4 แนวทางการรับมือ ในองค์กรที่ขาดทักษะการทำงานกับ Kubernetes

เชื่อว่า Kubernetes คงจะเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานระบบในหลายองค์กรแล้วขณะนี้ แต่ปัญหาหนึ่งที่ยังแก้ไม่ตกคือทักษะของผู้ปฏิบัติงานเองค่อนข้างจำกัด ในมุมของ Vendor ก็พยายามสร้างนวัตกรรมที่ช่วยให้ Kubernetes ง่ายขึ้นมาจำหน่าย คำถามคือการจ่ายเงินเพื่อแก้ปัญหานี้เป็นช่องทางเดียวหรือไม่? ในทางปฏิบัติของประเทศอื่นๆที่พร้อมมากกว่าพวกเขามีแนวทางอย่างไร มาหาคำตอบเชิงไอเดียกันในบทความนี้ครับ

เรื่องราวเหล่านี้ถูกประมวลขึ้นโดย Evaluator Group Survey เดือนกันยายน 2022 ที่เข้าไปสัมภาษณ์บริษัทต่างๆว่าพวกเขาแก้ปัญหาเรื่องที่ขาดทักษะด้าน Kubernetes กันอย่างไร ซึ่งตกผลึกเป็นใจความสำคัญ 4 ข้อดังนี้

1.) ใช้ประสบการณ์จาก Outsource ถ่ายทอดสู่ in-house

กรณีศึกษาหนึ่งที่องค์กรทำกันคือการจ้าง Outsource ให้มาดูแลโปรเจ็ค เพียงแต่ว่าแทนที่จะไม่ทำอะไรเลยปล่อยให้ Outsource จัดการ ก็จัดตั้งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างทีมงานของตนและผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นแทน จึงเป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติการที่ได้รับการชี้แนะจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งในกรณีนี้เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

2.) เรียนรู้กับโอเพ่นซอร์ส

กลเม็ดที่บางองค์กรทำก็คือสร้างวัฒนกรรมของการทำงานด้วยโอเพ่นซอร์สขึ้นมาภายในทั้งใช้งานและสร้างทักษะ โดยผู้บริหารพยายามผลักดันให้ทีมงานเดิมมาร่วมในการประชุมของ DevOps และ Engineer ของโปรเจ็ค จุดประสงค์ก็เพื่อให้ได้เรียนรู้จากการฟังเรื่องราวต่างๆ จากนั้นก็มอบหมายโปรเจ็คเล็กๆไปทำในยามว่าง ส่งกลับมาให้ทีมโปรเจ็คตรวจให้ หากผลงานใครเข้าตาก็จะได้รับงานในโปรเจ็คอย่างถาวร อย่างไรก็ดีพนักงานที่มีแรงจูงใจสามารถเรียนรู้ได้จากเว็บไซต์ของ Vendor เจ้าตลาดได้ฟรีมากมายทั้ง IBM, VMware Academy และอื่นๆ


3.) ทดแทนด้วยระบบอัตโนมัติ

ที่ปรึกษาของธนาคารขนาดใหญ่ให้ความเห็นต่อการสัมภาษณ์ว่า Terraform หรือ Ansible นั้นมี Template สำหรับจัดการ Container มาแล้ว ซึ่งช่วยลดการพึ่งพาคนได้เช่นกัน แต่ไม่ใช่ว่าไม่ต้องมีต้นทุนอะไรเลย เพราะยังจำเป็นต่อการเรียนรู้และเงินลงทุนบ้างเพียงแต่ว่าหากใช้ถูกที่ถูกทางก็คุ้มค่าและสร้างประสิทธิภาพได้


4.) อาศัยบริการที่สามารถจัดการ Kubernetes

แนวทางนี้เป็นการพึ่งพาโซลูชันสำเร็จเช่น AWS EKS, Microsoft Azure หรือ Google Cloud ซึ่งช่วยให้การทำงานมีขั้นตอนลดลง ทำเรื่อง Automation ได้และตอบโจทย์ด้าน Governance ด้วยส่งผลดีต่อการพัฒนาแอปได้รวดเร็ว ในทางกลับกันก็มีกรณีที่การใช้งาน Kubernetes กลับสร้างภาระให้แก่บริษัทสื่อรายหนึ่งที่ตอนแรกแอปทำงานได้ดีบน AWS แล้วแต่พอต้องการเพิ่ม Kubernetes เข้ามาร่วมกลับต้องไปถึงขั้นวางโครงสร้างสถาปัตยกรรมกันใหม่ตลอดจนต้องเรียนรู้กันใหม่ด้วย หรือหากเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นกลางสูงเข้ากับคลาวด์ได้มากหรือรองรับ On-premise บางรายก็กล่าวถึง Red Hat OpenShift เช่นกัน

บทส่งท้าย

การก้าวสู่โลกของ Kubernetes ไม่ได้หมายความว่า VM จะหายไปแต่ยังต้องมีการใช้งานควบคู่กันไปอีกยาวนาน อย่างน้อยคงอีกหลายปี ดังนั้นปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องระยะสั้น แต่โชคดีที่เราพบเห็นบริการ Managed Service มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจากระดับท้องถิ่นหรือจาก Vendor รายหลักเองอย่าง HPE, Dell และอื่นๆ ด้วยเหตุนี้เององค์กรจึงมีทางเลือกได้ไม่น้อยสู่แผน Digital Transformation

ที่มา : https://www.infoworld.com/article/3679749/how-to-beat-the-kubernetes-skills-shortage.html


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Salesforce นำเสนอโซลูชั่น AI ใหม่ล่าสุด ต่อยอดนวัตกรรมเพื่อยกระดับ Customer Experience ให้ธุรกิจทั่วโลก [Guest Post]

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, 8 มิถุนายน 2566 – เมื่อเร็ว ๆ นี้ Salesforce (เซลส์ฟอร์ซ) ประกาศเปิดตัวนวัตกรรม AI ล่าสุดหลายรายการสำหรับ Data …

Google เปิดตัว Secure AI Framework แนวทางการสร้าง AI อย่างปลอดภัย

Google เปิดตัว Secure AI Framework ช่วยแนะนำแนวทางการสร้าง AI อย่างปลอดภัย