การบริหารจัดการระบบ Wi-Fi ภายในองค์กรถือเป็นหนึ่งในหน้าที่หลักของผู้ดูแลระบบในทุกวันนี้ เนื่องจาก Wi-Fi ได้กลายเป็นหนึ่งในช่องทางในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลักขององค์กรไปโดยปริยาย ในขณะเดียวกันอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระบบ Wi-Fi ก็มีความหลากหลายยิ่งขึ้น และปัญหาในการใช้งานระบบ Wi-Fi ก็ยิ่งทวีความหลากหลายมากขึ้น โจทย์ในการดูแลรักษาระบบ Wi-Fi ให้สามารถใช้งานได้ดีอยู่ตลอดเวลาจึงกลายเป็นประเด็นสำคัญของระบบเครือข่ายระดับองค์กร
ด้วยความซับซ้อนของปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในการเชื่อมต่อ Wi-Fi อุปกรณ์ Wireless Access Point ทั่วๆ ไปที่ไม่สามารถบริหารจัดการแบบศูนย์กลางหรือให้ข้อมูลเชิงลึกสำหรับการแก้ไขปัญหาต่างๆ จึงไม่อาจตอบโจทย์เหล่านี้ได้ องค์กรต่างๆ จึงได้นิยมใช้ Wireless Access Point ระดับ Enterprise ในการให้บริการ Wi-Fi ภายในองค์กร
แต่การบริหารจัดการ Enterprise Wi-Fi ภายในองค์กรนั้นก็มีรูปแบบที่หลากหลาย และต่างก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสถาปัตยกรรมในการบริหารจัดการระบบ Wi-Fi ทั้ง 4 แบบ ดังต่อไปนี้
1. บริหารจัดการแบบศูนย์กลางผ่าน Wireless LAN Controller
Wireless LAN Controller เป็นอุปกรณ์สำหรับติดตั้งเอาไว้ภายในระบบเครือข่ายขององค์กร เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารจัดการ Wireless Access Point โดยเฉพาะ โดยทั่วไปแล้ว Wireless LAN Controller มักจะมีให้เลือกหลากหลายรุ่นตามจำนวนของ Access Point ที่ต้องการควบคุม และปริมาณ Throughput ของระบบ Wi-Fi โดยอาจรองรับความสามารถอื่นๆ เพิ่มเติมไปนอกเหนือจากการบริหารจัดการ เช่น การรักษาความปลอดภัย หรือการเชื่อมต่อ VPN เป็นต้น
โดยทั่วไปการใช้งาน Wireless LAN Controller มักจะทำให้ Access Point ให้บริการ Wi-Fi ได้อย่างเต็มความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นการทำ Tunnel เพื่อออกแบบ VLAN สำหรับระบบ Wi-Fi ได้อย่างอิสระ, การยืนยันตัวตนผู้ใช้งานในรูปแบบที่หลากหลาย, การรักษาความปลอดภัยในการใช้งาน, การควบคุมการเข้าใช้งาน Website และ Application ต่างๆ ไปจนถึงการทำ BYOD, การตรวจสอบคุณภาพสัญญาณ และการออกรายงานการใช้งานระบบเครือข่ายด้วย
Aruba Networks มี Wireless LAN Controller ภายใต้ชื่อของ Mobility Controllers ที่สามารถควบคุม Access Point ได้สูงสุดถึง 2,048 ชุด และรองรับการใช้งานได้มากกว่า 30,000 อุปกรณ์พร้อมๆ กัน โดยสามารถทำ Cluster กันระหว่าง Wireless LAN Controller หลายๆ ชุดเพื่อรองรับการควบคุม Access Point จำนวนมาก ขึ้นได้ โดยภายใน Aruba Mobility Controller นี้จะมีความสามารถของ L3/L7 Firewall, Wireless IPS และ VPN ภายในตัวด้วย ทำให้ระบบเครือข่ายมีทั้งความปลอดภัยและความยืดหยุ่นไปพร้อมๆ กัน
นอกจากนี้ Aruba Mobility Controller ยังรองรับการบริหารจัดการ Access Point จากหลายสาขาผ่านความสามารถในการทำ Remote Access Point ที่จะทำให้ Access Point ที่กระจายอยู่ตามระบบเครือข่ายสาขาต่างๆ สามารถทำการเชื่อมต่อกับ Aruba Mobility Controller ผ่านทาง VPN ได้อีกด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม: http://www.arubanetworks.com/products/networking/controllers/
2. บริหารจัดการแบบศูนย์กลางผ่าน Wireless Access Point
ในหลายๆ ครั้งที่การลงทุนอุปกรณ์ Wireless LAN Controller นั้นทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง และไม่เหมาะกับสาขาเล็กๆ ที่มีการใช้งาน Access Point เพียงไม่กี่ตัว ผู้ผลิตระบบ Enterprise Wireless LAN บางรายจึงได้ฝังความสามารถในการบริหารจัดการมาภายใน Wireless Access Point เลย เพื่อให้ Access Point ตัวใดตัวหนึ่งทำหน้าที่ในการบริหารจัดการ Access Point ที่เหลือในระบบเครือข่ายเดียวกันได้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการลง
ถึงแม้การใช้งาน Access Point ในการบริหารจัดการระบบ Wi-Fi แบบศูนย์กลางจะมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ แต่ความสามารถในการรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่าย หรือการออกแบบให้มีการทำงานได้ในระบบเครือข่ายที่ซับซ้อนก็มักจะยังมีข้อจำกัดอยู่ และจำนวนของ Access Point ที่ควบคุมได้ก็จะมีน้อยกว่าการใช้ Wireless Controller ในการควบคุม จึงเหมาะกับระบบเครือข่ายที่มีขนาดไม่ใหญ่และไม่ซับซ้อนนัก
เพื่อตอบโจทย์ของการบริหารจัดการ Wi-Fi ในราคาย่อมเยาว์นี้ Aruba Networks จึงได้นำเสนอระบบ Aruba Instant ซึ่งเป็น Access Point ที่สามารถบริหารจัดการระบบ Wi-Fi ภายในเครือข่ายองค์กรได้แบบศูนย์กลาง โดยมีความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นต่อระบบเครือข่าย เช่น การบริหารจัดการ, การยืนยันตัวตน และการกำหนดสิทธิ์สำหรับผู้ใช้งานแต่ละคนมาให้อย่างครบถ้วน และยังสามารถอัพเกรดเพื่อนำไปใช้งานร่วมกับ Wireless Controller ได้ในภายหลังอีกด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม: http://www.arubanetworks.com/products/networking/access-points/
3. บริหารจัดการแบบศูนย์กลางผ่านระบบ Cloud Controller
สำหรับองค์กรที่มีสาขาย่อยหลายสาขา และมีการใช้งานระบบ Wi-Fi ในแต่ละสาขา การเลือกใช้ Cloud Controller ก็ถือเป็นทางเลือกที่คุ้มค่า โดยผู้ดูแลระบบจะสามารถติดตามการทำงานและกำหนดการตั้งค่าให้กับ Access Point ทั้งหมดในแต่ละสาขาผ่านระบบ Cloud ได้ทันที ทำให้ประหยัดเวลาในการบริหารจัดการไปค่อนข้างมาก ในขณะที่ยังคงบริหารจัดการ Access Point ทั้งหมดได้อย่างครอบคลุม
ในการใช้งานจริง โดยมากระบบ Cloud Controller มักจะทำการเชื่อมต่อกับ Access Point เพื่อทำการบริหารจัดการและจัดเก็บข้อมูลในเชิงสถิติเป็นหลัก โดยข้อมูลของผู้ใช้งานภายในองค์กร หรือข้อมูล Traffic จริงๆ นั้นจะไม่ถูกส่งขึ้นไปบน Cloud Controller แต่อย่างใด ทำให้ข้อมูลที่เป็นความลับทั้งหมดขององค์กรก็ยังคงถูกปกป้องอยู่ภายในระบบเครือข่ายองค์กรเท่านั้น
Aruba Networks มีระบบ Cloud Controller ภายใต้ชื่อของ Aruba Central ซึ่งสามารถบริหารจัดการ Access Point ได้ในแบบเช่าใช้ภายใต้แนวคิด Management-as-a-Service ทำให้องค์กรสามารถบริหารจัดการ Access Point ที่กระจายอยู่ในหลายๆ สาขาได้โดยไม่ต้องลงทุนอุปกรณ์ Wireless Controller แต่อย่างใด
ข้อมูลเพิ่มเติม: http://www.arubanetworks.com/products/networking/management-as-a-service/
4. บริหารจัดการแบบศูนย์กลางผ่านระบบ Network Management
ในหลายๆ ครั้งที่ระบบเครือข่ายขององค์กรหนึ่งๆ ประกอบไปด้วยอุปกรณ์เครือข่ายหลากหลายยี่ห้อ รวมถึงระบบ Wi-Fi ขององค์กรหนึ่งๆ ก็อาจมี Wireless Controller และ Wireless Access Point หลายยี่ห้อด้วยเช่นกัน ระบบ Network Management ที่สามารถบริหารจัดการอุปกรณ์เครือข่ายหลายยี่ห้อพร้อมๆ กันได้จึงเข้ามามีบทบาทในการตอบโจทย์นี้เป็นหลักนั่นเอง
Aruba Networks มีผลิตภัณฑ์ Aruba AirWave ที่จะช่วยให้สามารถบริหารจัดการระบบเครือข่ายทั้ง LAN และ Wireless LAN ได้เสมือนเป็นระบบเดียวกัน โดยรองรับอุปกรณ์เครือข่ายจากผู้ผลิตชั้นนำที่หลากหลาย รวมถึงยังมีความสามารถในการช่วยวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายภายในตัว ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลเพิ่มเติม: http://www.arubanetworks.com/products/networking/network-management/
สำหรับองค์กรไหนที่มีแผนจะวางระบบ Wi-Fi ใหม่สำหรับองค์กร หรือต้องการอัพเกรด Wi-Fi ให้เป็นมาตรฐาน 802.11ac สามารถติดต่อทีมงานของ Aruba Networks ได้ทันทีที่ Email jkunasinkijja@arubanetworks.com หรือโทร 0814902009
ผู้ที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถกรอกข้อมูลในฟอร์มดังต่อไปนี้ เพื่อ Download Whitepaper สำหรับเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนระบบ Cloud Wi-Fi สำหรับองค์กรของคุณได้ทันที