Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

[Guest Post] ลับคมเครื่องมือไอทีให้พร้อม! เมื่อธุรกิจต้องเผชิญ “Double Disruption”

ทุกธุรกิจรู้ดีว่าวันนี้ “ลูกค้าไม่เหมือนเดิม” เพราะสังคมโลกที่เปลี่ยนไปและการเกิดขึ้นของโควิด-19 ภาวะนี้ถูกเรียกว่า Double Disruption หรือการหยุดชะงัก 2 ต่อที่มีผลทำให้คนทั่วโลกต้องเปลี่ยนวิถีการทำงาน การใช้ชีวิต การเว้นระยะห่าง และอีกหลายพฤติกรรม

ไม่ว่าจะ Disruption แรกที่เป็นผลมาจากอิทธิพลของเทคโนโลยีดิจิทัล หรืออีก Disruption ที่มาจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ทั้งคู่ Double Disruption ล้วนบีบให้พวกเราที่เป็นบริษัทธุรกิจต้องคิดใหม่เรื่องการให้บริการลูกค้า เพราะลูกค้าปัจจุบันไม่เดินมาหาเรา และพนักงานบางแผนกก็ไม่จำเป็นต้องนั่งทำงานในออฟฟิศอีกต่อไป

สิ่งที่องค์กรจะต้องทำคือการปรับตัว ปรับวิธีคิด เพื่อให้รู้ว่าจะนำเทคโนโลยีมาให้บริการในโลกที่เปลี่ยนไปได้อย่างไร แถมยังมีเหตุด่วนร้ายแรงอื่นที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งยังไม่มีใครรู้ชัดว่าจะเป็นอะไร ดังนั้นการจะรับมือกับปี 2564 หรือปีต่อไปนั้น องค์กรธุรกิจจะต้องเตรียมความพร้อมไว้อย่างน้อย 4 เรื่อง

4 ด้านไอที ที่ธุรกิจต้องปรับให้ทัน

ผู้เชี่ยวชาญอย่าง รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไอเอ็มซี (IMC Institute) ฟันธงมาแล้วว่าด้านแรกที่องค์กรธุรกิจไทยจะต้องปรับตัวเพื่อรับมือ Double Disruption คือการปรับกลยุทธ์ด้านการวางแผนสถาปัตยกรรมไอที จากการรวมศูนย์ให้เป็นการกระจาย อาจจะปรับให้ข้อมูลถูกเก็บไว้หลายที่ ทั้งพับลิกคลาวด์หรือที่ใดก็ได้ แต่ต้องทำให้บริการสร้างได้เร็ว ขณะเดียวกันก็ต้องกระจายเรื่องความปลอดภัย จากที่กระจุกแต่ในบางส่วนขององค์กร ก็จะต้องกระจายให้ครอบคลุมทั่วทุกส่วนขององค์กร

แต่ด้านที่ 2 กลับสำคัญที่สุด นั่นคือการปรับตัวเรื่องบิ๊กดาต้า เนื่องจากเทรนด์เทคโนโลยีสำคัญของปีหน้าคือ ‘อินเทอร์เน็ตแห่งพฤติกรรม’ ที่ทำให้ธุรกิจต้องเก็บข้อมูลให้มากที่สุด ทั้งในส่วนของระบบ CRM และช่องทางโซเชียล โดยต้องให้สอดคล้องกับกฎหมาย เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และสร้างโซลูชันที่ตอบทุกฝ่าย

เรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญย้ำหนักหนาว่า ถ้าองค์กรไหนอยากจะแข่งขันได้ในอนาคต จะต้องทำบิ๊กดาต้า เหตุผลเพราะข้อมูลเป็นสินทรัพย์ในรูปแบบใหม่ในยุคนี้ ซึ่งหากองค์กรไหนไม่มีบิ๊กดาต้า ไม่เข้าใจว่าลูกค้ามาซื้อสินค้าเพราะอะไร องค์กรนั้นจะเหนื่อยแน่นอน

อินเทอร์เน็ตแห่งพฤติกรรมหรือ Internet of Behaviors (IoB) เป็น 1 ใน 9 เทรนด์เทคโนโลยีที่ต้องจับตามองปี 2564 ที่การ์ทเนอร์ประกาศมา การ์ทเนอร์อธิบายว่า IoB จะเกิดขึ้นมาจากการที่หลายเทคโนโลยีได้รวบรวมข้อมูลรอบตัวของผู้ใช้งานในชีวิตประจำวัน โดยจะทำผ่านเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วอย่าง facial recognition, location tracking และ big data แล้วเชื่อมต่อข้อมูลเหล่านี้เข้าด้วยกัน เพื่อชี้นำพฤติกรรมของผู้ใช้งาน (อ่านข้อมูล 9 เทรนด์เทคโนโลยีที่ต้องจับตามองปี 2564 ของการ์ทเนอร์เพิ่มเติมได้ที่ https://www.cattelecom.com/cat/siteContent/3982/275/Gartner+Technology+Trends+for+2021)

ด้านที่ 3 คือทุกองค์กรควรมองไปที่ระบบ AI เรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญย้ำว่าองค์กรควรลงมือหรือมองแนวทางทำออโตเมชัน รวมถึงเตรียมความพร้อมในส่วนวิศวกร เพื่อปรับให้บริการองค์กรสามารถปรับหรือเพิ่มระบบ AI ให้ฝังอยู่ในบริการได้มากที่สุด คำแนะนำสำหรับธุรกิจที่จะเริ่มนำ AI ไปใช้ ควรตั้งต้นที่จุดซึ่งดำเนินการไม่ยาก แต่เป็นจุดที่เห็นโอกาสว่า AI สามารถช่วยหรือทำประโยชน์ได้มาก

ด้านที่ 3 นี้สอดรับกับด้านที่ 4 คือการทำกลยุทธ์ด้านลูกค้าเป็นศูนย์กลาง องค์กรควรปรับให้มีการออกแบบแอปพลิเคชันหรือบริการให้ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา ตอบความต้องการได้ตลอด เป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาให้บริการลูกค้าและการทำงานของพนักงาน เพื่อให้เกิดกระบวนการที่สามารถทำงานและให้บริการได้ทุกที่ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์

สร้างจุดเปลี่ยนเพื่อเร่งสปีด

ในเมื่อทุกบริษัทควรต้องมีเทคโนโลยีไว้ตอบโจทย์พฤติกรรมลูกค้าที่ทำทุกอย่างผ่านออนไลน์ สิ่งสำคัญที่ต้องทำคู่ขนานไปกับการปรับตัว 4 ด้านนี้จึงเป็นการหาจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะช่วยเร่งสปีดให้องค์กรของเราแซงหน้าคู่แข่งได้ คำตอบของเรื่องนี้คือการเพิ่มความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลผ่านบริการ Direct Cloud Connect รวมถึงการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายสื่อสารในองค์กรด้วย SD-WAN

SD-WAN เป็นเทคโนโลยีสำหรับธุรกิจที่มีสำนักงานหรือสาขามากกว่าหนึ่ง ความเก่งของ SD-WAN จะทำให้มั่นใจได้ว่าเครือข่ายขององค์กรจะไม่สะดุด ไร้รอยต่อการใช้งาน SD-WAN สามารถใช้งานกับองค์กรที่มีการขยายและปรับลดขนาดองค์กรอย่างรวดเร็ว และถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการเข้าถึงแอปพลิเคชันที่สำคัญทางธุรกิจให้ปลอดภัยและใช้งานได้เสถียร

ขณะที่ Direct Cloud Connect คือบริการสื่อสารข้อมูลสำหรับองค์กรภาครัฐและเอกชน เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสำนักงาน หรือศูนย์ข้อมูลไปยังผู้ให้บริการ Cloud ระดับโลกอย่าง AWS หรือ Azure เพื่อใช้งาน Cloud ในรูปแบบต่างๆ ผ่านโครงข่ายส่วนตัวที่เป็น Private Network ทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่าการเชื่อมต่อแบบเดิมที่ผู้ใช้บริการต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสาธารณะก่อน

แม้ทั้ง Direct Cloud Connect และ SD-WAN จะเป็นคำตอบสำหรับธุรกิจยุคใหม่ที่ต้องการลับคมเครื่องมือไอทีเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ด้วยการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น แต่ก็ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องทั้งหมด เพราะองค์กรควรเฟ้นหาผู้ให้บริการที่ไว้ใจได้ทั้งในแง่ของเครือข่ายที่ครอบคลุมมากกว่า และประสบการณ์ในการให้บริการที่เหนือกว่า และพร้อมดูแลและให้บริการ 24 ชั่วโมงเพื่อรองรับทุกความต้องการของทุกองค์กร

เท่านี้ องค์กรก็พร้อมเผชิญหน้ากับ “Double Disruption” ในปี 2564 ได้อย่างมั่นใจกว่าเดิม.

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เอชพี เปิดตัวพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AI PCs [PR]

เอชพี เปิดตัวพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AI PCs ขับเคลื่อน ด้วยขุมพลัง AI ยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน การสร้างสรรค์ และประสบการณ์ของผู้ใช้ในสภาพแวดล้อม การทำงานแบบไฮบริด

Microsoft ยกเลิกการใช้ 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว

Microsoft ประกาศยกเลิกการใช้กุญแจเข้ารหัส 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว เปลี่ยนไปใช้กุญแจเข้ารหัสความยาว 2048-bit เป็นอย่างน้อย