หลายองค์กรที่เริ่มปรับเปลี่ยนธุรกิจให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลมากขึ้น ส่วนใหญ่กำลังมองหาเครื่องมือเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร เช่น การนำเอา RPA หรือ Robotic Process Automation มาประยุกต์ใช้เพื่อลดระยะเวลาในการทำงาน และทำให้งานเหล่านั้นสามารถดำเนินไปได้โดยอัตโนมัติ แต่ปัญหาที่หลายองค์กรพบเจอ คือ Business user หรือพนักงานในองค์กรไม่ทราบขั้นตอนการบวนการทำงานทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ หรือไม่ทราบว่าในขณะนี้มีกระบวนการขั้นตอนการทำงานใดที่ดำเนินอยู่บ้าง หรือในแต่ละขั้นตอนใช้เวลามากน้อยแค่ไหน มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง เพราะฉะนั้น จากปัญหาเหล่านี้ทำให้การขยายการทำงานของ RPA เป็นไปได้อย่างจำกัด และไม่สามารถลดระยะเวลาการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ในบทความนี้ เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ 2 เครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว ได้แก่ Process mining และ RPA นอกจากนี้ทุกท่านจะได้ทราบถึงประโยชน์จากการนำ 2 เครื่องมือดังกล่าวมาทำงานร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
Process mining เป็นเครื่องมือที่ใช้กระบวนการทางด้าน Data Science เพื่อค้นหา ตรวจสอบและปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการทำงาน โดยผสานการทำ Data mining และ Process analytic เข้าไว้ด้วยกัน โดยดึงข้อมูล log จาก Business application ต่างๆที่มีการใช้งานภายในองค์กร เช่น ระบบ ERP, CRM, BPM, IOT เป็นต้น และนำข้อมูลเหล่านั้นมาหาความความเชื่อมโยง และความสัมพันธ์ เพื่อทำความเข้าใจถึงประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน รวมถึงทำให้เห็นปัญหาของจุดที่เป็นคอขวด เพื่อนำไปสู่กระบวนการปรับปรุงการทำงานต่อไป
Process mining สามารถทำงานในลักษณะรูปแบบต่างๆ ได้ดังนี้
- Discover : เป็นกระบวนการทำ Process discovery โดยการนำ event log มาสร้างเป็น process model โดยเป็นกระบวนการที่ถูกนำมาใช้งานมากที่สุด
- Conformance เป็นกระบวนการตรวจสอบความสอดคล้องกันระหว่าง process model และขั้นตอนการทำงานจริง ว่ามีการทำงานคลาดเคลื่อนไปจากที่ควรจะเป็นหรือไม่
- Enhancement เป็นการบวนการวิเคราะห์การทำงาน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของ process model เดิม ให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น เช่น การแก้ปัญหาคอขวดที่เกิดขึ้นในการบวนการทำงาน

RPA หรือ Robotic Process Automationเป็นเครื่องมือที่ทำงานในลักษณะ business automation โดยมีคำสั่งต่างๆให้เลือกใช้งาน และสามารถนำคำสั่งเหล่านั้นมาประกอบกันเพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานที่เลียนแบบการทำงานของมนุษย์ เช่น เปิด-ปิด web browser, รับ-ส่ง email, key ข้อมูล เป็นต้น ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้การใช้งาน RPA ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานเดิม และยังคงสามารถทำงานร่วมกับ Application ได้ทุกรูปแบบ
RPA ประกอบไปด้วยเครื่องมือต่างๆ ดังนี้
- Studio เป็นเครื่องมือในการสร้าง Script สำหรับทำงานแบบอัตโนมัติในรูปแบบ Low-Code เพื่อให้การสร้าง Automation รูปแบบต่างๆ เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย โดยประกอบไปด้วยคำสั่งต่างๆให้ใช้งานมากว่า 500 คำสั่ง
- Environment หรือ RPA server ไว้สำหรับการบริหารจัดการ user และ bot script ทั้งหมด รวมถึงการ trigger, schedule bot ให้ทำงานตามเงื่อนไขที่วางไว้
- Dashboard สำหรับ monitor ดูการทำงานของ RPA รวมถึงสถานะการทำงานของ bot แต่ละตัว โดยผู้ใช้สามารถ customize dashboard เพิ่มเติมเองได้ด้วยตัวเอง
- Attended bot เป็น bot ที่ทำงานร่วมกับมนุษย์ โดยมนุษย์เป็นคนสั่ง trigger มักถูกประยุกต์ใช้งานในลักษณะ front-office operation
- Unattended bot เป็น bot ที่รองรับการทำงานในลักษณะ full automation โดยสามารถตั้งเวลาการทำงานล่วงหน้า หรือสั่งทำงานผ่าน web service, api เป็นต้น เหมาะกับปริมาณงานมากๆ มีความซับซ้อน หรือมีการทำงานร่วมกับ application อื่นๆ
- Chatbot สามารถพัฒนาโดยทำงานร่วมกับ RPA โดยรองรับทั้ง Intelligence virtual agent (IVA) และ Intelligence Voice Response (IVR)
จะเห็นได้ว่าการทำ Process Mining ทำให้เราเห็นขั้นตอนและกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นภายใต้การทำงานในองค์กร รวมถึงสามารถเห็นปัญหาในแต่ละจุดได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะนำมาสู่กระบวนการปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธภาพมากยิ่งขึ้น เช่น จุดที่มีการทำงานถี่ๆซ้ำๆ ที่สามารถนำ RPA มาช่วยลดระยะเวลาการทำงานได้ เป็นต้น ทั้งนี้ Process Mining ยังรองรับการ Simulate process หลังจากที่ทดลองนำ automation tools มาใช้งานว่าสามารถลดระยะเวลาลงได้มากน้อยแค่ไหน และคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ
IBM Process Mining และ RPA ถือเป็นส่วนประกอบหลักใน IBM Cloud Pak for Business Automation เพื่อช่วยให้ลูกค้าสร้างเส้นทางการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจไปในแนวทาง Automation ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ Cloud Pak for Business Automation ยังประกอบไปด้วยเครื่องมืออื่นๆ ได้แก่ Business Automation Workflow, Blueworks Live, Operational Decision Manager, Automation Decision Service และ Business Automation Insight
ทั้งนี้สำหรับผู้ที่สนใจทดลองใช้งานสามารติดต่อ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
บริษัท คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน จำกัด
โทร 02 311 6881 #7156 หรือ email : cu_mkt@cu.co.th

เขียนบทความโดย คุณอนุกูล คงสกูล
Presales Software Specialist
บริษัท คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน จำกัด
