CDIC 2023

8 Buzzword สวยหรูด้านความมั่นคงปลอดภัย

เทคโนโลยีนั้นเปลี่ยนรวดเร็วทางผู้ผลิตโซลูชันต่างๆ ก็ย่อมเกาะกระแสเทคโนโลยีเกิดใหม่ไปตามกัน ซึ่งวันนี้เราขอนำข้อคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจาก Darkreading เกี่ยวกับ 8 คำสวยหรูด้านความมั่นคงปลอดภัยเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจคำศัพท์ตามสมัยนิยม (Buzzword) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการโดยไม่หลงไปกับความหวือหวาที่คนขายมักนำเสนอ

Credit: ShutterStock.com

1.Artificial Intelligence (AI)

เป็นคำที่นิยมมากตอนนี้อย่าเพิ่งหลงคารมณ์ผู้ขายที่พูดถึงคำนี้ลองตีโจทย์ของตัวเองก่อนว่าเทคโนโลยีนี้จะสามารถแก้ปัญหาของเราได้จริงไหม อย่างไร เช่น เมื่อเจอโฆษณา AI ในฝั่ง Endpoint ก็ลองถามคำถามว่า ข้อมูลที่ระบบต้องใช้มีอะไรบ้าง จะสเกลการใช้งานและประสิทธิภาพตอบโจทย์การใช้งานระดับองค์กรได้อย่างไร หรือ AI วิเคราะห์อย่างไรว่าอะไรน่าสนใจและต้องแจ้งเตือนเมื่อไหร่ เกิด False Positive เท่าไหร่ในการใช้งานจริงระดับองค์กรขนาดใหญ่และจะปรับจูนให้ลดลงได้อย่างไรบ้าง

2.Machine Learning

หากคุณกำลังมองหาโซลูชันด้านการตรวจจับมัลแวร์แล้วเจอคนขายพูดถึง Machine Learning ลองตั้งคำถามดู เช่น ให้คนขายเล่าให้ฟังว่านำมาใช้ตรวจจับมัลแวร์ได้ยังไงและค่า False Positive เป็นอย่างไร ซึ่งคนขายสมควรจะให้ข้อมูลได้ชัดเจนหากมีการใช้ Machine Learning จริง

3.Next-Generation

ถ้าคุณเจอคนขายเริ่มเกริ่นคำนี้ปุ๊บกรุณาบอกให้เขาหยุดก่อนเพราะแท้จริงแล้วคำนี้เป็นเพียงคำที่บอกว่านี่คือสินค้าใหม่กว่าของเดิมหรือคู่แข่งเท่านั้น จากนั้นเริ่มต้นด้วยการชี้แจงปัญหาของคุณเลยว่ากำลังมองหาอะไรให้คนขายอธิบายเป็นภาษาธรรมดาที่ไม่ติด Buzzword ว่าแท้จริงแล้วของใหม่ที่ว่าแก้ปัญหาของคุณได้จริงหรือเปล่า

4.Data-driven

ตอนนี้มีคนขายโซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยในตลาดคนไหนที่ไม่พูดคำนี้บ้าง เราทุกคนรู้อยู่แล้วว่าโซลูชันเหล่านี้ต้องมีข้อมูล ดังนั้นถามไปตรงๆ เลยว่าข้อมูลที่ว่าคืออะไร ได้จากไหน เก็บที่ไหน ประมวลผลอย่างไร มี True Positive และ False Positive เท่าไหร่จะปรับลดได้อย่างไร

5.Real-time

ไม่มีอะไรในโลกนี้ Real-time จริงหรอกเพราะถึงอย่างไรข้อมูลที่เกิดขึ้นจากต้นทางถึงปลายทางก็ต้องถูกส่งมาเพียงแต่ว่าอาจจะเร็วมากกว่าสมัยก่อน ดังนั้นถ้าเจอคนขายฝันว่า Real-time ถามเจาะลึกไปเลยว่าระยะเวลาของข้อมูลที่จะถูกส่งมาประมวลผล เวลาตอนประมวลผล และเวลาที่ต้องวิเคราะห์ใช้เวลากี่วินาที หรือนาที อันที่จริงแล้วแค่ทำได้ในระดับไม่กี่นาทีก็เก่งแล้ว

6.Anomaly Detection

ภายใต้การใช้งานระดับองค์กรนั้นมีการใช้งานที่น่าสงสัยจำนวนมากแต่คนขายควรจะตอบให้ได้ในเชิงคอนเซ็ปต์ว่าสิ่งที่นำเสนอทำงานอย่างไร และจะระบุพฤติกรรมที่ผิดปกติซึ่งอันตรายจริงๆ ได้อย่างไร

7.Analytics

คำนี้เป็นเพียงการบ่งบอกว่ามีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในหลายมุมมองและกลั่นกรองสิ่งที่น่าสนใจออกมา ดังนั้นผู้นำเสนอต้องอธิบายได้ว่าข้อมูลอะไรที่จะถูกนำไปใช้ วิธีการที่ใช้ตัดสินใจว่าทำไมกิจกรรมนั้นถึงน่าสนใจ สิ่งที่บอกนั้นแม่นยำแค่ไหน จะรู้ได้อย่างไรว่าไม่มี Noise เจือปน

8.Automation

ถ้าเราสามารถทำสิ่งนี้ได้จริงคงจะดีงามมากแต่เมื่อมีคนมาพรีเซ็นต์เรื่องเหล่านี้ลองถามเขากลับไปดูว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่นำเสนอมีขอบเขตแค่ไหนและจะสามารถช่วยแก้ไขขั้นตอนการทำงานของคุณส่วนที่สิ้นเปลืองทรัพยากรจำนวนมากได้จริงหรือไม่อย่างไร ไม่ใช่ทำได้แค่นิดหน่อยและไม่ตรงกับกระบวนการขององค์กร


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

ขอเชิญร่วมงานสัมมนา Digital Fundamental for the Future [10 ต.ค. 2566 เวลา 8.00 –16.20น. ณ โรงแรม Marriott Marquis Queen’s Park]

Computer Union ขอเรียนเชิญ CTO, CIO, CISO, IT Manager, Cybersecurity Manager, Systems Engineer, Data Center Engineer, …

[โปรพิเศษรอบ Early Bird] คอร์สเรียน ‘Incident Response’ จาก Sosecure เรียนออนไลน์ เน้นลงมือจริง 3 วันเต็ม

Incident Response เป็นหนึ่งในหัวข้อหลักของแผนการที่ทุกองค์กรควรมือ คำถามคือทุกวันนี้องค์กรหรือบริษัทที่ท่านมีส่วนรวมมีแผนรับมือเหล่านี้ได้ดีเพียงใด ครอบคลุมความเสี่ยงและเคยผ่านสถานการณ์จริงมาได้ดีแค่ไหน ซึ่งหากปฏิบัติตามแผนได้ดีก็อาจจะช่วยลดผลกระทบของความเสียหายได้อย่างมีนัยสำคัญ ด้วยเหตุนี้เองจึงอยากขอเชิญชวนผู้สนใจทุกท่านมาเพิ่มพูนความรู้ในคอร์สสุดพิเศษจาก Sosecure โดยเนื้อหาจะกล่าวถึง Framework, Incident Response และ Incident Handling …