Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

บทสัมภาษณ์ เมื่อนำ Data Science มาใช้กับ Network Analytics จะช่วยแก้ปัญหาอะไรในเครือข่ายได้บ้าง #ATM17APAC

ในงาน Atmosphere 2017 ทางทีมงาน TechTalkThai มีโอกาสได้สัมภาษณ์คุณ Partho Mishra ผู้ก่อตั้งของ RASA Networks ซึ่งถูก HPE Aruba เข้าซื้อกิจการ และพัฒนาผลิตภัณฑ์จนกลายเป็น Aruba NetInsight ระบบ Network Analytics-as-a-Service ที่ใช้ Machine Learning คอยช่วยวิเคราะห์ข้อมูลระบบเครือข่ายให้จากบน Cloud เพื่อสร้างแนวทางใหม่ๆ ในการบริหารจัดการระบบ Network ภายในองค์กรขึ้นมา จึงขอนำเนื้อหามาสรุปให้ทุกท่านได้อ่านกันดังนี้ครับ #ATM17APAC

 

HPE Aruba เข้าซื้อ RASA Networks ช่วยเติมเต็มการเติบโตของกันและกัน

ก่อนหน้านี้ RASA Networks เป็นบริษัท Startup ทางด้าน Network Analytics ที่มี Big Data และ Machine Learning เป็นเทคโนโลยีเบื้องหลัง โดยในทีมประกอบไปด้วยเหล่า Data Scientist จำนวน 23 คน และเจ้าหน้าที่อีก 1 คนที่คอยดูแลทุกเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางเทคนิคทั้งหมด จนกระทั่งถูก HPE Aruba เข้าซื้อกิจการไปเมื่อปี 2016 ที่ผ่านมา และพัฒนาผลิตภัณฑ์จนเปิดตัวมาเป็น HPE Aruba NetInsight ในปี 2017 นี้เอง

การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ถือเป็นประโยชน์กับทั้งทาง HPE Aruba ที่ได้ครอบครองเทคโนโลยี Machine Learning สำหรับการทำ Network Analytics บน Cloud เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นๆ เอาไว้ในมือ ในขณะที่ RASA Networks เองก็สามารถเริ่มขยายธุรกิจให้เติบโตต่อไปได้ ด้วยการนำข้อมูลการใช้งานระบบเครือข่ายจริงจาก HPE Aruba ที่มีฐานลูกค้าอยู่ทั่วโลกมาทำการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตนให้ตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้ามากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้เทคโนโลยีของ RASA Networks สามารถเข้าถึงลูกค้าองค์กรจำนวนมากทั่วโลกได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ในเบื้องต้นนี้เทคโนโลยีของ RASA Networks ที่กลายมาเป็น Aruba NetInsight จะเริ่มต้นจากการรองรับข้อมูลจากอุปกรณ์เครือข่ายของ HPE Aruba, ระบบอื่นๆ ที่จำเป็นกับเครือข่ายอย่าง Microsoft Active Diractory, LDAP, RADIUS และระบบอื่นๆ อีกเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากผลิตภัณฑ์นั้นต้องการ Data Source จากแหล่งที่มีคุณภาพและควบคุมได้ ซึ่งปัจจุบันนี้ทาง HPE Aruba เองก็ยังมีการปรับปรุงทั้งฝั่งของ Aruba NetInsight ให้มี Machine Learning Model ใหม่ๆ ที่มีประโยชน์มากขึ้น ในขณะที่ทีมพัฒนาอุปกรณ์เครือ่ข่ายของ HPE Aruba เองก็ต้องพัฒนาให้ระบบสามารถส่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปวิเคราะห์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในอนาคต การที่ Aruba NetInsight จะรองรับการวิเคราะห์ข้อมูลเครือข่ายจากผู้ผลิตรายอื่นได้หรือไม่นั้นก็ยังเป็นเรื่องที่ตอบไม่ได้ในตอนนี้ เพราะการที่จะเกิดภาพเหล่านั้นได้ผู้ผลิตรายอื่นต้องมีการส่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเวิคราะห์ให้ครบถ้วน ซึ่งประเด็นนี้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างเหล่าผู้ผลิตเทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่เป็นคู่แข่งกัน

 

Machine Learning ช่วยตอบปัญหาคลาสสิคของผู้ใช้งาน “ทำไม Network ถึงช้า?”

ที่ผ่านมาปัญหาที่เหล่าผู้ดูแลระบบในองค์กร “ทั่วโลก” มักจะพบเจอก็คือการที่ผู้ใช้งานนั้นรายงานมาว่า Application ที่ตนเองใช้งานเป็นประจำนั้นอยู่ๆ ก็ทำงานได้ช้า และโทษว่า Network มีปัญหาอยู่เสมอ Aruba NetInsight นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้เพื่อช่วยปรับปรุงให้ประสบการณ์การเชื่อมต่อและใช้งานระบบเครือข่ายของผู้ใช้งานภายในองค์กรดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และทำให้เหล่าผู้ดูแลระบบสามารถทำงานได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้นด้วยข้อมูลและผลการวิเคราะห์สำหรับใช้ประกอบการทำงาน

สองสิ่งที่ทำให้ Aruba NetInsight นั้นมีความโดดเด่น ก็คือการรวมข้อมูลจาก Data Source หลากหลายแหล่งที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบ Network ไว้ด้วยกัน ทำให้เกิดเป็น Big Data สำหรับใช้วิเคราะห์การทำงานของ Network และแก้ไขปัญหาได้อย่างง่ายดายจากการทำ Data Visualization ในหลากหลายรูปแบบ ในขณะที่ Machine Learning Model ที่ได้ทำการเรียนรู้และฝึกฝนจากข้อมูลทั่วโลกนี้ก็สามารถช่วยวิเคราะห์ปัญหาพร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายใน Network ให้โดยอัตโนมัตินั่นเอง

Credit: HPE Aruba

 

ในการตอบปัญหาว่า “ทำไม Network ถึงช้า?” นั้นผู้ดูแลระบบจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วนจึงจะทำการตอบได้ เพราะลูกค้าผู้ใช้งานนั้นไม่สามารถรวบรวมข้อมูลมาให้ผู้ดูแลระบบแก้ไขปัญหาได้อยู่แล้ว ซึ่ง Aruba NetInsight ที่ได้ทำการรวบรวมข้อมูลของระบบเครือข่ายอย่างต่อเนื่องในหลากหลายแง่มุมนี้ก็สามารถช่วยในส่วนนี้ได้

สิ่งที่ทีม Aruba NetInsight พบในการทำงานจริงนั้นก็คือ หลายๆ ครั้งการที่ผู้ใช้งานบ่นว่า Network ช้านั้น แท้จริงแล้วไม่ได้มีต้นเหตุมาจากการที่ระบบเครือข่ายมีปัญหา ่แต่เป็นอุปกรณ์ของผู้ใช้งาน, พฤติกรรมของผู้ใช้งาน, Application ของผู้ใช้งาน หรือแม้แต่ Internet ภายนอกต่างหากที่มีปัญหา เช่น การที่ผู้ใช้งานใส่รหัสผ่านผิดโดยไม่รู้ตัวและเกิดการยืนยันตัวตนจำนวนมากจนระบบจัดการ Quarantine ผู้ใช้งาน, การที่ผู้ใช้งานติด Malware และพยายามโจมตีเครือข่าย, การที่ผู้ใช้งานมีการเปิดโปรแกรมที่เชื่อมต่อไปยังเครือข่ายภายนอกและทำการโหลดข้อมูลจำนวนมหาศาล และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งการที่มี้อมูลมหาศาลที่คัดกรองออกมาโดยอัตโนมัติและรายงานทุกปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับผู้ดูแลระบบเห็นอยู่ตลอดนี้เองก็จะสามารถช่วยตอบคำถามนี้ของผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน

ในอนาคตทีมงาน Aruba NetInsight เองนี้ก็จะพยายามดึงข้อมูลในส่วนของ Application ที่ผู้ใช้งานใช้มาทำการวิเคราะห์ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้การตอบปัญหานี้สามารถทำได้ถึงในระดับ Application เลย เช่น Application ใดทำให้ช้า หรือเฉพาะบางฟังก์ชันใดที่มีปัญหา เป็นต้น

 

Data Visualization ช่วยพลิกโลกการลงทุนระบบ IT ในองค์กรให้คุ้มค่ายิ่งขึ้น

อีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจมากคือการนำ Data Visualization มาช่วยให้การวิเคราะห์ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นไปพร้อมๆ กับการช่วยให้การตัดสินใจลงทุนขยายระบบเครือข่ายนั้นเป็นไปได้อย่างแม่นยำและตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันในสหรัฐอเมริกา 6 มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ได้มีการใช้งาน Aruba NetInsight จริงแล้ว ทำให้ทางทีมงานได้มี Use Case ที่น่าสนใจมาแบ่งปันกันไม่น้อยทีเดียว เพราะระบบเครือข่ายในมหาวิทยาลัยนี้ถือเป็นระบบเครือข่ายที่มีการใช้งานหลากหลาย การใช้งานในห้องเรียน, ในห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ และในหอพักของนักศึกษานั้นมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

ตัวอย่างหนี่งที่ Aruba NetInsight สามารถทำ Data Visualization ให้เป็นประโยชน์ได้ คือการแสดงข้อมูลของจำนวนผู้ใช้งานและ Bandwidth รวมที่ผู้ใช้งานใช้ในแต่ละอาคาร ด้วยแผนผังที่แสดงข้อมูลลักษณะนี้ก็อาจทำให้ผู้ดูแลระบบพบปัญหาที่น่าสนใจ เช่น อาคารหนึ่งมีผู้ใช้งานเพียง 1 คน แต่กลับกิน Bandiwidth มากกว่าอาคารที่กำลังมีผู้ใช้งานพร้อมๆ กัน 100 คน เป็นต้น

อีกตัวอย่างหนึ่งคือการแสดงปริมาณ Bandwidth ที่เกิดขึ้นในแต่ละอาคารตามช่วงเวลา แผนผังนี้จะช่วยให้เหล่าผู้ดูและระบบและผู้จัดการทางด้าน IT มองเห็นว่าการใช้งานระบบเครือข่ายในแต่ละอาคารมีความคุ้มค่ามากน้อยเพียงใด และสามารถกำหนดนโยบายเปิดปิดไฟหรืออุปกรณ์เครือข่ายในแต่ละอาคารตามช่วงเวลาใดเพื่อประหยัดไฟให้กับองค์กรได้บ้าง หรือในอนาคตจะต้องมีการลงทุนระบบในอาคารใดเพิ่ม หรือย้ายอุปกรณ์จากอาคารใดไปใช้ในอาคารใดแทนเพื่อความคุ้มค่าที่สูงชึ้น เป็นต้น

การแสดงผลในลักษณะนี้จะช่วยสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหาและการลงทุนให้กับเหล่าผู้ดูแลระบบ IT และผู้บริหารทางด้าน IT ได้เป็นอย่างดี และถัดจากนี้ไปเหล่าผู้ผลิตระบบเครือข่ายก็จะเริ่มาแข่งขันกันในสนามนี้แทน

 

เมื่อเงินอยู่ในรูปแบบ Digital ระบบเครือข่ายก็กลายเป็นช่องทางการจ่ายเงินของลูกค้า

ประเด็นหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเล่าถึงก็คือเหล่าธุรกิจ Retail หรือค้าปลีก ที่ต่อไปจะเริ่มมีการโอนเงินจ่ายเงินในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลายกันมากขึ้น และระบบเครือข่ายที่จะช่วยให้ลูกค้าหรือร้านค้าสามารถทำธุรกรรมได้นี้เองก็จะกลายเป็นช่องทางสำคัญของการรับและจ่ายเงินในอนาคต การที่ระบบเครือข่ายไม่สามารถทำงานได้แม้เพียงชั่วขณะในร้านค้านั้นอาจหมายถึงการสูญเสียโอกาสการขายหรือสูญเสียลูกค้าไปเลย ในยุค Digital แบบนี้ความเสถียรของระบบเครือข่ายจะยิ่งทวีความสำคัญสูงขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นอย่างมาก

 

การตั้งคำถามให้ดี: ก้าวแรกของ IT Administrator สู่การแก้ปัญหาด้านระบบ IT ด้วย Big Data

คุณ Partho Mishra ได้ทิ้งท้ายถึงประเด็นที่น่าสนใจเอาไว้ว่า เหล่า IT Administrator ถัดจากนี้อาจต้องเริ่มมีมุมมองของ Data Scientist อยู่บ้าง เพื่อให้สามารถทำการตั้งคำถามเพื่อดึงคำตอบออกมาจากข้อมูล Big Data ได้อย่างถูกต้อง และสร้างสรรค์วิธีการนำข้อมูลทางด้าน Network มาใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือวางแผนการลงทุนระบบ IT ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เอชพี เปิดตัวพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AI PCs [PR]

เอชพี เปิดตัวพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AI PCs ขับเคลื่อน ด้วยขุมพลัง AI ยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน การสร้างสรรค์ และประสบการณ์ของผู้ใช้ในสภาพแวดล้อม การทำงานแบบไฮบริด

Microsoft ยกเลิกการใช้ 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว

Microsoft ประกาศยกเลิกการใช้กุญแจเข้ารหัส 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว เปลี่ยนไปใช้กุญแจเข้ารหัสความยาว 2048-bit เป็นอย่างน้อย