CDIC 2023

[Guest Post] ‘หัวเว่ย คลาวด์’ ครองตำแหน่งผู้ให้บริการคลาวด์ที่เติบโตเร็วที่สุดในเอเชียแปซิฟิก

สิงคโปร์, 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 – การประชุม Asia-Pacific Digital Innovation Congress 2022 เปิดฉากขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อเร็วๆ นี้ โดยหัวเว่ย จับมือมูลนิธิอาเซียน ทำงานร่วมกับลูกค้า ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และนักวิเคราะห์เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์และทิศทางในอนาคตสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลและนวัตกรรมอุตสาหกรรม โดยมี แจ็กเกอลีน ซือ ประธานฝ่ายการตลาดและการขายระหว่างประเทศของหัวเว่ย คลาวด์ กล่าวปาฐกถาพิเศษระหว่างฟอรัมการประชุมหัวข้อ ‘บริการคลาวด์’

ไอดีซี (IDC – International Data Corporation) คาดการณ์มูลค่าตลาดคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ทั่วโลกไว้ถึง 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าตลาดในประเทศจีนจะสูงกว่า 1 ล้านล้านหยวน ตลาดคลาวด์คอมพิวติ้งกำลังมุ่งสู่ระยะที่สองของนวัตกรรมและการพัฒนาระบบ โดยมีบทบาทมากขึ้นในการกำหนดอนาคตของอุตสาหกรรม ไอที และอาจครองตำแหน่งผู้นำในอนาคต ระบบคลาวด์เป็นรากฐานสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบขององค์กร นวัตกรรมธุรกิจและผลลัพธ์ทางธุรกิจขององค์กรก็ขึ้นอยู่กับการพัฒนาที่รวดเร็วและการนำเทคโนโลยีและการบริการอันทันสมัยมาใช้ทุกที่ทุกเวลา

องค์กรต่าง ๆ เริ่มใช้ระบบดิจิทัลและหันมาใช้ระบบคลาวด์อย่างรวดเร็วหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญให้องค์กรเข้าสู่ระบบคลาวดิฟิเคชั่นภายใน 1-3 ปี ช่วยผลักดันการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระดับที่สูงขึ้น การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังผลักดันความต้องการที่สูงขึ้นด้านออฟฟิศออนไลน์ ทรัพยากรไอทีที่ยืดหยุ่น การจัดการไซโลข้อมูล การลดต้นทุนและการปรับปรุงประสิทธิภาพองค์กร ระบบคลาวดิฟิเคชั่นและการทำงานร่วมกันผ่านช่องทางออนไลน์จึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อองค์กรหันมาใช้ระบบคลาวด์เพิ่มขึ้น ก็ส่งผลให้บุคลากรพัฒนามุมมองเกี่ยวกับคลาวด์และสร้างความคุ้นเคยในการใช้ระบบคลาวด์

เพื่อตอบสนองเทรนด์ดังกล่าว หัวเว่ย คลาวด์เปิดตัวกลยุทธ์ ‘มุ่งสู่ยุคดิจิทัลด้วยนวัตกรรมบริการรอบด้าน’ หรือ ‘Dive into digital with Everything as a Service’ ในปีพ.ศ. 2564 ซึ่ง ‘Everything’ รวมถึงวิสัยทัศน์และความเข้าใจในอุตสาหกรรมของหัวเว่ย เมื่อพูดถึงบริการคลาวด์ในอดีต คนส่วนใหญ่จะรู้จัก IaaS, PaaS และ SaaS ผ่านมุมมองของ ผู้ให้บริการเทคโนโลยี แต่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ได้ต้องการแค่เทคโนโลยีและทรัพยากรเท่านั้น แต่ยังต้องการประสบการณ์การใช้งาน บริการ แนวคิดและทุกอย่างที่สามารถแบ่งปันได้

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้รับความไว้วางใจอย่างมากจากลูกค้าและคู่ค้าในกลุ่มตลาดผู้ให้บริการและลูกค้าองค์กร ด้วยหลักการ ‘การบริการดี ด้วยคุณภาพดี และตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็ว พร้อมนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า และความร่วมมือกับพันธมิตรในอีโคซิสเต็มด้วยสถานการณ์ win-win’ หัวเว่ย คลาวด์ยึดถือค่านิยมและกลยุทธ์ทางธุรกิจแบบเดียวกัน ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการให้บริการคลาวด์ที่น่าเชื่อถือด้วยเทคโนโลยีทันสมัยในพันธกิจ ‘ในเอเชียแปซิฟิก เพื่อเอเชียแปซิฟิก’ หรือ ‘in Asia-Pacific, for Asia-Pacific’

ระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ นายเจิง ซิงหยุน ประธานหัวเว่ย คลาวด์ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เผยการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจหัวเว่ย คลาวด์ ในปีพ.ศ. 2564 และความได้เปรียบในด้านบริการที่สอดคล้องกับตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

นายเจิงชี้ให้เห็นว่า “เราใช้ 6 กลยุทธ์สำคัญของหัวเว่ย คลาวด์ในเอเชียแปซิฟิก ในแง่กลยุทธ์ด้านอุตสาหกรรม เรามุ่งเน้นที่ ‘บริการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure as a Service), บริการเทคโนโลยี (Technology as a Service) เพื่อสร้างรูปแบบธุรกิจที่ win-win กับคู่ค้าในอีโคซิสเต็ม (win-win with ecosystem partners)’ เพื่อปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันของหัวเว่ย คลาวด์อย่างต่อเนื่อง ในแง่กลยุทธ์การตลาด เราเน้นการ ‘มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล, เพิ่มความเร็วคลาวด์เนทีฟ (could native) และสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจ รวมถึงการสร้างบริการสำหรับลูกค้ากลุ่มธุรกิจที่เหนือระดับ’ เพื่อสร้างคุณค่าให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง”

นางเมิ่ง หว่านโจว ประธานกรรมการบริหารแบบหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย กล่าวในการแถลงรายงานประจำปีพ.ศ. 2564 ของหัวเว่ยว่า “รายได้จากหัวเว่ย คลาวด์ในปีพ.ศ. 2564 เพิ่มขึ้นกว่า 30% เมื่อเทียบกับปีพ.ศ. 2563 นอกจากนี้หัวเว่ย คลาวด์ยังครองอันดับสองของผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure as a Service – IaaS) ในประเทศจีนและครองอันดับห้าของโลก ในปีพ.ศ. 2564 เราได้ประกาศกลยุทธ์ ‘นวัตกรรมบริการรอบด้าน’ สำหรับหัวเว่ย คลาวด์ และมุ่งดำเนินการตาม  กลยุทธ์ดังกล่าวในปี พ.ศ. 2565 ด้วยการเปิดศูนย์ข้อมูลและบริการเร่งความเร็วเครือข่ายทั่วโลก เพื่อมอบประสบการณ์ที่เหนือชั้นให้ลูกค้าของเรา” นายกัว ผิง อดีตประธานกรรมการบริหารแบบหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย กล่าวเสริมว่า “ปัจจุบันหัวเว่ย คลาวด์ เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”

หัวเว่ย คลาวด์ดำเนินธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 หลังจากพัฒนามาเป็นเวลาสี่ปี หัวเว่ย คลาวด์ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ในประเทศจีน อันดับ 3 ในประเทศไทยและอันดับ 4 ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และยังเป็นบริษัทที่เติบโตเร็วที่สุดในกลุ่มผู้นำด้านบริการคลาวด์ 5 แห่งในภูมิภาค หัวเว่ย คลาวด์ (HUAWEI CLOUD Region) เปิดตัวในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน) สิงคโปร์ ประเทศไทยและมาเลเซีย และในปีนี้มีแผนเปิดตัวในประเทศอินโดนีเซียพร้อมจุดเชื่อมต่อที่สามารถต่อยอดการใช้งานในฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้อีกด้วย

ตามการคาดการณ์ ลูกค้าหลักของหัวเว่ย คลาวด์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเพิ่มขึ้น 156% และจำนวนพันธมิตรในอีโคซิสเต็มจะเพิ่มขึ้นถึง 90% ในปีพ.ศ. 2564 และที่น่าตื่นเต้นกว่านั้นคือรายได้ของพันธมิตรจะเพิ่มขึ้นถึง 150% ซึ่งสูงกว่ารายได้ของหัวเว่ย คลาวด์

ในปีพ.ศ. 2565 หัวเว่ยวางแผนเปิดตัวบริการใหม่ อาทิ บริการเร่งความเร็วเครือข่ายทั่วโลก (GA), บริการเสียงและวิดีโอแบบเรียลไทม์ (SparkRTC), สายการผลิตด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ (DevCloud) และฐานข้อมูลแบบ GaussDB (สำหรับ openGauss) ในตลาดเอเชียแปซิฟิกเพื่อปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันของโซลูชันคลาวด์ในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันหัวเว่ย คลาวด์เปิดใช้ Availability Zone (AZ) กว่า 11 โซน ให้พร้อมใช้งานในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน) ประเทศไทยและสิงคโปร์ เพื่อให้บริการคลาวด์ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้สำหรับผู้ใช้ในเอเชียแปซิฟิก พร้อมจัดตั้งทีมบริการในพื้นที่มากกว่า 10 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

หัวเว่ย คลาวด์ เป็นผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะบนเมนสตรีมที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเป็นพันธมิตรในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลสำหรับองค์กรหลายพันแห่ง นับตั้งแต่การเปิดตัวโปรแกรม Spark (Spark Program) หัวเว่ย คลาวด์กลายเป็นผู้นำอีโคซิสเต็มสตาร์ตอัพระดับภูมิภาคอย่างรวดเร็ว หัวเว่ย คลาวด์วางแผนลงทุน 100 ล้านเหรียญสหรัฐในโครงการนี้ตลอด 3 ปีข้างหน้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อส่งเสริมระบบนิเวศ สตาร์ทอัพระดับภูมิภาคต่อไป

# # #

เกี่ยวกับหัวเว่ย 

หัวเว่ย ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และสมาร์ทดีไวซ์ ด้วยโซลูชั่นที่ผสมผสานในสี่กลุ่มหลัก คือ เครือข่ายโทรคมนาคม, ไอที, สมาร์ทดีไวซ์ และบริการคลาวด์ บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อน โลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ โซลูชั่นและบริการที่ครบวงจรของหัวเว่ยเปี่ยมด้วยศักยภาพด้านการแข่งขันและเชื่อถือได้ จากการทำงานร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศแบบเปิด หัวเว่ยสามารถสร้างมูลค่าระยะยาวให้กับลูกค้า เสริมสมรรถนะของผู้คน ช่วยให้การใช้ชีวิตที่บ้านมีความสะดวกสบาย และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร ทุกรูปแบบและทุกขนาด

นวัตกรรมของหัวเว่ยเน้นตอบสนองตามความต้องการของลูกค้า เราทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลในด้านการวิจัย เน้นค้นหานวัตกรรมด้านเทคนิคใหม่ ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนโลกของเราให้ก้าวไปข้างหน้า เรามีพนักงานกว่า 194,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า 170 ประเทศ
ทั่วโลก หัวเว่ยก่อตั้งขึ้นในปี 2530 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด  

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ย ได้ที่ www.huawei.com 


About Pawarit Sornin

- จบการศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต - เคยทำงานด้าน Business Development / Project Manager / Product Sales ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Wireless Networking และ Mobility Enterprise ในประเทศ - ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Microsoft ประกาศเพิ่ม Copilot ลงใน Windows 11

Microsoft ได้ประกาศเพิ่ม Copilot ระบบ AI Chatbot ลงใน Windows 11

Cisco ประกาศเข้าซื้อกิจการ Splunk ด้วยมูลค่า 2.8 หมื่นล้านเหรียญ

Cisco ประกาศเข้าซื้อกิจการ Splunk ด้วยมูลค่า 2.8 หมื่นล้านเหรียญ