หลุดข้อมูล Intel Xeon รุ่นถัดไปจะรองรับ Memory ได้มากถึง 3.84TB ต่อ Socket

มีข้อมูลหลุดมาว่าหน่วยประมวลผลตระกูลถัดไปสำหรับ Server ของ Intel อย่าง Intel Cascade Lake นั้น จะสามารถรองรับหน่วยความจำได้มากถึง 3.84TB ต่อ Socket เลยทีเดียว ด้วยการอาศัยการผสานหน่วยความจำระหว่าง DDR4 และ Intel Optane

 

Credit: https://www.anandtech.com/show/13059/intels-upcoming-cascade-lake-cpus-to-support-384-tb-of-memory

 

จากเอกสารที่หลุดมาจาก QCT ผู้ผลิต Server รายใหญ่รายหนึ่งนั้น ได้แสดงให้เห็นถึงสเป็คของ Server ที่ใช้ Intel Xeon รุ่นใหม่ที่จะรองรับการใช้งาน RAM แบบ 128GB DDR4 DIMM ถึง 6 ชุด และ Intel Optane ขนาด 512GB อีก 6 ชุดต่อ CPU 1 Socket รวมเป็นหน่วยความจำทั้งสิ้น 3.84TB ต่อ Socket เลยทีเดียว

ข้อมูลที่หลุดออกมานี้ก็ถือว่าตรงกับแนวทางของ Intel ที่ต้องการให้ Intel Optane ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำเพิ่มเติมเสริมจาก RAM ด้วยความจุที่สูงกว่าและราคาที่คุ้มค่ากว่า สำหรับรองรับ Application ที่ต้องการหน่วยความจำหรือความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่ที่สูงยิ่งขึ้น ซึ่งตอนนี้เองก็ยังไม่ได้มีข้อมูลด้านตัวเลขราคาหรือสเป็คของตัว CPU โดยตรงหลุดออกมาด้วย แต่ก็ถือว่าเป็นข้อมูลที่น่าสนใจทีเดียวที่ Intel จะเริ่มผลักดัน Intel Optane ในตลาดอย่างเต็มตัว

 

ที่มา: https://www.anandtech.com/show/13059/intels-upcoming-cascade-lake-cpus-to-support-384-tb-of-memory


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เปิดตัว Panduit TX6A Vari-Matrix HD สาย Cat 6A UTP ขนาดเล็กที่สุดในโลก รองรับ 1-10GbE และ PoE++ ป้องกันสัญญาณรบกวนได้เหนือกว่ามาตรฐาน

ในปี 2023 นี้ถือเป็นปีที่น่าสนใจสำหรับวงการสายสัญญาณเครือข่าย เพราะผู้ผลิตทุกรายต่างเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาแข่งขันกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็วของ Ethernet ที่เพิ่มขึ้น, การรองรับอุปกรณ์ IoT ให้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไปจนถึงการตอบรับต่อประเด็นด้านความยั่งยืนหรือ Sustainability

ผลกระทบจากควอนตัมต่อระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ประเทศไทยต้องเร่งเดินหน้าแผนรับมือ [Press Release]

การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing)  การแข่งขันด้านเทคโนโลยีการคำนวณแบบใหม่ที่กำลังร้อนแรง และเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงไทยก็เกาะติดกระแสอย่างใกล้ชิด แต่นักวิจัยและนักเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์กำลังกังวลกับข้อดีข้อเสียของการคำนวณเชิงควอนตัม แม้ประโยชน์จะมีมากมาย ตั้งแต่เรื่องแมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยทางการแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการรหัสลับและระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ แต่เทคโนโลยีเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงและช่องโหว่ใหม่โดยเฉพาะความสามารถในทะลุทะลวงการเข้ารหัสยุคใหม่ซึ่งถือเป็นรากฐานของอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และอีคอมเมิร์ซ ที่เชื่อมผสานสังคมของเราเข้าด้วยกัน