลยี Hypervisor-Based Replication เพื่อทำการ Replicate ข้อมูลที่ระดับของ Hypervisor แทน ทำให้ไม่ต้องวุ่นวายกับการติดตั้งที่แตกต่างกันในแต่ละระบบปฏิบัติการ สามารถเลือกทำการ Replicate สำหรับแต่ละ VM ได้อย่างอิสระ และไม่ยึดติดกับระบบ Storage รวมถึงไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง Data Path ของระบบ Virtualization อีกต่อไป ทำให้ Zertoก้าวเข้ามาสู่การเป็นผู้ผลิตโซลูชันการทำ Business Continuity และ Disaster Recovery สำหรับ Data Center ที่มีการใช้งานเทคโนโลยี Hypervisor และ Virtualization ได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ในแง่ของการบริหารจัดการ Zerto เองยังได้เพิ่มแนวคิดในการบริหารจัดการการ Replicate ข้อมูลได้แบบเป็นกลุ่มภายใต้ชื่อเทคโนโลยี Virtual Protection Group (VPG) ที่จะช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถจัดกลุ่มของ Virtual Machine ภายในระบบ เพื่อทำการ Replicate ข้อมูลภายใต้การตั้งค่ารูปแบบเดียวกันได้อย่างง่ายดาย พร้อมเสริมฟีเจอร์การทำ Offsite Backup ให้มีการสำรองข้อมูลสำหรับกู้คืนย้อนหลังได้หากต้องการ

ในภาพรวมนั้นการทำงานของ Zerto จะอาศัยองค์ประกอบด้วยกัน 2 ส่วน ได้แก่

  • Zerto Virtual Manager (ZVM) สำหรับทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อเข้ากับระบบบริหารจัดการของ Hypervisor และ Virtualization ในแต่ละค่ายเพื่อทำการบริหารจัดการการทำ Replication สำหรับ Virtual Machine (VM) บน Hypervisor แต่ละชุด และติดตามทุกการ Replicate ของข้อมูลได้แบบ Real-time
  • Virtual Replication Appliance (VRA) สำหรับติดตั้งบน Physical Host ที่ติดตั้ง Hypervisor แต่ละชุด และทำหน้าที่ในการ Replicate ข้อมูลระหว่าง Physical Host ในสาขาหลักและสาขาสำรองผ่าน WAN Link ได้อย่างง่ายดาย

 

ต่อยอดการ Replication ระบบ สู่การรองรับ Hybrid Cloud ด้วย Zerto

โดยทั่วๆ ไปแล้วการทำ Replication ที่ระดับของ Hypervisor นั้นมักเป็นการทำโดยอาศัยเทคโนโลยีของ Hypervisor เป็นหลักไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ทำให้มักมีข้อจำกัดว่าระบบ Hypervisor ที่สาขาหลักและสาขาสำรองนั้นต้องเป็นผู้ผลิตเดียวกัน แต่ Zerto นั้นกลับเลือกใช้วิธีการที่แตกต่างกันไปด้วยการพัฒนา VRA ให้สามารถทำงานได้บน Hypervisor หลากหลายค่ายทั้ง VMware vSphere และ Microsoft Hyper-V รวมถึงรองรับการทำงานได้บนระบบ Cloud อย่าง IBM Cloud, Amazon Web Services และ HPE Helion CloudSystem พร้อมเสริมด้วยความสามารถในการ Replicate ข้อมูลข้ามค่ายของ Hypervisor และ Cloud Infrastructure ได้อย่างอิสระ ทำให้ทางเลือกสำหรับสาขาสำรองขององค์กรนั้นมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และยังมีความคล่องตัวสูง พร้อมเปลี่ยนแปลง IT Infrastructure ได้ทันทีตามความต้องการและความคุ้มค่าขององค์กร

 

Zerto Virtual Replication 5.0 รองรับทุกการ Replicate สำหรับ Hybrid Cloud

Zerto ได้เพิ่งประกาศเปิดตัว Zerto Virtual Replication 5.0 (ZVR 5.0) ที่ได้เสริมความสามารถใหม่ๆ ในการ Replicate ข้อมูลระหว่าง Virtual Machine ได้อย่างอิสระยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการ Replicate ข้อมูลภายใน Data Center เดียวกัน หรือ Replicate ข้อมูลระหว่าง Data Center หรือ Cloud ก็ตาม พร้อมตอบโจทย์การใช้งานระดับองค์กรทั้งการใช้งานภายในและการให้บริการได้แบบ Disaster Recovery as a Service ด้วยฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจดังนี้

  • Replicate and Recovery to Microsoft Azureรองรับการทำงานร่วมกับ Microsoft Azure อย่างเต็มตัวแล้ว
  • One-to-Many Replicationสามารถทำการ Replicate VM หนึ่งๆ ไปยังหลายๆ ปลายทางพร้อมๆ กันได้ เพิ่มความทนทานให้แก่ระบบและเพิ่มทางเลือกในการกู้คืนระบบต่างๆ ได้ตามต้องการ
  • Zerto Mobileสามารถตรวจสอบการทำงานของ ZVM, VPG และข้อมูลการแจ้งเตือนต่างๆ ได้บนทั้ง Android และ iOS
  • 30-Day Journal Historyเพิ่มระยะการกู้คืนข้อมูลย้อนหลังผ่าน Journal History ได้นานถึง 30 วัน จากเดิมที่รองรับเพียง 14 วัน
  • Improved Synchronizationรองรับการทำ Parallelize Synchronization ภายใน Disk แต่ละลูกได้ ทำให้สามารถ Synchronize ข้อมูลได้เร็วขึ้นถึง 50% เลยทีเดียว

zerto_01

 

พบกับ Zerto ได้ในงาน CDIC 2016 ที่ บูธ A03 และ G17 ณ ไบเทค บางนา ในวันที่ 12-13 ตุลาคมนี้ เรามีทีมผู้เชียวชาญจาก Zerto และ Sysware ที่พร้อมแนะนำและให้คำปรึกษา พร้อมนัดคุยกับ Vendor ได้โดยตรง และรับชม Demo ในงานได้ทันที และร่วมสนุกกับ Sysware เพื่อลุ้นรับของรางวัลมากมาย

ติดตามกิจกรรมและความรู้ได้ที่ https://www.facebook.com/sysware.thailand/

sysware_zerto_logo_2

ผู้ที่สนใจเทคโนโลยีการทำ Replication ของ Zerto สามารถติดต่อทีมงาน Sysware Thailand เพื่อรับคำปรึกษาหรือขอทดสอบระบบได้ทันทีที่โทร 02-938-4201-2 ติดต่อ คุณ ชวพร (พลอย) หรืออีเมล์ zerto@sysware.asia หรือเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ Sysware Thailand ได้ทันทีที่ http://www.syswarethailand.com/

 

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ IT Resiliency

ผู้ที่สนใจการทำ IT Resiliency ให้แก่ Data Center ขององค์กรและต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม สามารถกรอกแบบฟอร์มดังต่อไปนี้เพื่อโหลดเอกสารได้ทันที

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Meta เผยแผนเล็งใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพสำหรับดาต้าเซนเตอร์

เป็นที่รู้กันว่าการประมวลผลด้าน AI ต้องการพลังงานสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์อย่างมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่ง Meta เองเป็นหนึ่งในผู้เล่นด้าน AI ยักษ์ใหญ่ที่ประสบปัญหาเหล่านี้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้จึงต้องมองหาพลังงานทางเลือกที่ยังต้องสอดคล้องต่อเรื่องอัตราการปลดปล่อยคาร์บอน โดยล่าสุดแนวทางการใช้ความร้อนใต้พิภพเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจและใกล้เข้ามาเรื่อยๆแล้ว

โอกาสของคุณมาถึงแล้ว!!! หากคุณคือสุดยอดนักนวัตกรรมประกันภัย ที่มีไอเดียสร้างสรรค์ และอยากพิชิตรางวัลระดับประเทศ…

OIC InsurTech Award 2024 เปิดรับสมัคร สตาร์ทอัพ นักประกันภัยรุ่นใหม่ นักเรียน นิสิต นักศึกษา เข้าร่วมการประกวดสุดยอดนวัตกรรมด้านการประกันภัย บนเวทีสุดยิ่งใหญ่แห่งปี ในหัวข้อ “Limitless Insurance …