พบช่องโหว่จำนวนมากบน Cisco Adaptive Security Appliance เสี่ยงต่อการถูกควบคุมจากภายนอก

นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยของ Cisco Product Security Incident Response Team (PSIRT) ออกมาเตือนถึงโหว่จำนวนมากในอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย Cisco Adaptive Security Appliance (ASA) มีความเสี่ยงต่อการถูกควบคุมจากภายนอกได้

Credit: Helpnetsecurity

 

ช่องโหว่ดังกล่าวมีรหัสคือ CVE-2018-0101 ถูกค้นพบโดย NCC Group บริษัทผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Cyber Security ในฟังก์ชัน Secure Sockets Layer (SSL) VPN ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของซอฟต์แวร์ของ ASA ถูกจัดอยู่ในความร้ายแรงระดับ “Critical” ซึ่งสามารถถูกโจมตีได้จาก Remote Attacker หรือจากการยืนยันตัวตนที่ไม่ได้รับอนุญาต

เงื่อนไขของการเกิดช่องโหว่นี้คือต้องมีการเปิดใช้งานฟีเจอร์ Webvpn บนอุปกรณ์​ Cisco ASA แฮ็คเกอร์สามารถอาศัยช่องโหว่ที่เกิดระหว่างการทำ Free region of memory โดยการทำการปลอมแปลงแพ็คเกต XML ส่งไปยัง Interface ที่ทำการตั้งค่า Webvpn ไว้ ทำให้แฮ็คเกอร์สามารถรันโค้ดแปลกปลอมที่ไม่ได้รับอนุญาต (Arbitrary Code Execution) เพื่อควบคุมอุปกรณ์ตัวนั้นได้

ผลิตภัณฑ์ของ Cisco ที่ได้รับผลกระทบมีดังนี้
  • 3000 Series Industrial Security Appliance (ISA)
  • ASA 5500-X Series Next-Generation Firewalls
  • ASA 1000V Cloud Firewall
  • Adaptive Security Virtual Appliance (ASAv)

Cisco แนะนำให้ผู้ที่ใช้งานทำการอัปเกรดเฟิร์มแวร์เวอร์ชันล่าสุดทันที เพื่ออุดช่องโหว่ดังกล่าว

ที่มา: https://www.helpnetsecurity.com/2018/01/30/cisco-enterprise-appliances-vulnerability/


About นักเขียนฝึกหัดหมายเลข 3

Check Also

เปิดตัว Panduit TX6A Vari-Matrix HD สาย Cat 6A UTP ขนาดเล็กที่สุดในโลก รองรับ 1-10GbE และ PoE++ ป้องกันสัญญาณรบกวนได้เหนือกว่ามาตรฐาน

ในปี 2023 นี้ถือเป็นปีที่น่าสนใจสำหรับวงการสายสัญญาณเครือข่าย เพราะผู้ผลิตทุกรายต่างเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาแข่งขันกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็วของ Ethernet ที่เพิ่มขึ้น, การรองรับอุปกรณ์ IoT ให้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไปจนถึงการตอบรับต่อประเด็นด้านความยั่งยืนหรือ Sustainability

ผลกระทบจากควอนตัมต่อระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ประเทศไทยต้องเร่งเดินหน้าแผนรับมือ [Press Release]

การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing)  การแข่งขันด้านเทคโนโลยีการคำนวณแบบใหม่ที่กำลังร้อนแรง และเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงไทยก็เกาะติดกระแสอย่างใกล้ชิด แต่นักวิจัยและนักเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์กำลังกังวลกับข้อดีข้อเสียของการคำนวณเชิงควอนตัม แม้ประโยชน์จะมีมากมาย ตั้งแต่เรื่องแมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยทางการแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการรหัสลับและระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ แต่เทคโนโลยีเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงและช่องโหว่ใหม่โดยเฉพาะความสามารถในทะลุทะลวงการเข้ารหัสยุคใหม่ซึ่งถือเป็นรากฐานของอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และอีคอมเมิร์ซ ที่เชื่อมผสานสังคมของเราเข้าด้วยกัน