เตือน DBGer Ransomware ใช้ EternalBlue และ Mimikatz แพร่กระจายใส่เป้าหมาย

MalwareHunter เผย Satan Ransomware ชื่อดังรีแบรนด์ตัวเองใหม่ ใช้ชื่อ “DBGer Ransomware” พร้อมเปลี่ยนวิธีดำเนินการ ใช้ช่องโหว่ EternalBlue และ Mimikatz เครื่องมือสำหรับขโมยรหัสผ่านในการแพร่กระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เป้าหมายบนระบบเครือข่าย

Credit: Zephyr_p/ShutterStock.com

Satan Ransomware ปรากฏโฉมครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม 2017 โดยเปิดให้บริการในรูปของ Ransomware-as-a-Service (RaaS) ช่วยให้เหล่าอาชญากรไซเบอร์สามารถลงทะเบียนและสร้าง Satan Ransomware เวอร์ชันเฉพาะตัวไปใช้โจมตีผู้อื่นได้

Satan Ransomware ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และเริ่มมีชื่อเสียงในวงการใต้ดิน ส่งผลให้แฮ็กเกอร์ที่อยู่เบื้องหลัง Ransowmare ดังกล่าวพยายามพัฒนา Ransomware ไปอีกขั้นโดยใช้แนวคิดของ WannaCry Ransomware ที่สามารถแพร่กระจายตัวเองบนเครือข่ายระดับโลกได้มาเป็นต้นแบบ โดยทำการเพิ่ม EternalBlue SMB Exploit ลงไปในตัวมัลแวร์ส่งผลให้เมื่อคอมพิวเตอร์ติดมัลแวร์แล้ว มันจะใช้ EternalBlue ในการสแกนคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย แล้วเจาะผ่านช่องโหว่ SMB เพื่อแพร่กระจายตัวต่อไป

เท่านั้นยังไม่พอ ล่าสุด Satan Ransomware ได้เพิ่มความสามารถในการทำ Lateral Movement ลงไปโดยใช้ Mimikatz ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์แบบ Open-source สำหรับขโมยรหัสผ่านของคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย และใช้รหัสผ่านเหล่านั้นในการเข้าถึงและแพร่กระจายตัวต่อ รวมไปถึงเปลี่ยนชื่อตัวเองใหม่เป็น DBGer Ransomware เพื่อแสดงให้เห็นว่า Ransomware ของตนยังมีการพัฒนาและให้บริการอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้เหล่าอาชญากรไซเบอร์สามารถทำเงินได้ไม่แพ้การทำ Cryptocurrency Mining

ที่มา: https://www.bleepingcomputer.com/news/security/dbger-ransomware-uses-eternalblue-and-mimikats-to-spread-across-networks/

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

พบช่องโหว่ใน macOS อนุญาตให้แฮกเกอร์ติดตั้ง Kernel Driver ที่เป็นอันตรายได้

ทีมนักวิจัยด้านความปลอดภัยของ Microsoft ค้นพบช่องโหว่ในระบบ System Integrity Protection ของ macOS ที่อาจถูกใช้ติดตั้งมัลแวร์ระดับ Kernel และหลบเลี่ยงการตรวจสอบความปลอดภัย

อุปกรณ์ Apple เสี่ยงถูกโจมตี ผ่านช่องโหว่คอนโทรลเลอร์ USB-C ACE3

ผู้ใช้อุปกรณ์ Apple กำลังเผชิญความเสี่ยงใหม่ หลังจากที่นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยสามารถแฮ็กคอนโทรลเลอร์ USB-C ACE3 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่รับผิดชอบการจัดการการชาร์จไฟและการถ่ายโอนข้อมูลบนอุปกรณ์รุ่นล่าสุดของ Apple ได้สำเร็จ