Black Hat Asia 2023

Gartner เผย Magic Quadrant for WAN Optimization ประจำปี 2015

สำหรับองค์กรที่มีสาขาหลากหลายกระจายอยู่ทั่วประเทศหรือหลายประเทศ ทาง Gartner ได้เปิดเผย Magic Quandrant สำหรับระบบ WAN Optimization ของปี 2015 มาใช้ประกอบการตัดสินใจเรียบร้อยแล้ว โดยในปีนี้มี Leader ด้วยกันทั้งสิ้น 3 ราย และนิยามของระบบ WAN Optimization ก็มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย

techtalkthai_gartner_magic_quadrant_update_2

นิยามของระบบ WAN Optimization

โดยหลักๆ แล้ว ระบบ WAN Optimization จะต้องมีหน้าที่ในการเพิ่มประสิทธิภาพของ Application ที่มีการเรียกใช้งานผ่านระบบเครือข่ายแบบ WAN และจะต้องช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับการเช่า WAN ขององค์กรลง แต่ในปัจจุบันนี้ระบบ WAN Optimization ยังต้องตอบโจทย์ความต้องการที่เหนือขึ้นไปอีก 3 ข้อ ดังนี้

  • ลด Response Time ของ Application ต่างๆ ที่ผู้ใช้งานทำการเรียกใช้งานผ่าน WAN หรือ Mobile Connection เพื่อแก้ปัญหาทางด้านประสิทธิภาพของระบบ Application ที่มักจะพบเจอเมื่อมีข้อจำกัดทางด้าน Bandwidth, Latency หรือ Protocol
  • ช่วยเพิ่ม ROI ของค่า Bandwidth ในระบบ WAN และชะลอเวลาในการเพิ่ม Bandwidth ของ WAN ลง
  • เพิ่มประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่าง Data Center แห่งหนึ่งเข้ากับ Data Center อีกแห่งหนึ่ง เพื่อให้ทำ Synchronization และ Replication ได้เร็วขึ้น

นอกจากนี้ ระบบ WAN Optimization ยังอาจมีความสามารถบางส่วนหรือทั้งหมดดังต่อไปนี้

  • สามารถ Optimize ได้ทั้ง Generic Protocol หรือ Specific Protocol เพื่อลด Latency
  • ทำ Compression, Deduplication หรือ Content Caching เพื่อลดปริมาณ Bandwidth และเพิ่มปริมาณการเข้าใช้งานได้
  • ทำ Traffic Identification, Prioritization, Policing, และ Shaping เพื่อรับประกันว่า Application ที่มีความสำคัญจะมี Network เข้าถึงได้เสมอ
  • ทำ Traffic Monitoring และ Reporting สำหรับใช้แก้ปัญหาระบบเครือข่าย
  • ทำ WAN Path Control, WAN Virtualization หรือ Link Load Balancing ใช้งาน Link หลายๆ เส้นพร้อมๆ กันเพื่อเพิ่มความทนทานและความคุ้มค่า
  • สามารถ Forward Traffic ไปยัง Cloud Service ต่างๆ โดยตรงได้โดยอัตโนมัติ ในขณะที่ยังคงควบคุม Traffic ที่เรียกใช้งาน Application ภายในองค์กรได้

โดยในการติดตั้งใช้งานระบบ WAN Optimization นี้สามารถติดตั้งภายในองค์กรได้ทั้งแบบ Physical Appliance และ Virtual Appliance รวมถึงการใช้งาน Soft Client ติดตั้งที่เครื่องลูกข่ายก็สามารถทำได้เช่นกัน ในขณะที่ผู้ผลิตบางรายจะมุ่งเน้นระบบแบบ WAN Optimization as a Service (WOaaS) เพื่อลดค่าใช้จ่ายขององค์กรลง และเพิ่มความเร็วในการติดตั้งให้สูงขึ้น

Leader 3 ราย

สำหรับ Leader ใน Magic Quadrant ครั้งนี้ได้แก่ Riverbed, Cisco และ Silver Peak โดยแต่ละผู้ผลิตก็มีจุดแข็งที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายในการติดตั้ง, ความโดดเด่นทางด้านฟีเจอร์การใช้งานที่ตอบโจทย์เฉพาะทางได้มาก หรือการมุ่งเน้นไปใช้งานสำหรับ Storage Replication โดยเฉพาะก็ตาม

สำหรับผู้ที่สนใจรายงานฉบับเต็ม สามารถลงทะเบียนเพื่อ Download เอกสารได้ฟรีๆ ที่ http://rvbd.ly/1BnU2bq


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

MFEC: พลิกโฉมการจัดการ Infrastructure ตอบโจทย์ Modernize Application ด้วย VMware Tanzu

แนวคิดการยกเครื่องแอปพลิเคชันเดิมสู่บริบทของการทำงานสมัยใหม่หรือที่เรียกว่า Modernization นั้นเริ่มกลายเป็นนโยบายหลักขององค์กร เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมาการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยี Container นั้นได้สนับสนุนให้แนวคิดนี้ทำได้สะดวกขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้แอปพลิเคชันสามารถนำพลังจากเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ดูแลระบบไอทีขององค์กรกลับกำลังเผชิญกับความท้าทายมากมาย ซึ่ง VMware Tanzu คือแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายของการทำ Modernization ประสบความสำเร็จได้ โดยที่ยังรักษาระบบการทำงานแบบเดิม …

บริหารจัดการ Multi-Cloud ครบวงจรอย่างมั่นใจ ด้วย VMware Aria จาก Fujitsu

แม้ Multi-Cloud จะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับธุรกิจองค์กรแล้วในทุกวันนี้ แต่การบริหารจัดการ Multi-Cloud ให้มีประสิทธิภาพได้อย่างรอบด้านนั้นก็ยังคงเป็นความท้าทายของผู้บริหารฝ่าย IT ในหลายองค์กร เพราะ Cloud แต่ละระบบนั้นต่างก็มีความแตกต่างในเชิงรายละเอียด และยากต่อการรวบรวมข้อมูลการใช้งานมาวิเคราะห์แบบรวมศูนย์