Android Emulator รุ่นใหม่ออกแล้ว ประกาศรองรับ CPU AMD และ Hyper-V

Google ได้ออกมาเผยถึงฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดบน Android Emulator รุ่น 27.3.8 ที่จะสามารถทำงานบน CPU ของ AMD และ Hypervisor อย่าง Microsoft Hyper-V ได้แล้ว

 

Credit: Google

 

การรองรับ AMD CPU นี้จะช่วยให้ Linux, macOS และ Windows สามารถใช้งาน Android Emulator ได้อย่างยืดหยุ่นยิ่งขึ้นบน Hypervisor บนแต่ละระบบปฏิบัติการ ส่วนการรองรับการทำงานบน Microsoft Hyper-V นี้เป็นจริงขึ้นมาได้เพราะ Microsoft ออก Windows Hypervisor Platform (WHPX) API ใหม่มา และทาง Microsoft เองก็ยังได้เข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการ Open Source Software ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่วนนี้เองก็ทำให้ Android Emulator ทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้นไปด้วย

ในอัปเดตนี้ Android Emulator เองก็ยังได้เสริมความสามารถในการโหลด Snapshot ขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นสำหรับเหล่านักพัฒนาที่ใช้ Intel Hardware Accelerated Execution Manager (HAXM) ด้วย

นอกจากนี้ Google ยังเผยว่าปัจจุบัน Android Emulator นั้นได้รับความนิยมมาก โดยเครื่อง Android ที่ทำงานบน Android Emulator นี้มีจำนวนมากกว่าเครื่อง Android ที่ใช้งานกันอยู่จริงมากกว่า 2 เท่าเลยทีเดียว

ผู้ที่สนใจสามารถโหลด Android Emulator รุ่นล่าสุดไปใช้งานได้ทันทีที่ https://developer.android.com/studio/run/emulator#install ครับ

 

ที่มา: https://android-developers.googleblog.com/2018/07/android-emulator-amd-processor-hyper-v.html


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เปิดตัว Panduit TX6A Vari-Matrix HD สาย Cat 6A UTP ขนาดเล็กที่สุดในโลก รองรับ 1-10GbE และ PoE++ ป้องกันสัญญาณรบกวนได้เหนือกว่ามาตรฐาน

ในปี 2023 นี้ถือเป็นปีที่น่าสนใจสำหรับวงการสายสัญญาณเครือข่าย เพราะผู้ผลิตทุกรายต่างเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาแข่งขันกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็วของ Ethernet ที่เพิ่มขึ้น, การรองรับอุปกรณ์ IoT ให้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไปจนถึงการตอบรับต่อประเด็นด้านความยั่งยืนหรือ Sustainability

ผลกระทบจากควอนตัมต่อระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ประเทศไทยต้องเร่งเดินหน้าแผนรับมือ [Press Release]

การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing)  การแข่งขันด้านเทคโนโลยีการคำนวณแบบใหม่ที่กำลังร้อนแรง และเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงไทยก็เกาะติดกระแสอย่างใกล้ชิด แต่นักวิจัยและนักเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์กำลังกังวลกับข้อดีข้อเสียของการคำนวณเชิงควอนตัม แม้ประโยชน์จะมีมากมาย ตั้งแต่เรื่องแมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยทางการแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการรหัสลับและระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ แต่เทคโนโลยีเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงและช่องโหว่ใหม่โดยเฉพาะความสามารถในทะลุทะลวงการเข้ารหัสยุคใหม่ซึ่งถือเป็นรากฐานของอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และอีคอมเมิร์ซ ที่เชื่อมผสานสังคมของเราเข้าด้วยกัน