Black Hat Asia 2023

อนาคตของธุรกิจประกันภัย: Blockchain และ Internet of Things

ใน TechCrunch มีบทความน่าสนใจเกี่ยวกับการนำ Blockchain และ Internet of Things (IoT) มาใช้ในธุรกิจประกันภัย ซึ่งทางทีมงาน TechTalkThai เห็นว่าน่าสนใจดี จึงขอนำมาสรุปให้ได้อ่านกันดังนี้ครับ

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com

การมาของเทคโนโลยี Blockchain นั้นจะทำให้การทำสัญญามีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยไม่ยึดติดกับพื้นที่, เขตประเทศ, กองทุน หรือความล่าช้าในการจัดการเอกสารอีกต่อไป ด้วยคุณสมบัติในแง่ของความโปร่งใส และการเสริมเทคโนโลยีในการทำ Matching และการตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ เพื่อทำการโอนเงินเบี้ยประกันให้แก่ผู้รับโดยอัตโนมัติตามเงื่อนไขต่างๆ ได้ ทำให้เทคโนโลยีของธุรกิจประกันมีความคล่องตัวสูงยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน

และเมื่อนำความสามารถของเทคโนโลยีอย่าง Internet of Things (IoT) เข้าไปผสานด้วย ก็ทำให้การติดตามเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับลูกค้าประกันสามารถทำได้อย่าง Real-time และนำข้อมูลของสิ่งที่เกิดขึ้นมาใช้เป็นเงื่อนไขในการ Trigger การจ่ายเงินประกันได้ทันทีพร้อมมีหลักฐานบันทึกในระบบ ประเด็นนี้จะทำให้ธุรกิจประกันมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน และสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สู่ตลาดได้มากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างของธุรกิจประกันที่นำเทคโนโลยีทั้ง 2 นี้มาใช้ ได้แก่

  • Peer-to-Peer Insurance การประกันที่ไม่ได้ใช้กองทุนใหญ่หรือบริษัทขนาดใหญ่เพียงรายเดียว แต่ระดมทุนจากผู้คนหลากหลายเพื่อใช้สร้างเป็นเงินสำรองสำหรับธุรกิจประกัน เป็นทางเลือกใหม่สำหรับการลงทุนให้แก่กองทุนและบุคคลทั่วไปได้ โดยใช้ Blockchain ในการสร้าง Smart Contract ทั้งหมดในระบบ ทำให้มีความโปร่งใสและยืดหยุ่นสำหรับทุกคน
  • Parametric Insurance การประกันที่จะมีการจ่ายเงินให้ผู้ทำประกันเมื่อเกิดเงื่อนไขต่างๆ ตามที่ตกลงกันไว้ เช่น เกิดน้ำท่วม หรือภัยพิบัติรูปแบบอื่นๆ โดยระบบ Smart Contract จะระบุเงื่อนไขที่ผู้ทำประกันจะได้รับเงินเอาไว้ และนำไปตรวจสอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่างๆ โดยอัตโนมัติ หรือใช้ข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ที่ติดตั้งเอาไว้ (เช่นการตรวจสอบเหตุรถชน) หรือมีบริษัท 3rd Party เป็นผู้ยืนยันว่าเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นจริง และทำการจ่ายเงินประกันโดยอัตโนมัติอย่างรวดเร็ว
  • Cross-border Insurance/Microinsurance การประกันข้ามชาติที่มีความโปร่งใสสูงด้วย Blockchain และใช้เงินตราแบบ Digital Currency ทำให้บริษัทประกันสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์แก่ประชากรทั่วโลกได้ และเข้าถึงกลุ่มคนเฉพาะกลุ่มที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของโลกได้ โดยการโอนเงินผ่าน Blockchain นั้นจะทำให้มั่นใจว่าเงินประกันจะไปถึงมือผู้รับจริงๆ ไม่ได้ขาดตอนไประหว่างทาง ทำให้การประกันในเชิงที่เป็นการกุศลสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมั่นใจ
  • ระบบสร้าง Smart Contract การนำเสนอสินค้าการประกันนั้นจะเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบ Digital ทั้งหมด และการออกแบบสัญญานั้นก็สามารถทำได้บนคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ทำให้ผู้ขายประกันสามารถออกแบบแผนการประกันที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า, ประเมินความเสี่ยงกับระบบทั้งหมด และนำเสนอขายให้แก่ลูกค้าได้ทันที

โดยหลักๆ แล้ว ประเด็นสำคัญของการนำ Blockchain มาใช้นั้นคือการสร้างความโปร่งใสในขณะที่เพิ่มความเป็นอัตโนมัติเข้าไปในระบบ ทั้งในแง่ของการติดตามเงื่อนไขในสัญญา, การจ่ายเงิน, การตรวจสอบความเสี่ยง และอื่นๆ รวมไปถึงการขยายตลาดสู่ทั่วโลก ในขณะที่ Internet of Things จะเข้ามามีบทบาทในฐานะการติดตามข้อมูลต่างๆ ว่าเป็นไปตามเงื่อนไขของประกันหรือไม่โดยอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและความโปร่งใสให้แก่ธุรกิจประกันในอีกทางหนึ่งนั่นเอง

ก็ถือเป็นแนวทางที่น่าสนใจดีครับ

 

ที่มา: https://techcrunch.com/2016/10/29/blockchain-is-empowering-the-future-of-insurance/


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

พลิกมุมคิดการจัดการคลาวด์ไอทีอย่างสมาร์ตฉบับวีเอ็มแวร์ [Guest Post]

แม้คลาวด์จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการพาองค์กรก้าวข้ามวิกฤตไปสู่การสร้างสรรค์โมเดลธุรกิจหรือกลยุทธ์การแข่งขันใหม่ ด้วยคุณลักษณะที่คล่องตัว (Agility) ในการปรับความต้องการใช้งานโดยอัตโนมัติ (Auto-Scaling) ได้ด้วยตัวเอง (Self-Services) ทว่าหลายองค์กรซึ่งเลือกปฏิวัติระบบธุรกิจขึ้นสู่คลาวด์กลับประสบปัญหาการจัดการทรัพยากรที่ยิบย่อยบนคลาวด์ไม่ไหว แถมหัวจะปวดกับภัยคุกคามที่ยุ่งยากในการป้องกัน ด้วยเหตุนี้ ความคาดหวังต่อไอทีคลาวด์ยุคถัดไป คือ การปรับแต่งแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มคลาวด์ไอทีให้ทันสมัยตรงต่อความต้องการทางธุรกิจ ภายใต้ระบบการรักษาความปลอดภัยแบบองค์รวมที่แข็งแกร่ง ทั่วถึง และเป็นอัตโนมัติกว่าเดิม

กลับมาอีกครั้ง! จีเอเบิล พร้อมปั้นคนเทคฯ สายงาน Data กับโครงการ “Tech Scoop Academy” รุ่นที่ 2 เฟ้นหาคนรุ่นใหม่สู่อุตสาหกรรมไอที [Guest Post]

ปัจจุบันความต้องการของคนทำงานที่มีทักษะทางด้านดิจิทัลเทคโนโลยีเพิ่มสูงมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้องค์กรทั่วโลกต่างต้องปรับตัว เพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่พร้อมจะเติบโตไปกับองค์กร ให้เข้ามาทำงาน รวมทั้งต้องสามารถสร้างสภาพแวดล้อมในองค์กรให้เหมาะแก่การเรียนรู้ ติดอาวุธ และเพิ่มพูนทักษะทางด้านดิจิทัลเทคโนโลยีให้พนักงานได้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ