[Guest Post] ซีอีโอทั่วโลกเกือบครึ่งมองว่าสถานการณ์ธุรกิจจะไม่กลับเป็นปกติจนกว่าปี 2565 : จากงานวิจัยเคพีเอ็มจี

  • ซีอีโอส่วนใหญ่จะรอจนกว่าประชากรมากกว่าครึ่งของประเทศได้รับการฉีดวัคซีนก่อนที่จะเริ่มให้พนักงานเข้าออฟฟิศอีกครั้ง
  • ผู้นำ 9 ใน 10 วางแผนว่าจะให้พนักงานรายงานสถานะการฉีดวัคซีนของตน เพื่อความปลอดภัยของทั้งองค์กร
  • ความต้องการของซีอีโอทั่วโลกที่จะลดขนาดพื้นที่ของสำนักงานนั้นลดลงเป็นอย่างมาก และต่างมีการประเมินใหม่ด้านความต้องการที่จะดำเนินธุรกิจแบบเดิมที่มีการพบปะพูดคุยกันต่อหน้าหลังจากพ้นวิกฤติการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว
บิลล์ โทมัส ประธานและซีอีโอ เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล

 

 

ซีอีโอของบริษัทชั้นนำทั่วโลกต่างกำลังวางแผนองค์กรสำหรับ new normal หลังผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 งานวิจัย 2021 KPMG CEO Outlook Pulse Survey พบว่าผู้บริหารระดับสูงเกือบครึ่ง (ร้อยละ 45) คาดว่าธุรกิจจะไม่กลับเป็น ‘ปกติ’ จนกว่าปี 2565 ซึ่งต่างจากงานวิจัยของปีที่แล้ว ที่พบว่าเกือบ 1 ใน 3 (ร้อยละ 31) คาดว่าสถานการณ์จะกลับเป็นปกติปลายปี 2564 นี้ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ซีอีโอ 1 ใน 4 (ร้อยละ 24) บ่งชี้ว่าโมเดลธุรกิจขององค์กรของตนได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรแล้ว

การวิจัยโดยเคพีเอ็มจีครั้งนี้ถูกจัดทำขึ้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคมปีนี้ โดยทำการสำรวจซีอีโอทั่วโลกจำนวน 500 คน เกี่ยวกับกลวิธีการตอบสนองต่อผลกระทบจากโควิด-19 และความน่าจะเป็นในอนาคตอีก 3 ปีข้างหน้า พบว่าซีอีโอส่วนใหญ่ (ร้อยละ 55) มีความกังวลเกี่ยวกับการเข้าถึงวัคซีนของพนักงาน ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจว่าเมื่อใดจะให้ให้พนักงานเข้าทำงานในสำนักงานได้ ซีอีโอส่วนใหญ่ (ร้อยละ 90) มองทางเลือกที่จะให้พนักงานรายงานองค์กรเมื่อได้รับการฉีดวัคซีน ซึ่งจะช่วยให้องค์กรวางกลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยให้กับพนักงาน แต่อย่างไรก็ตาม 1 ใน 3 (ร้อยละ 34) มีความกังวลเรื่องการแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีน ซึ่งอาจส่งผลให้พนักงานเลือกที่จะไม่รับวัคซีน

บิลล์ โทมัส ประธานและซีอีโอ เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “ก่อนการตัดสินใจเรื่องใหญ่ๆ ซีอีโอต่างต้องการที่จะมั่นใจว่าพนักงานของพวกเขาต่างได้รับการป้องกันจากเชื้อไวรัสโควิด-19 แผนการแจกจ่ายวัคซีนในแต่ละประเทศทำให้ผู้นำมีกำลังใจและความมั่นใจมากขึ้นในการเตรียมพร้อมองค์กรสำหรับ new normal ซีอีโอต่างกำลังวางแผนรับมือกับการที่แต่ละพื้นที่จะได้รับวัคซีนไม่พร้อมกัน ซึ่งอาจส่งผลต่อการดำเนินการขององค์กร ห่วงโซ่อุปสงค์อุปทาน และพนักงาน ซึ่งจะนำไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะเวลาที่ต่างกันในแต่ละพื้นที่” 

“งานวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารต่างมีมาตรการเด็ดขาดช่วงวิกฤติโควิด-19 เพื่อที่จะพลิกโฉมโมเดลการจัดการธุรกิจ (operating model) และวิธีการทำงาน มีการเร่งพัฒนาโปรเจกต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเนื่องจากความสมัครใจหรือเพราะความจำเป็น การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ครั้งนี้เป็นชนวนให้ซีอีโอประเมินบทบาทขององค์กรที่มีต่อสังคม หลายๆ องค์กรได้ออกมาแสดงจุดยืนในเรื่องที่องค์กรอาจจะไม่เคยกล่าวถึงมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไปจนถึงการสนับสนุนความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่างภายในสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นสิ่งที่เราอยากให้ดำเนินต่อไป เนื่องจากสังคมเรายังต้องการความร่วมมือและการเปลี่ยนแปลงอีกมาก”

 
ผลการสำรวจที่สำคัญ:

นโยบายรัฐและแผนการฉีดวัคซีนส่งผลต่อการตัดสินใจขององค์กร
ซีอีโอ 3 ใน 4 (ร้อยละ 76) มองว่าการที่รัฐบาลรณรงค์ให้ธุรกิจกลับมาปฏิบัติการเหมือนปกติจะเป็นสัญญาณให้แต่ละองค์กรอนุญาตให้พนักงานกลับเข้าทำงานที่สำนักงานตามปกติ นอกจากนี้ ร้อยละ 61 ของผู้บริหารทั่วโลกกล่าวว่าจะรอจนกว่าการแจกจ่ายวัคซีนประสบผลสำเร็จ (มากกว่าร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมดได้รับการฉีดวัคซีน) ในที่สำคัญๆ ก่อนที่จะตัดสินใจให้พนักงานกลับเข้าทำงานได้ตามปกติ เมื่อพนักงานกลับเข้าที่ทำงานแล้ว องค์กร 1 ใน 5 (ร้อยละ 21) จะมีมาตรการป้องกันเพิ่มเติมโดยการขอให้ลูกค้าและบุคคลภายนอก อื่นๆ แจ้งถึงสถานะการฉีดวัคซีนของตนเองก่อนที่จะเข้ามาในบริเวณสำนักงาน 

 
จำนวนซีอีโอทั่วโลกที่ต้องการลดพื้นที่สำนักงานนั้นน้อยลงจากเมื่อ 6 เดือนที่แล้ว
การวิจัยครั้งนี้พบว่ามีเพียงร้อยละ 17 ของซีอีโอทั่วโลกที่ต้องการลดขนาดสำนักงานลงเนื่องจากโควิด-19 ซึ่งต่างจากการสำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 2563 ที่ซีอีโอจำนวนร้อยละ 69 วางแผนที่จะลดขนาดสำนักงานภายใน 3 ปี้ข้างหน้า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาจจะมีการลดขนาดสำเร็จแล้วหรือแผนการรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้มีการเปลี่ยนแปลง

ผู้บริหารยังไม่เชื่อมั่นที่จะให้พนักงานทุกคนทำงานจากนอกสำนักงาน (remote working)
ซีอีโอต่างกำลังวางแผนว่า new normal จะเป็นอย่างไรหลังผ่านวิกฤติโควิด-19 ไปแล้ว ซึ่งมีเพียง 3 ใน 10 (ร้อยละ 30) ของผู้บริหารระดับสูงที่จะมีการพิจารณาการทำงานแบบ hybrid คือการที่พนักงานส่วนใหญ่ทำงานจากที่ไหนก็ได้ (remote working) 2-3 วันต่อสัปดาห์ ส่งผลให้มีเพียง 1 ใน 5 (ร้อยละ 21) องค์กรที่พร้อมจะจ้างพนักงานที่ทำงานจากนอกสำนักงาน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนจากผลสำรวจปีที่แล้ว (ร้อยละ 73 ในปี 2563)

 
ความปลอดภัยทางไซเบอร์ถูกบ่งชี้ให้เป็นประเด็นที่ซีอีโอให้ความสำคัญมากที่สุด
ในช่วงล็อคดาวน์ การทำงานจากที่บ้านเป็นเรื่องปกติ ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงขององค์กรในการรั่วไหลของข้อมูล ทำให้ผู้นำทั่วโลกต่างบ่งชี้ว่าความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดที่จะส่งผลต่อการเติบโตและการดำเนินธุรกิจขององค์กรในระยะเวลา 3 ปีจากนี้ ความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นประเด็นที่ถูกบ่งชี้ให้มีความสำคัญกว่าด้านกฎหมาย ภาษี และห่วงโซ่อุปสงค์อุปทาน

ESG ยังคงมีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสำหรับองค์กร
การที่ COP26 กำลังจะถูกจัดขึ้นอีกครั้งในปีนี้และการที่สหรัฐอเมริกาได้กลับมาเข้าร่วมในข้อตกลงปารีสลดโลกร้อน ทำให้ซีอีโอร้อยละ 49 ต้องการที่จะวางแผนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และบรรษัทภิบาล (Governance) หรือ ESG ให้รัดกุมยิ่งขึ้น ซึ่งผู้นำทางธุรกิจส่วนใหญ่ (ร้อยละ 89) ให้ความสำคัญไปที่การคงประโยชน์ที่ได้รับจากช่วงโควิด-19 ในด้านความยั่งยืนและการลดผลกระทบที่องค์กรมีต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศให้มากที่สุดนอกจากนี้ผู้นำทั่วโลกเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 96) ต้องการที่จะเพิ่มความสำคัญด้านสังคมในการจัดการ ESG

เจริญ ผู้สัมฤทธิ์เลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เคพีเอ็มจี ประเทศไทย เมียนมาร์ และลาว




เจริญ ผู้สัมฤทธิ์เลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เคพีเอ็มจี ประเทศไทย เมียนมาร์ และลาว กล่าวว่า “การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงที่ตามมาทำให้ซีอีโอต่างพิจารณาจุดมุ่งหมาย คุณค่า และวัฒนธรรมองค์กรใหม่ เราได้เห็นหลายๆ องค์กรทำการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วกว่าที่วางแผนไว้ในการจัดการด้าน ESG ในการรับมือกับลูกค้า และในกลยุทธ์ทางด้านดิจิทัลขององค์กร ในประเทศไทยเองเราก็ได้เห็นหลายๆ องค์กรเพิ่มช่องทางติดต่อและค้าขายออนไลน์ และพัฒนาโครงสร้างระบบดิจิทัลขององค์กร นอกจากนี้เรายังเห็นได้ว่ามีการเพิ่มความสำคัญไปที่การพัฒนาสังคม สร้างความยั่งยืน และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม และบรรษัทภิบาล ในปีที่ผ่านมาหลายๆ องค์กรได้ทำการเปลี่ยนแปลงที่จะนำมาซึ่งอนาคตที่ดีขึ้นสำหรับลูกค้า พนักงาน และสังคม”   

 

เกี่ยวกับ KPMG’s CEO Outlook Pulse Survey

งานวิจัย 2021 CEO Outlook Pulse Survey เป็นการสอบถามมุมมองต่อเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจในอีก 3 ปีข้างหน้าของซีอีโอจากบริษัทชั้นนำทั่วโลก และมุมมองที่มีต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การวิจัยครั้งนี้เป็นการเปรียบเทียบว่ามุมมองของซีอีโอเหล่านี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านใดบ้างเมื่อเทียบกับการวิจัยช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหคม 2563

การวิจัยครั้งนี้เป็นการสำรวจซีอีโอจำนวน 500 รายจาก 11 ประเทศ (ออสเตรเลีย แคนาดา จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อิตาลี ญี่ปุ่น สเปน สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา) ซึ่งได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 29 มกราคม ถึง 4 มีนาคม 2564 ผู้ตอบแบบสอบถามทุกคนเป็นตัวแทนขององค์กรที่มีรายได้มากกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี และในจำนวนนั้น ร้อยละ 35 เป็นองค์กรที่มีรายได้มากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี *ตัวเลขที่อ้างอิงเป็นการปัดเศษ


เกี่ยวกับเคพีเอ็มจี

เคพีเอ็มจี เป็นเครือข่ายระดับโลกของบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่นอื่น ภาษี กฎหมาย และให้คำปรึกษาทางธุรกิจ เราดำเนินธุรกิจใน 146 ประเทศ และมีพนักงานมากกว่า 227,000 คนในบริษัทเคพีเอ็มจีทั่วโลก เคพีเอ็มจีในแต่ละประเทศเป็นองค์กรที่มีการดำเนินการเป็นเอกเทศ

เกี่ยวกับ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย

เคพีเอ็มจี ประเทศไทย มีพนักงานมากกว่า 2,000 คน ซึ่งให้บริการด้านการสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่นอื่น ภาษี กฎหมายและให้คำปรึกษาทางธุรกิจ เคพีเอ็มจี ประเทศไทยเป็นสมาชิกของ เครือข่ายเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล

 

 

About Maylada

Check Also

Dell ชี้ ภูมิภาค APJ ยังมีโอกาสในด้าน AI อีกมาก พร้อมเผยคาดการณ์ 5 เทรนด์ AI แห่งปี 2025 

แม้ว่า Generative AI กำลังเริ่มมีการปรับใช้ในภาคธุรกิจอย่างจริงจังมากขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่าวิวัฒนาการของเทคโนโลยีนั้นยังดูไม่ได้แผ่วหรือว่าช้าลงไปแม้แต่น้อย เพราะเราสามารถเห็น Breakthrough หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาจากอุตสาหกรรมได้ภายในระยะเวลาไม่กี่เดือนเท่านั้น หรือบางครั้งอาจจะเป็นรายสัปดาห์ก็ว่าได้ จากงานแถลงข่าว Dell Technologies (Dell) …

CU Webinar : The Future of API Security – Innovations and Strategies to Prevent Data [ศุกร์ 13 ธ.ค. 67–14.00น.]

รู้หรือไม่ว่าทุก 39 วินาทีจะมีการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นหนึ่งครั้ง แน่นอนว่าการโจมตีเว็บไซต์ยังคงเป็นประเด็นสำคัญในธุรกิจ ซึ่ง API คือกลไกหลักที่อยู่ในทุกภาคส่วนของซอฟต์แวร์สมัยใหม่หรือการทำงานร่วมกันระหว่างธุรกิจ ด้วยเหตุนี้เองการป้องกันทางเว็บปัจจุบันจึงต้องมองให้ครอบคลุมเรื่อง API ด้วย Computer Union และ IBM ขอเชิญ …