Black Hat Asia 2023

[PR] “EGA” จุดประกาย StartUp หน้าใหม่วงการแอปฯ ไทย โชว์สุดยอดแอปพลิเคชัน ภาครัฐ แห่งปี ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ ในโครงการ “MEGA2015”

“EGA” จุดประกาย StartUp หน้าใหม่วงการแอปพลิเคชันไทย ประกาศรางวัลสุดยอดแอปพลิเคชัน ภาครัฐแห่งปี ในโครงการประกวดผลงานการพัฒนานวัตกรรมโมบายแอปพลิเคชันภาครัฐ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ประจำปี 2558 MEGA 2015: Mobile Enterprise d-Government Award 2015 โดยแอปฯ ที่ได้รับรางวัล มี 2 ประเภท ได้แก่

  1. ประเภทสุดยอดแนวคิด คือ แอปฯ ViaBus เพื่อติดตามรถโดยสารสาธารณะแบบเรียลไทม์
  2. ประเภทสุดยอดนวัตกรรม คือ แอปฯ SmartHealth for Chronic Kidney Disease เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรังที่เชื่อมโยงกับระบบ Hospital Information System

ega-announce-mega2015-award

ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เปิดเผยว่า การประกวดผลงานการพัฒนานวัตกรรมโมบายแอปพลิเคชันภาครัฐ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2558 หรือ MEGA2015: Mobile Enterprise d-Government Award 2015 เป็นอีกหนึ่งโครงการที่สนับสนุนให้เกิด StartUp เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นการจุดประกายแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยี ( Disruptive Technology ) ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงสินค้าและบริการที่มีอยู่เดิมด้วยเทคโนโลยี โดยมุ่งหวังให้ภาครัฐมีส่วนสนับสนุนให้เกิดการต่อยอดและค้นหานักพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันที่มีคุณภาพตอบสนองความต้องการของภาครัฐและประชาชน

MEGA2015 เป็นโครงการสร้างนักธุรกิจเมล็ดพันธุ์ใหม่ให้เกิดขึ้น ภายใต้โจทย์การบริการภาครัฐไปสู่ประชาชน โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐและเอกชนเข้าไปช่วยเป็นพี่เลี้ยงตั้งแต่แนวคิดแรกเริ่ม บ่มเพาะและช่วยรวบรวมความคิด ( Conceptual Ideas ) ให้เกิดเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งสนับสนุนให้ผู้เข้าแข่งขันได้สั่งสมประสบการณ์จนสามารถก้าวข้ามผ่านไปสู่กระบวนการเริ่มต้นธุรกิจ โดยมีสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ( องค์การมหาชน ) หรือ EGA เป็นหน่วยงานสนับสนุนหลัก

ทั้งนี้ การสร้างกลุ่มนักพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันภาครัฐให้ได้รับการยอมรับจากแนวคิด จนสามารถก่อตั้งเป็นธุรกิจได้นั้น ยังต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้และทำความเข้าใจการทำงานของภาครัฐอีกมากเนื่องจากยังมีเรื่องกฎระเบียบต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เชื่อว่าการประกวด MEGA ในปีต่อ ๆ ไป จะสามารถคัดกรองแนวคิดริเริ่มที่แปลกใหม่ได้มากขึ้น จนสามารถปั้นผลงานไปสู่ธุรกิจ StartUp ได้อย่างแท้จริง

ega-announce-mega2015-award-2

ขณะเดียวกันกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ได้ให้ความร่วมมือกับ EGA และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาพัฒนาระบบไอที ทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การผลักดันเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็น Big Data, Government Cloud Computing และอื่น ๆ รวมถึงการเร่งเปิดระบบ Open Data ของภาครัฐคู่ขนานไปด้วยกัน เพื่อผลักดันแนวคิดจาก MEGA2015 ที่เกิดขึ้นอีกมากมายสามารถต่อยอดไปสู่ผลงานใหม่ ๆ เพื่อยกระดับการบริการภาครัฐ ให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างต่อเศรษฐกิจ สังคม และประชาชน ซึ่งคาดว่าภายในปีหน้าจะได้เห็นผลงานเหล่านี้ในศูนย์กลางแอปพลิเคชันภาครัฐ หรือ ( Government Application Center: GAC )

ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ( องค์การมหาชน ) หรือ EGA เปิดเผยว่า การจัดโครงการ MEGA2015 ถือเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จากหลาย ๆ หน่วยงาน ได่แก่ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติฯ, เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทยฯ, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติฯ, บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคทรอนิกส์ ( ประเทศไทย ) และบริษัท ไอบีเอ็ม ( ประเทศไทย ) โดยมุ่งเป้าหมายที่จะกระตุ้นให้เกิด Tech StartUp ในระดับแนวคิดเบื้องต้น ซึ่งเสมือนกับการเพาะเมล็ดพันธุ์ให้เกิดขึ้นจำนวนมาก โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากการสนับสนุนของทั้งภาครัฐและเอกชน

ทั้งนี้ EGA ยังตั้งเป้าหมายในการดึงภาครัฐและเอกชนให้มาเข้ามาสนับสนุนโครงการนี้เพิ่มเติมในโครงการ MEGA2016 เพื่อระดมความสามารถจากผู้เชี่ยวชาญ โดยหวังผลให้จะเกิด StartUp ที่เกี่ยวข้องกับแอปพลิเคชันภาครัฐมากขึ้น

สำหรับการประกวด MEGA2015 มีหน่วยงานรัฐมอบโจทย์ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน 2 หน่วยงาน คือ 1. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ 2. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นการนำร่องที่ดี โดยในปีต่อ ๆ ไป EGA จะเชิญหน่วยงานรัฐมาให้โจทย์มากขึ้น และจะมีการนำข้อมูลภาครัฐในโครงการ Open Data มาเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อให้นักพัฒนาที่เข้าประกวดสามารถนำไปต่อยอดเป็นแอปพลิเคชันต่าง ๆ ให้มากขึ้น

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ( องค์การมหาชน ) หรือ EGA เปิดเผยว่า การจัดโครงการ MEGA2015 ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง โดยมีผู้ที่สนใจจากนักพัฒนารุ่นใหม่ร่วมส่งผลงานเข้าประกวดเป็นจำนวน 243 ทีม หรือมีผลงานเข้าประกวดมากกว่า 280 ผลงาน โดยแบ่งเป็นประเภทสุดยอดแนวคิด สำหรับนักศึกษาหรือมือสมัครเล่น ร่วมเข้าประกวดกว่า 179 ทีม และนำเสนอผลงานจำนวน 200 ผลงาน และประเภทสุดยอดนวัตกรรม สำหรับนักพัฒนามืออาชีพและผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 64 ทีม นำเสนอผลงานกว่า 80 ผลงาน

อย่างไรก็ดี EGA ยังมุ่งหวังที่จะเห็นแอปพลิเคชันภาครัฐใหม่ ๆ หรือแอปพลิเคชันภาครัฐที่เน้นการให้บริการ ที่ประชาชนใช้งานได้จริง เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงงานบริการของภาครัฐได้ง่าย หรือลดทอนขั้นตอนในการรับบริการจากภาครัฐ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์สำคัญของนโยบายการสร้างยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

ทั้งนี้ เพื่อสานต่อนโยบายการสร้างยุคเศรษฐกิจดิจิทัล EGA ยังคงสานต่อโครงการประกวดผลงานการพัฒนานวัตกรรมโมบายแอปพลิเคชันภาครัฐต่อไป หรือ MEGA2016

ega-announce-mega2015-award-3

สำหรับผลงานแอปพลิเคชันภาครัฐ ที่ได้รับรางวัล มีจำนวน 16 รางวัล โดยผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ทั้ง 2 ประเภท จะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โล่ประกาศเกียรติคุณประกาศนียบัตร และเงินทุนสนับสนุน 70, 000 บาท โดยประเภทรางวัลมีดังต่อไปนี้

  1. ประเภทสุดยอดแนวคิด ( ประเภทนักศึกษา ) จำนวน 4 รางวัล
  2. ประเภทสุดยอดนวัตกรรม ( ประเภทนักพัฒนาอิสระและผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย ) จำนวน 4 รางวัล
  3. รางวัลพิเศษตามหมวดหมู่ จำนวน 4 รางวัล
  4. รางวัลพิเศษแบ่งตามผู้สนับสนุนทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 4 รางวัล ดังนี้

รางวัลสุดยอดแนวคิด ( ประเภทนักศึกษา ) ประกอบด้วย

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม ViaBus ผลงาน ViaBus แอปพลิเคชันที่พัฒนา ติดตาม รถโดยสารสาธารณะ แบบเรียลไทม์ – รองรับทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม Cancer Crush ผลงาน Cancer Crush แอปพลิเคชันสำหรับสร้างสังคมผู้ป่วยโรคมะเร็ง เพื่อเพิ่มช่องทางในการสื่อสารในสังคมผู้ป่วยให้ข้อมูลโรคมะเร็ง การจัดหาผู้ดูแล และการให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพโดยจิตแพทย์
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม Mobilise ผลงาน Mobilise เป็นแอปพลิเคชัน วิเคราะห์การเคลื่อนไหวของผู้ป่วยแบบ real-time และติดตามได้จากระยะไกล เพื่อประเมินความเสี่ยงการหกล้มผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยได้
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ ทีม Asura ผลงาน LongPlanDo ( ลองแพลนดู ) เป็นแอปพลิเคชัน ช่วยจัดการ การวางแผนการท่องเที่ยว ซึ่งเหมาะสมกับคนในยุคปัจจุบันที่มีเวลาท่องเที่ยวจำกัด

รางวัลชนะเลิศประเภทสุดยอดนวัตกรรม ประกอบด้วย

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Treconweb ผลงาน SmartHealth for Chronic Kidney Disease เป็นแอปพลิเคชันที่เกี่ยวกับโรคไตเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ และตรวจเลือด ของผู้รับการตรวจคัดกรองและผู้ป่วย เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบ Hospital Information System โดยนำร่องใช้งานในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา ที่มีจำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมากกว่า 3, 000 คน
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม อาตาปี ผลงาน โครงการ “สังคมแบ่งปันประสบการณ์ การท่องเที่ยวสุดประทับใจ” เป็นแอปพลิเคชัน แนะนำการท่องเที่ยวแบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่นำเสนอรูปแบบและข้อมูลการท่องเที่ยวให้ตรงตามอุปนิสัยของผู้ใช้งาน เช่น รูปภาพ วีดีโอ หรืคำวิจารณ์จากผู้อื่น เป็นต้น และผู้ใช้งานสามารถแบ่งปันประสบการณ์ท่องเที่ยวกับผู้อื่นในรูปแบบไดอารี่ ( Blog ) หรือแบบช่วยกันเขียน ( Wiki ) ก็ได้
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีมนะโม ผลงาน ทำนุบำรุงศาสนา คุณค่าแห่งจิตใจ เป็นแอปพลิเคชันที่ผู้ใช้สามารถเลือกวัดที่จะไปทำบุญ และทราบตำแหน่งเส้นทางของวัด นอกจากนี้ผู้ใช้สามารถเลือกสิ่งของที่จะนำไปบริจาคให้วัดได้ตรงกับความต้องการหรือสิ่งที่วัดขาดแคลน
  • รางวัลชมเชยได้แก่ ทีม Progress ผลงาน Progress เป็นแอปพลิเคชันที่สร้างชุมชนการเรียนรู้ ไว้ด้วยกัน ทั้ง ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ถึงแม้ไม่มีอินเตอร์เน็ตก็ยังใช้งานได้ แอปพลิเคชันยังมีฟังก์ชันสำหรับครู เช่นเช็คชื่อ คะแนนเก็บ ข้อมูลนักเรียน ตารางสอน เป็นต้น

รางวัลพิเศษแบ่งตามผู้สนับสนุนทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 4 รางวัล ประกอบด้วย

  • รางวัลสุดยอดแอปพลิเคชันด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ทีม Sweet Duck ผลงาน ระบบแจ้งเตือนหมอกควันไฟป่า สนับสนุนโดย กรมส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
  • รางวัลสุดยอดแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการแพทย์ฉุกเฉิน ได้แก่ ทีม ARSA ผลงาน ระบบการกู้ชีพสำหรับแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล สนับสนุนโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน
  • รางวัล The Best Enterprise Mobile Application Award ได้แก่ ทีมอาตาปี ผลงาน โครงการ “สังคมแบ่งปันประสบการณ์ท่องเที่ยว สุดประทับใจ” สนับสนุนโดย บริษัท ไอบีเอ็ม ( ประเทศไทย ) จำกัด
  • รางวัล Samsung IOT ได้แก่ ทีม TreconWeb ผลงาน SmartHealth for Chronic Kidney Disease สนับสนุนโดย บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคทรอนิกส์ ( ประเทศไทย ) จำกัด

รางวัลพิเศษแบ่งตามหมวดหมู่ จำนวน 4 รางวัล ประกอบด้วย

  • รางวัลยอดเยี่ยมด้านเสริมสร้างคุณภาพชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม ได้แก่ ทีม Cancer Crush ผลงาน Cancer Crush
  • รางวัลยอดเยี่ยมเสริมสร้างความรู้ การบริการ สวัสดิการ ได้แก่ ทีม MTT Innovation ผลงาน Bangkok eService
  • รางวัลยอดเยี่ยมด้านส่งเสริมเศรษฐกิจ ลงทุน ท่องเที่ยว ได้แก่ ทีม Asura ผลงาน LongPlanDo ( ลองแพลนดู )
  • รางวัล Government Data Award ได้แก่ ทีม ปลูกพืชถามดิน ผลงาน ปลูกพืชถามดิน ( AskSoil )

รางวัล People Choice Award เป็นรางวัลพิเศษที่เกิดขึ้นจากการร่วมโหวดของประชาชน ได้แก่ ทีม อาตาปี


About TechTalkThai_PR

Check Also

AIS Business เดินหน้าปี 2023 พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัลของทุกองค์กรไทย พลิกโฉมธุรกิจให้ “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน”

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาอาจถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความยากลำบากสำหรับทุกองค์กรธุรกิจ มีเรื่องราวมากมายที่เกิดขึ้นทั้งเรื่องของสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ความไม่แน่นอนในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ จนกระทบมาถึงเรื่องเงินเฟ้อและเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ที่อาจจะเกิดขึ้นทั่วโลกในปีนี้ ทุกองค์กรธุรกิจจึงจำเป็นจะต้องเร่งปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังเป็นไปในอนาคตอันใกล้ AIS Business ในฐานะ Digital Service …

CSA ร่วมกับ MITRE ออกเอกสารฟรี วิธีการโจมตีและรับมือกับคนร้ายสำหรับการใช้งานคลาวด์

เป็นเรื่องสำคัญสำหรับฝ่ายป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ที่ท่านจะต้องรู้ถึงเทคนิคและวิธีการที่คนร้ายใช้งานด้วย แต่ประเด็นคือจากการโจมตีใหม่ๆและเพิ่งเป็นที่รับรู้กันไม่นานว่าเหตุใดถึงต้องมีผู้เชี่ยวชาญสำหรับความมั่นคงปลอดภัยคลาวด์โดยเฉพาะ ทำให้ต้องหวนกับมาทบทวนดูอีกครั้งว่า Framework ที่มีตอนนี้เพียงพอกับการรับมือภัยบนคลาวด์แล้วหรือยัง