10 แนวโน้มธุรกิจและเทคโนโลยี IT สำหรับองค์กรถัดจากปี 2017 เป็นต้นไป โดย Gartner

ในงาน Gartner Symposium/ITxpo ทาง Gartner ได้ออกมาทำนายถึง 10 แนวโน้มทางด้านธุรกิจ IT ในอนาคตนับตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นไป ซึ่งเนื้อหานั้นเรียกได้ว่าครอบคลุมแทบทุกธุรกิจและทุกคนบนโลกเลยทีเดียว ทางทีมงาน TechTalkThai ขอนำมาสรุปย่นย่อเอาไว้ให้ได้อ่านกันดังนี้ครับ

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com

 

1. ภายในปี 2020 ผู้ใช้งาน 100 ล้านคนจะซื้อสินค้าผ่านทาง Augmented Reality

เทคโนโลยี Autmented Reality (AR) นั้นจะกลายมาเป็นที่นิยม และทำให้ห้างร้านต่างๆ สามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้าได้ โดยอุปกรณ์ Mobile Device จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงและโลก Digital เข้าด้วยกัน ซึ่งทั้งแบรนด์และห้างเองก็จะต้องนำแนวคิดนี้ไปใช้สร้างประสบการณ์ให้แก่ลูกค้าด้วยการเสริมข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อคววาม, รูปภาพ, วิดีโอ, เสียงเข้าไปในการชอปปิ้งเพื่อสร้าง Engagement ได้จากทั้งภายในและภายนอกร้านค้า ตัวอย่างเช่น IKEA อาจจะเปิดให้ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าจาก Catalog ออกมาแสดงเป็นวัตถุ 3 มิติและทดลองวางในบ้านของตัวเองผ่านระบบ AR ได้เลย เป็นต้น

 

2. ภายในปี 2020 30% ของการเข้าถึงข้อมูลภายใน Website จะไม่ต้องใช้หน้าจออีกต่อไป

เทคโนโลยีที่ใช้เสียงเป็นหลักในการเข้าถึงข้อมูลอย่างเช่น Google Home หรือ Amazon Echo นั้นจะช่วยให้ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ บนเว็บไซต์ได้โดยไม่ต้องอาศัยหน้าจอแสดงผลอีกต่อไป และกลายเป็นจุดกำเนิดของ Platform แบบ Voice-First Interaction ขึ้นมา และทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ทุกเวลามากกว่าแต่ก่อนเพราะไม่ต้องใช้สายตาในการรับชมข้อมูลอีกต่อไปแล้ว ส่งผลให้ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลาอย่างแท้จริง

 

3. ภายในปี 2019 20% ของแบรนด์ต่างๆ จะเลิกพัฒนา Mobile Application ของตน

แบรนด์ต่างๆ เริ่มพบแล้วว่าการติดตั้งใช้งาน, การเกิด Engagement และความคุ้มค่าในการของทุนของ Mobile Application นั้นมีน้อยกว่าที่คาดหวังเอาไว้มาก ในขณะที่วิธีการใหม่ๆ ในการเข้าถึงและ Engage ลูกค้านั้นเริ่มเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ โดยไม่มีปัญหาอย่างเช่นความยุ่งยากในการติดตั้งหรือค่าใช้จ่ายในการลงทุนที่สูง ดังนั้นหลายๆ องค์กรก็จะเริ่มประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยการหยุดพัฒนา Mobile Application ของตนต่อในอนาคต

 

4. ภายในปี 2020 อัลกอริธึมจะช่วยให้วิธีการทำงานของแรงงานกว่า 1,000 ล้านคนทั่วโลกดีขึ้น

อัลกอริธึมที่วิเคราะห์ข้อมูล Context สำหรับผู้ใช้งานแต่ละคนได้นั้นมีความก้าววหน้ามากขึ้นและเริ่มนำศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่าง Psychology, Social Neuroscience และ Cognitive Science เข้าไปผสานมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมนุษย์นั้นถ้าหากเหนื่อยหรือมีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง การตัดสินใจในแต่ละครั้งก็อาจผิดพลาดหรือไม่สมเหตุสมผลได้ อัลกอริธึมต่างๆ เหล่านี้จะเข้ามาช่วยแจ้งเตือนหรือนำเสนอข้อมูลใหม่ๆ ที่ทำให้คนทำงานแต่ละคนสามารถตัดสินใจหรือเลือกใช้วิธีการทำงานที่ดีขึ้นได้ รวมไปถึงการใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้นด้วย

 

5. ภายในปี 2022 ธุรกิจที่ใช้ Blockchain เป็นหลักจะมีมูลค่า 10,000 ล้านเหรียญ

Blockchain จะกลายเป็นเทคโนโลยีหลักแห่งอนาคตสำหรับการบันทึก Transaction ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างปลอดภัยและโปร่งใส ทำให้ทุกๆ การแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาหลักนาที และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่เคยมีอยู่เดิมไปได้ทั้งหมด ซึ่งถึงแม้ปัจจุบันการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยอาศัย Blockchain นี้จะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นก็ตาม แต่ความน่าดึงดูดทั้งในเชิงผลิตภัณฑ์และการลงทุนถือว่าสูงมาก

 

6. ภายในปี 2021 20% ของกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตของผู้คน จะเกี่ยวข้องกับ 1 ใน 7 ของผู้พัฒนาเทคโนโลยียักษ์ใหญ่

ผลิตภัณฑ์ของ Google, Apple, Facebook, Amazon, Baidu, Alibaba และ Tencent จะเข้าไปมีบทบาทในชีวิตของผู้คนในทุกๆ แง่มุมหลังจากที่โลกเริ่มเปลี่ยนไปเป็น Digital มากขึ้น และทุกๆ ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เกี่ยวข้องในชีวิตของผู้คนจะต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่งที่ผูกเข้ากับบริการของ 1 ใน 7 ผู้ผลิตยักษ์ใหญ่เหล่านี้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

 

7. จนกระทั่งถึงปี 2019 ทุกๆ 1 เหรียญที่แต่ละองค์กรลงทุนไปในการสร้างนวัตกรรม จะต้องมีค่าใช้จ่ายอีก 7 เหรียญในการดำเนินการ

ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ของแต่ละองค์กรนั้น งบประมาณที่ตั้งต้นเอาไว้ในการทดลองไอเดียต่างๆ นั้น เมื่อถูกนำมาใช้จริงจะต้องมีการลงทุนเพิ่มขึ้นอีก 7 เท่าเพื่อให้นวัตกรรมเหล่านั้นถูกนำมาใช้จริงได้ในการดำเนินธุรกิจ

 

8. จนกระทั่งถึงปี 2020 IoT จะทำให้ความต้องการ Storage จัดเก็บข้อมูลเติบโตขึ้นเพียงแค่ 3% เท่านั้น

ถึงแม้จะมีการทำนายกันว่า Internet of Things (IoT) จะสร้างข้อมูลจำนวนมหาศาลจาก Endpoint ที่คาดว่าจะมีมากถึง 21,000 ล้านชุดภายในปี 2020 แต่จากการประมาณการถึงจำนวน Storage ทั้ง HDD และ SSD ที่จะมียอดขายรวมกันถึง 900 Exabyte ภายในปี 2020 นี้ จะมีการจัดเก็บข้อมูลส่วนที่เป็นของ IoT Sensor เพียงแค่ 0.4% เท่านั้น ในขณะที่มีการจัดเก็บข้อมูลจาก Multimedia Sensor อีกเพียงแค่ 2% ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่า IoT นั้นจะเติบโตได้เป็นอย่างมากและทำการส่งเฉพาะข้อมูลสำคัฯที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเท่านั้น ทำให้องค์กรธุรกิจต่างๆ สามารถลงทุนกับ IoT ได้โดยไม่ต้องขยับขยายระบบจัดเก็บข้อมูลมากนัก

 

9. ภายในปี 2022 IoT จะช่วยให้ผู้ใช้งานและองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา, การบริการ และการบริโภคลงได้ถึง 1 ล้านล้านเหรียญ

การลงทุน IoT แต่ละครั้งนั้นจะทำให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายได้ยาวนานตั้งแต่ 10 ปีจนถึง 20 ปี และไม่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการตามมามากนัก โดยถึงแม้ระบบ IoT ที่ใช้งานจะเป็นระบบง่ายๆ ที่ไม่มีความซับซ้อน แต่ก็จะช่วยให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายได้จริงการการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ออกเป็นรายงานสำหรับการตัดสินใจและปรับปรุงสิ่งต่างๆ ด้วยความเข้าใจในพฤติกรรมการใช้งานสิ่งต่างๆ ที่มากขึ้นจากข้อมูลเหล่านี้ ในขณะที่ Digital Twin จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ Sensor ทำการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของโลกแห่งความเป็นจริง และนำข้อมูลเหล่านั้นไปผสานกับแหล่งข้อมูลภายนอกอื่นๆ ออกมาเป็นข้อมูล Digital ที่สะท้อนโลกแห่งความเป็นจริงขึ้นมาอีกชุด

 

10. ภายในปี 2020 40% ของพนักงานภายในองค์กรจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพได้รด้วยการใช้ Fitness Tracker

องค์กรต่างๆ จะเริ่มขยายแผนก HR ให้มีตำแหน่ง Fitness Program Manager ที่สร้างสวัสดิการใหม่ให้กับพนักงานผ่าน Fitness Tracker เพื่อติดตามสุขภาพของพนักงานกันมากขึ้นด้วยการให้ผู้ผลิตทางด้าน Healthcare ทำการติดตามข้อมูลเหล่านั้นและคอยช่วยระมัดระวังความเสี่ยงทางสุขภาพของพนักงานแต่ละคนได้ทั้งแบบ Real-time และการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง ทั้งนี้ประเด็นเหล่านี้ต้องอยู่บนพื้นฐานว่าพนักงานยินยอมให้องค์กรติดตามข้อมูลเหล่านี้ของตนได้

 

ที่มา: http://www.gartner.com/newsroom/id/3482117

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

บริษัทซอฟต์แวร์คลาวด์ ServiceTitan ประกาศ IPO หวังระดมทุนสูงสุด 502 ล้านดอลลาร์

ServiceTitan ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์คลาวด์สำหรับธุรกิจ ประกาศเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะครั้งแรก (IPO) โดยตั้งเป้าระดมทุนสูงสุดถึง 502 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการเสนอขายหุ้นจำนวน 8.8 ล้านหุ้น ในช่วงราคาหุ้นละ 52 ถึง 57 ดอลลาร์

Tuskira เปิดตัวพร้อมทุน 28.5 ล้านดอลลาร์ ยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ด้วย AI

สตาร์ทอัพด้านการตรวจจับภัยคุกคาม Tuskira เปิดตัวพร้อมระดมทุน 28.5 ล้านดอลลาร์จากกลุ่มนักลงทุนที่นำโดย Intel Capital และ SYN Ventures มุ่งเร่งนวัตกรรม AI การผสานระบบ และยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรด้วยกลยุทธ์เชิงรุกที่รวมเครื่องมือเข้าด้วยกันและลดความเสี่ยงแบบเรียลไทม์