CDIC 2023

Akamai เผย การโจมตี DDoS ขนาด 665Gbps เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ IoT ที่ถูกแฮ็ค

การโจมตี DDoS ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์นี้ เกิดขึ้นจากเหล่าอุปกรณ์ IoT ที่ไม่ได้รับการรักษาความปลอดภัยทั่วโลก

Credit: ShutterStock
Credit: ShutterStock

Akamai ผู้ให้บริการ CDN ที่สามารถยับยั้งการโจมตี DDoS ขนาด 665Gbps มาได้เป็นเวลานานถึง 3 วันก่อนตัดสินใจจะหยุดเพราะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาลนั้น ได้ออกมาเผยข้อมูลแล้วว่าการโจมตีครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์นี้เกิดขึ้นจากฝีมือของอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ที่ถูกโจมตีและฝัง Botnet ลงไปเพื่อใช้ในการทำ DDoS โดยเฉพาะ

จำนวนของอุปกรณ์ IoT ที่ถูกนำมาใช้ในการโจมตีครั้งนี้ยังไม่เป็นที่เปิดเผย แต่ก็อาจมีจำนวนมากถึงล้านอุปกรณ์ก็เป็นได้ อย่างไรก็ดีแนวโน้มลักษณะนี้ถือว่าอันตรายมากเพราะในอนาคตที่มีการคาดการณ์กันว่าอุปกรณ์ IoT นั้นอาจมีจำนวนมากถึง 21,000 ล้านอุปกรณ์ภายในปี 2020 การโจมตีในลักษณะนี้ก็จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นไปอีกเป็นอย่างมาก

ยังมีการเปิดเผยข้อมูลอีกด้วยว่า การโจมตีในครั้งนี้ไม่ได้มีการใช้เทคนิค Reflection หรือ Amplification แต่อย่างใด แต่ Traffic ทั้งหมดนั้นเป็น HTTP Request ของจริง ในขณะที่การสืบสวนไปถึงต้นตอก็ยังคงไม่ประสบความสำเร็จและยังไม่ทราบถึงจุดประสงค์ที่ชัดเจนในการโจมตีครั้งนี้ แต่ทาง Akamai เองก็จะทำการวิเคราะห์และค้นหาวิธีการเพื่อรับมือการโจมตีลักษณะนี้ต่อไปในอนาคต

ที่มา: http://www.networkworld.com/article/3123672/security/largest-ddos-attack-ever-delivered-by-botnet-of-hijacked-iot-devices.html


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

CloudCampus 10 Gbps คุณภาพสูงของหัวเว่ยเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่โลกอัจฉริยะในอุตสาหกรรมต่าง ๆ [Guest Post]

ในระหว่างงานหัวเว่ย คอนเนกต์ (Huawei Connect) ประจำปี 2566 หัวเว่ยได้เปิดตัวโซลูชัน CloudCampus 10 Gbps คุณภาพสูงเวอร์ชันอัปเกรดใหม่ที่มาพร้อมกับ 4 ฟีเจอร์สุดพิเศษ ได้แก่ การเข้าถึงความเร็วสูง, สถาปัตยกรรมแบบเรียบง่าย, สุดยอดประสบการณ์ และการดำเนินงานและการบำรุงรักษาแบบเรียบง่าย (O&M) โดยโซลูชันดังกล่าวพร้อมรองรับอนาคต มีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับองค์กรทั่วโลกในการสร้างเครือข่ายแคมปัสคุณภาพสูง “ความเร็ว 10 Gbps สำหรับสำนักงาน, 10 Gbps สำหรับการผลิต และ 10 Gbps สำหรับสาขา” เพื่อเร่งความเร็วในการเดินทางเปลี่ยนผ่านจากยุคดิจิทัลไปสู่ยุคระบบอัจฉริยะ

หัวเว่ย กำหนดนิยามใหม่ของความปลอดภัย เปิดตัว HiSec ผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ และ HiSec SASE โซลูชันรักษาความปลอดภัยทรงพลัง [Guest Post]

ในงานหัวเว่ย คอนเนกต์ (HUAWEI CONNECT) ประจำปี 2566 หัวเว่ย ซีเคียวริตี้ (Huawei Security) ได้รวบรวมสุดยอดผู้นำอุตสาหกรรมระดับโลก ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค และผู้มีอำนาจตัดสินใจระดับอาวุโสในอุตสาหกรรม มาร่วมสำรวจแนวทางใหม่ในการพัฒนาความปลอดภัยของเครือข่าย โดยในระหว่างการประชุมด้านความปลอดภัยนั้น คุณไมค์ หม่า (Mike Ma) ประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัย …