Citrix เข้าซื้อกิจการ Wrike ระบบ Work Management สำหรับองค์กรมูลค่า 67,500 ล้านบาท

Citrix ได้ออกมายืนยันถึงการเข้าซื้อ Wrike ธุรกิจ Startup ที่เติบโตมาเป็นระบบ Work Management Platform สำหรับธุรกิจองค์กรที่มูลค่า 2,250 ล้านเหรียญหรือราวๆ 67,500 ล้านบาท

Credit: Wrike

Wrike ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2006 ในฐานะของระบบ Project Management Platform ในรูปแบบ Software-as-a-Service หรือ SaaS เพื่อให้ภาคธุรกิจนำไปใช้งานได้อย่างง่ายดาย และค่อยๆ พัฒนาความสามารถใหม่ๆ เพิ่มเติมมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงได้รับการระดมทุนถึง 26 ล้านเหรียญ ก่อนจะเติบโตและถูกซื้อกิจการไปโดย Vista Equity Partners ในปี 2018 ที่มูลค่าราวๆ 800 ล้านเหรียญหรือ 24,000 ล้านบาท และมาถูกซื้อกิจการอีกครั้งโดย Citrix ในครั้งนี้

Citrix นั้นเป็นบริษัททางด้าน Software ที่มีผลิตภัณฑ์และบริการใน Portfolio ของตนเองอย่างหลากหลาย โดยหนึ่งในโซลูชันที่โดดเด่นนั้นก็คือโซลูชันด้าน Productivity เพื่อช่วยให้ธุรกิจองค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และ Citrix Workspace เองก็เป็นโซลูชันที่ถูกใช้งานโดยธุรกิจองค์กรทั่วโลกเพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้จากทุกที่ทุกเวลาอย่างปลอดภัย เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดของ Desktop Virtualization เป็นรายแรกๆ ของโลก

การเข้าซื้อกิจการของ Wrike โดย Citrix ครั้งนี้ จะทำให้ Citrix สามารถนำเสนอโซลูชันสำหรับการบริหารจัดการการทำงานบน Cloud ให้กับฐานลูกค้าเดิมของ Citrix ได้ทั่วโลก สอดคล้องกับสถานการณ์ที่หลายบริษัทถูกบังคับให้ต้องทำงานจากที่บ้านในเวลานี้

Citrix ระบุว่า Wrike จะยังคงทำงานเป็นเอกเทศต่อไปจนกว่าการเข้าซื้อกิจการจะแล้วเสร็จ ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 นี้ โดยผู้บริหารของ Wrike จะยังคงบริหารทีม Wrike ต่อไป

ผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Wrike สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wrike.com/

ที่มา: https://venturebeat.com/2021/01/19/citrix-acquires-project-management-platform-wrike-for-2-25-billion/

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Meta เผยแผนเล็งใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพสำหรับดาต้าเซนเตอร์

เป็นที่รู้กันว่าการประมวลผลด้าน AI ต้องการพลังงานสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์อย่างมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่ง Meta เองเป็นหนึ่งในผู้เล่นด้าน AI ยักษ์ใหญ่ที่ประสบปัญหาเหล่านี้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้จึงต้องมองหาพลังงานทางเลือกที่ยังต้องสอดคล้องต่อเรื่องอัตราการปลดปล่อยคาร์บอน โดยล่าสุดแนวทางการใช้ความร้อนใต้พิภพเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจและใกล้เข้ามาเรื่อยๆแล้ว

OpenAI เปิดตัว OpenAI o1 โมเดลซีรีส์ใหม่โค้ดเนม Strawberry เน้นให้เหตุผลในงานที่ซับซ้อนขึ้น

วันพฤหัสที่ผ่านมา OpenAI ได้เปิดตัวโมเดล OpenAI o1 ภายใต้โค้ดเนม “Strawberry” โมเดล AI ซีรีส์ใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อใช้เวลาในการประมวลผลในคำตอบให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถตอบคำถามในปัญหาที่ยากขึ้นกว่าเดิมได้ และกำลังจะเทียบชั้นกับนักศึกษาปริญญาเอก (PhD) ด้านฟิสิกส์ เคมี …