CDIC 2023

ฟรี Report: Gartner Magic Quadrant for APM & Observability – Dynatrace ครองตำแหน่ง Leader เป็นปีที่ 12

Gartner Inc. บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาชื่อดังจากสหรัฐฯ ออกรายงาน Gartner Magic Quadrant for APM & Observability ประจำปี 2022 ซึ่งในปีนี้ได้ขยายขอบเขตจากเฉพาะแค่ APM (Application Performance Monitoring) ให้ครอบคลุมด้าน Observability ด้วย ซึ่ง Dynatrace ยังคงครองตำแหน่ง Leader เป็นปีที่ 12 และเป็นอันดับ 1 ด้าน Completeness of Vision

** ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้งาน Gartner Magic Quadrant ได้ด้านล่างบทความ

ในปีนี้ Gartner ได้เปลี่ยนชื่อรายงานจาก APM สู่ APM & Observability ตามการเติบโตและการประยุกต์ใช้งานด้าน Observability ภายใน APM ที่เพิ่มมากขึ้น Gartner ให้คำจำกัดความ Observability ว่าเป็นคุณลักษณะของซอฟต์แวร์หรือระบบที่เปิดให้ “มองเห็น” และตอบคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเองได้ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถวิเคราะห์และตรวจสอบซอฟต์แวร์และระบบเหล่านั้นได้จากสัญญาณที่ส่งมา หรือการสอบถามเกี่ยวกับสถานะการทำงาน

Gartner นิยามตลาด APM & Observability ว่าเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้สามารถสังเกตการณ์และวิเคราะห์สถานะของแอปพลิเคชัน ประสิทธิภาพ และ User Experience ได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ IT Operations, Site Reliability Engineers, Cloud & Platform Ops, Application Developers และ Product Owners

สำหรับปี 2022 นี้ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ด้าน APM & Observability รวม 19 ราย มี 5 รายที่ครองตำแหน่ง Leader ได้แก่ Dynatrace, Datadog, New Relic, Honeycomb และ IBM (Instana) โดย Dynatrace ครองอันดับ 1 ด้าน Completeness of Vision และเป็นรองอันดับ 1 ด้าน Ability of Execution

Gartner ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ Dynatrace ว่าเป็น Leader ที่ให้บริการครอบคลุมทั้งทางด้าน APM, IT Infrastructure Monitoring (ITIM), DEM, Business Analytics, AIOps, Cloud Automation และ Application Security ซึ่งมีการเสริมความสามารถด้าน Observability เข้าไป และมีแผนที่จะผสานเทคโนโลยี AI เข้าไปเพื่อเสริมความสามารถด้าน Analytics ให้ดีขึ้น รวมไปถึงขยายการให้บริการสู่ Cloud Marketplace ของ AWS, Microsoft Azure และ Google Cloud

จุดแข็งของ Dynatrace คือ มีเทคโนโลยี Analytics และ AI ที่แข็งแกร่ง สามารถตรวจจับและวิเคราะห์ธุรกรรมที่เกิดขึ้นได้ในทุกๆ ชั้นของ Application Stack ช่วยให้สืบค้นต้นตอของปัญหาด้านประสิทธิภาพได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีการผสานบริบทด้านความมั่นคงปลอดภัยเข้าไป ทำให้สามารถตรวจสอบช่องโหว่ที่เปิดสู่อินเทอร์เน็ตหรือเสี่ยงข้อมูลสำคัญถูกเข้าถึงโดยมิชอบได้อีกด้วย เหล่านี้ สนับสนุนโดยสถาปัตยกรรม Dynatrace OneAgent ที่สามารถค้นหาและเก็บข้อมูลสังเกตการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และอัตโนมัติ ทำให้ง่ายต่อการใช้งานและนำไปสู่ผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว

นอกจาก Gartner Magic Quadrant for APM & Observability แล้ว Gartner ยังได้ออกรายงาน Critical Capabilities for APM & Observability อีกด้วย ซึ่ง Dynatrace ได้คะแนนสูงสุด 4 จาก 6 Use Cases ได้แก่ IT Operations, Digital Experience Monitoring, DevOps/AppDev และ SRE/Platform Operations

ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดรายงานวิจัยของ Gartner ได้ฟรีผ่านช่องทางของ Dynatrace

Gartner Magic Quadrant คืออะไร ใช้งานอย่างไร

Magic Quadrant คือ ชื่อรายงานวิจัยทางการตลาด (Market Research Reports) โดยบริษัท Garner Inc. มีจุดประสงค์เพื่อการวิเคราะห์เชิงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในตลาด รวมทั้งทิศทาง พัฒนาการของเทคโนโลยี และผู้มีส่วนร่วมกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ รายงานวิจัยดังกล่าวจะจัดแบ่งตามเทคโนโลยีในปัจจุบัน เช่น Meeting Solutions, WAN Edge Infrastructure, Security Service Edge และอื่นๆ ซึ่งจะถูกจัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปี

Gartner Magic Quadrant ช่วยให้นักลงทุน รวมถึงบริษัทหรือองค์กรที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของตน สามารถประเมินศักยภาพของเจ้าของผลิตภัณฑ์แต่ละรายได้ โดยนำเสนอในรูปแบบกราฟเมทริกซ์ 2 มิติ ซึ่งพิจารณาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ Completeness of Vision (แกน X) และ Ability to Execute (แกน Y)

  • Completeness of Vision คือ วิสัยทัศน์ของเจ้าของผลิตภัณฑ์ ว่ามีมุมมองและการพัฒนาเทคโนโลยีของตนเองสอดคล้องกับความต้องการทางการตลาดในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตหรือไม่ ประกอบด้วย 8 ปัจจัย คือ ความเข้าใจในตลาด, กลยุทธ์ทางการตลาด, กลยุทธ์ทางการขาย, การพัฒนาฟังก์ชันใหม่ๆ, โมเดลเชิงธุรกิจ, การตอบโจทย์ตลาดและอุตสาหกรรมแต่ละประเภท, นวัตกรรมใหม่ และการดำเนินกลยุทธ์ในแต่ละภูมิภาค
  • Ability of Execute คือ ส่วนแบ่งทางการตลาดที่เกิดจากการตอบโจทย์ลูกค้าในปัจจุบัน ประกอบด้วย 7 ปัจจัย คือ ผลิตภัณฑ์และการให้บริการ, ความมั่นคงของบริษัท, ความสามารถทางการขายและการต่อรองราคา, การตอบสนองต่อตลาด, การจัดการตลาด, ประสบการณ์ของลูกค้า และการดำเนินงานของบริษัท

ยิ่งตำแหน่งของเจ้าของผลิตภัณฑ์อยู่ด้านขวามาก แสดงว่ามี Completeness of Vision สูง และย่ิงตำแหน่งอยู่บนมาก แสดงว่ามี Ability to Execute สูงเช่นกัน โดยเมทริกซ์จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน เพื่อแสดงความสามารถของแต่ละผลิตภัณฑ์ ดังนี้

  • Leaders: คะแนนสูงทั้งด้านวิสัยทัศน์ เทคโนโลยี และส่วนแบ่งการตลาด ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่ มีประสบการณ์ยาวนาน ฐานลูกค้าเยอะ และเข้าใจถึงความต้องการของตลาด ซึ่งแผนงานของเจ้าของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อทิศทางของตลาดโดยรวมได้
  • Challengers: มีความสามารถในการตอบโจทย์ลูกค้าในปัจจุบัน แต่ยังไม่มีแผนงานหรือนวัตกรรมใหม่ที่เด่นชัด รวมทั้งอาจจะยังไม่เข้าใจตลาดเพียงพอ ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่พยายามลดความเสี่ยงหรือลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับแผนงานในปัจจุบัน
  • Visionaries: ตระหนักถึงทิศทางการตลาดและเทคโนโลยีในอนาคต และพร้อมที่จะพัฒนาไปทางนั้น แต่ยังไม่สามารถนำเสนอศักยภาพดังกล่าวให้ลูกค้าได้ ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์รายย่อยที่ปรับกลยุทธ์ทางการแข่งขัน มีเทคโนโลยีใหม่ หรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่พยายามสร้างความแตกต่าง
  • Niche Players: คะแนนต่ำทั้งเรื่องวิสัยทัศน์และส่วนแบ่งการตลาด ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นที่ยอมรับเฉพาะตลาดกลุ่มเล็กๆ หรือมีข้อจำกัดในการพัฒนาเทคโนโลยี ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากที่เจ้าของผลิตภัณฑ์โฟกัสเฉพาะบางประเทศหรือเก่งเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง หรือเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์รายใหม่ที่เพิ่งเริ่มเข้าสู่ตลาดดังกล่าว

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Gartner Magic Quadrant ได้ที่ https://www.gartner.com/en/documents/486094


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Microsoft ประกาศเพิ่ม Copilot ลงใน Windows 11

Microsoft ได้ประกาศเพิ่ม Copilot ระบบ AI Chatbot ลงใน Windows 11

Cisco ประกาศเข้าซื้อกิจการ Splunk ด้วยมูลค่า 2.8 หมื่นล้านเหรียญ

Cisco ประกาศเข้าซื้อกิจการ Splunk ด้วยมูลค่า 2.8 หมื่นล้านเหรียญ