ดร.มารุต มณีสถิตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และพม่า บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด หรือ HDS กล่าวว่า ปัจจุบันการทำธุรกิจกำลังเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่มีการพัฒนาระบบการสื่อสารเป็นยุค 4G ที่เพิ่มขีดความสามารถในการส่งผ่าน และรับข้อมูลต่าง ๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว ประกอบกับเทคโนโลยีที่เร่งการเปลี่ยนแปลงอย่าง Internet of Things ( IOT ) หรืออุปกรณ์ทุกชนิดที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 โดยไอดีซีคาดว่าในอีก 4 ปีข้างหน้า ตลาด IOT จะเพิ่มขึ้น 160% ซึ่งมีมูลค่า 1.7 ล้านล้าน ( trillion ) ดอลลาร์สหรัฐ
การเข้ามาของ 4G และ IOT จะเป็นการเปิดโลก ความเร็วของข้อมูล, mobility, และ โอกาสทางเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ ๆ เช่น เทคโนโลยีการเชื่อมต่อข้อมูลจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ไม่ใช่แต่เพียงอุปกรณ์มือถือ สมาร์ทโฟน เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงภาพและเสียงจากอุปกรณ์ หรือเซ็นเซอร์อื่น ๆ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้ในเชิงธุรกิจ, การเกิดใหม่ของซอฟต์แวร์และบริการใหม่ ๆ ที่รองรับกับเทคโนโลยี 4G, การรองรับคลื่นหลาย ๆ ความถี่เน็ตเวิร์คให้สามารถทำงานพร้อมกันได้ แต่ในอีกแง่มุม ความท้าทายของข้อมูล big data ก็เพิ่มมากขึ้น ทั้งขนาด ( Volume ), ความเร็ว ( Velocity ), ความหลากหลาย ( Variety ), ความถูกต้อง ( Veracity ), และคุณค่าของข้อมูลที่สามารถนำมาใช้งานได้จริง ( Value ) อีกทั้งการรักษาความปลอดภัยจากการเข้ามาของข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง
ในภาคธุรกิจโทรคมนาคมนั้น เดิมจะเป็นข้อมูลแบบดั้งเดิม หรือข้อมูลที่มีโครงสร้าง ( Structure Data ) อาทิเช่น ระบบ ERP ข้อมูลการแจ้งหนี้ การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ฐานลูกค้า ระบบข้อมูลจัดเก็บจากโทรศัพท์ แต่ 4G และ IOT จะทำให้เกิดข้อมูลยุคใหม่ ที่เป็นแบบข้อมูลกึ่งมีโครงสร้าง ( Semi Structure Data ) และไม่มีโครงสร้าง ( Unstructured Data ) เช่น ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้าในการเข้าชมเว็บไซต์, server logs, security logs, ข้อมูลระบบเครือข่าย, ระบบ sensor, กล้อง CCTV ต่าง ๆ , ระบบการซื้อขาย, ข้อมูลโซเชียลมีเดีย, ข้อมูลข้อความเสียง, ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งธุรกิจที่มีแนวโน้มจะใช้ประโยชน์จาก 4G มากที่สุดได้แก่ ธุรกิจค้าปลีกรวมถึงการเงินการธนาคาร สาธารณสุข ภาคการขนส่ง1 โดยธุรกิจโทรคมนาคมคือผู้ให้บริการเครือข่าย ที่อยู่เบื้องหลังทำหน้าที่สนับสนุนระบบที่จะต้องบริหารจัดการ big data ที่วิ่งเข้ามาในระบบโทรคมนาคมมากขึ้น ๆ
ความต้องการของธุรกิจนั้นคือการใช้ประโยชน์จาก big data มหาศาลเหล่านี้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด นั่นหมายถึงการนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว มาปรับใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ ซึ่งทางฮิตาชิ ฯ มีนวัตกรรมที่พร้อมในเรื่องของ big data ในการเชื่อมต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ( IT ) เข้ากับเทคโนโลยีด้านการปฏิบัติงาน ( OT ) ซึ่งได้แก่
- โซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล ( Information Infrastructure ) อาทิ การบริหารจัดการจัดเก็บข้อมูล ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Virtual Storage Platform ( VSP ), Unified Compute Platform ( UCP ) ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานแบบคอนเวอร์จ, ซอฟต์แวร์บริหารจัดการข้อมูล, ไฟล์ และเนื้อหายุคใหม่ Hitachi Content Platform ( HCP ) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Object-Based Cloud Storage ฯลฯ และล่าสุด Hitachi Hyper Scale-Out Platform ( HSP ) เพื่อรองรับการใช้งานข้อมูล big data โดยเฉพาะ
- โซลูชั่นการวิเคราะห์ข้อมูล และนวัตกรรมเพื่อสังคม ( Analytics and Social Innovation ) อาทิ ซอฟต์แวร์แพลตฟอร์ม Pentaho และในส่วนธุรกิจ Social Innovation ของฮิตาชิ ฯ
นายไชยรัตน์ วงศ์สว่างรัศมี ผู้อำนวยการและที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี ธุรกิจโทรคมนาคม บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด กล่าวเพิ่มเติมว่า โซลูชั่นล่าสุด Hitachi Hyper Scale-Out Platform ( HSP ) สามารถตอบสนองธุรกิจในด้านโทรคมนาคม และธุรกิจที่มีการเติบโตของ big data ได้ดีเยี่ยม เพราะ HSP ประกอบด้วยระบบเซิร์ฟเวอร์ คลัสเตอร์, ระบบจัดเก็บ และซอฟต์แวร์ Apache™ Hadoop® ที่ฮิตาชิฯ เป็นพันธมิตรร่วมกับ Hortonworks เพื่อให้องค์กรต่าง ๆ ใช้เป็นแพลตฟอร์มได้ง่าย เมื่อรวมกับซอฟต์แวร์ Pentaho ซึ่งมีคุณสมบัติในจัดการรวมข้อมูล ( Data Integration ), จัดทำรายงานในรูปแบบต่าง ๆ ( Report & Visualize – Business Intelligence ), และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ ( Analytics ) จะสามารถสร้างศักยภาพให้องค์กรใช้ประโยชน์เพื่อธุรกิจจากข้อมูลยุค 4G และ IOT ในหลายรูปแบบและหลากหลายแหล่ง ยกตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์หาโปรโมชั่นเพื่อดึงลูกค้าใหม่ให้ย้ายค่ายมาใช้บริการ หรือวิเคราะห์หาวิธีลดการเปลี่ยนค่าย หรือการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของการให้บริการ bandwidth ของแต่ละค่าย เป็นต้น นอกจากนี้แพลตฟอร์ม Pentaho ยังสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกันว่าควรนำเสนอบริการอย่างไร เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างเหมาะสมกับค่าบริการที่เรียกเก็บต่างกันในแต่ละกลุ่ม เช่น หากแบ่งระดับลูกค้าเป็น Silver / Gold / Platinum level ดังนั้น Platinum level จะเป็นผู้ใช้บริการที่ต้องจ่ายแพงกว่า แต่เมื่อเป็นสมาชิกเป็นระยะเวลา 1 ปี ก็จะได้รับเป็น Platinum services เช่น การมีที่จอดรถพิเศษ, การได้รับบริการแบบ Exclusive เป็นต้น
ปัจจุบัน HDS ให้บริการลูกค้าที่เป็นธุรกิจประเภทโทรคมนาคม ที่ใช้ Pentaho มาทำการวิเคราะห์ลูกค้าจริง ๆ อย่างเช่น British telecom ที่ประเทศอังกฤษ ที่มีการเก็บข้อมูลเน็ตเวิร์คทั้งหมด เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่ามีการบุกรุก หรือแฮ็คเข้าไปในเน็ตเวิร์คขององค์กรหรือไม่ โดยใช้ Pentaho เป็นตัววิเคราะห์ หรือแม้แต่ข้อมูลการเข้าออกจากระบบของพนักงาน หรือมีคนข้างนอกเข้ามาในระบบ ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในเน็ตเวิร์ค เมื่อ access ข้อมูลทั้งหมดแล้ว ก็จะนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลต่อไป หรือแม้แต่บริษัทชั้นนำในประเทศอังกฤษ อย่างO2 ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของโลก ก็จะนำ Pentaho มาใช้เพื่อเก็บข้อมูลทางด้าน Wi-Fi ของผู้ใช้บริการ เพื่อนำมาพิจารณาว่าควรปรับแคมเปญ ปรับโปรโมชั่นอย่างไรเพื่อจะดึงดูดให้ลูกค้ามาใช้บริการมากขึ้น รวมทั้งออกโปรโมชั่นเพื่อให้ลูกค้าเก่าใช้บริการให้นานที่สุด โดยใช้ข้อมูลที่ผู้ใช้บริการเข้ามาในเน็ตเวิร์ค Wi-F แล้วนำมาวิเคราะห์
“Big Data ที่เข้ามาในการเปลี่ยนในช่วงของยุค 4G และ IOT กำลังจะเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกธุรกิจต้องเตรียมพร้อม HDS เข้าใจถึงปัญหาที่องค์กรต่าง ๆ กำลังเผชิญในการเติบโตอย่างไม่มีแบบแผนของข้อมูล และจำเป็นต้องปรับตัวในการบริหารจัดการข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึก สร้างโอกาสทางธุรกิจ ที่ผ่านมา HDS มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งในด้าน IOT และ big data ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคม ( Social Innovation ) ด้วยความเชี่ยวชาญจากกลุ่มบริษัทฮิตาชิ เรามั่นใจว่า โซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานและการวิเคราะห์ข้อมูลของ HDS จะช่วยให้ลูกค้าได้รับคุณค่าจาก big data ได้มากขึ้น เพื่อรองรับการทำงานในยุค4G ที่เน้นความรวดเร็ว คล่องตัว และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทันท่วงที” ดร. มารุต กล่าวทิ้งท้าย
Reference:
- M2M ecosystems and 4G LTE applicability, The Business Benefits of 4G LTE by Arthur D. Little Analysis, Commissioned by EE
เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์
บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เป็นบริษัทในเครือของกลุ่มบริษัท ฮิตาชิ จำกัด โดยเป็นบริษัทผู้นำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการข้อมูล ที่จะช่วยขับเคลื่อนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และยังสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม โดยมุ่งหวังให้เกิดสังคมที่ปลอดภัย, สร้างสุขภาพที่ดี และมีความทันสมัย ผ่านการคิดค้นนวัตกรรมและสร้างมูลค่าที่แท้จริงจากฐานข้อมูลสารสนเทศขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า Internet of Things ด้วยโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีแบบครบวงจร ได้แก่ สตอเรจ, เซิร์ฟเวอร์, ซอฟต์แวร์, การวิเคราะห์, การบริหารจัดการเนื้อหา, และคลาวด์คอมพิวติ้ง พร้อมการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขายอย่างครบถ้วน ด้วยความเชี่ยวชาญของ ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ที่บูรณาการทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีปฏิบัติการที่ดีที่สุด จากบริษัทในเครือฮิตาชิฯ เพื่อส่งมอบนวัตกรรมข้อมูลเชิงลึกให้กับธุรกิจ และสังคม ให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลง และการเติบโตในอนาคตได้อย่างดีเยี่ยม สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ www.HDS.com
เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ จำกัด
บริษัท ฮิตาชิ จำกัด ( ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว: 6501 ) มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำระดับโลก ด้วยจำนวนพนักงานทั่วโลกประมาณ 326, 000 ราย โดยในปีงบประมาณ 2555 ( จนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556 ) บริษัทฯ มียอดขายรวม 9, 041 พันล้านเยน ( 96.1 พันล้านดอลลาร์ ) ทั้งนี้ บริษัทฮิตาชิให้ความสำคัญกับธุรกิจที่เน้นด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมมากกว่าเดิม ซึ่งรวมถึงระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสารสนเทศและโทรคมนาคม ระบบไฟฟ้า ระบบเครื่องจักรก่อสร้าง วัสดุและอุปกรณ์ที่ครอบคลุมการทำงานระดับสูง ระบบยานยนต์และอื่น ๆ สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทฮิตาชิ สามารถเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ http://www.hitachi.com