Black Hat Asia 2023

250 Gbps !! Nokia ทดสอบสาย Fibre ข้ามแอตแลนติกสำหรับ Facebook

Nokia ประสบความสำเร็จในการทดสอบการเดินสาย Fibre ใต้ทะเลสำหรับ Facebook ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก โดยใช้การมอดูเลตสัญญาณแบบใหม่ ทำความเร็วได้สูงสุดถึง 250 Gbps บนระยะทางกว่า 5,500 กิโลเมตร

Nokia ระบุว่า ได้ใช้เทคนิคการมอดูเลตสัญญาณแบบใหม่จาก Bell Labs เรียกว่า “Probabilistic Constellation Shaping (PCS)” ซึ่งผสานคุณสมบัติของเลเซอร์แบบ Low-linewidth และเทคนิคในการชดเชยความไม่เป็นเชิงเส้นในสาย Fibre ส่งผลให้สามารถรับส่งสัญญาณแบบ 64-QAM ได้ด้วยความเร็วสูงถึง 7.46 bits ต่อวินาทีต่อเฮิรตซ์ หรือเร็วกว่าการรับส่งข้อมูลของสายเคเบิลใต้ทะเลจากนิวยอร์กไปไอร์แลนด์ถึง 2.5 เท่า

PCS ทำงานโดยเปลี่ยนวิธีการมอดูเลตสัญญาณของ QAM (Quadrature Amplitude Modulation) กล่าวคือ QAM แบบดั้งเดิม แต่ละจุด Constellation * จะมีนำ้หนักเท่ากัน ทุกจุดจึงถูกใช้โดยคลื่นความถี่เดียวกัน แต่ PCS กลับพยายามเลือกจุด Constellation ที่ดีที่สุดตามสภาวะแวดล้อมแทน

“PCS ใช้จุด Constellation ที่มี Amplitude สูงบ่อยน้อยกว่าจุดที่มี Amplitude ต่ำกว่าในการส่งสัญญาณ ส่งผลให้ โดยเฉลี่ยแล้ว สัญญาณทนต่อนอยซ์และข้อผิดพลาดอื่นๆ ได้ดีกว่า ทำให้อัตราการรับส่งข้อมูลเหมาะสมกับช่องสัญญาณ และช่วยเพิ่มความเร็วได้สูงถึง 30%” — Nokia อธิบาย

Nokia เชื่อว่าสามารถใช้ PCS ในการส่งข้อมูลผ่านสาย Fibre ได้สูงสุดถึง 32 Tbps ในอนาคต

* Constellation คือจุดแสดงสถานะการแปลงข้อมูลในรูปของ Amplitude และ Phase ที่แตกต่างกัน ดังตัวอย่างด้านล่างแสดงรูปแบบของ 16-QAM

ที่มา: https://www.theregister.co.uk/2017/03/22/250_gbps_across_atlantic_in_optical_test_for_facebook/


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

พบ ‘HinataBot’ บอทเน็ตที่อาจสร้างการโจมตี DDoS ขนาด 3.3 Tbps ได้

พบมัลแวร์บอตเน็ตใหม่ HinataBot มุ่งเป้าโจมตี Realtek SDK, Huawei Router และ Hadoop YARN Server เพื่อรวมการโจมตีที่อาจสร้าง Distributed Denial of …

HPE เข้าซื้อกิจการ OpsRamp ผู้พัฒนาระบบ Infrastucture Monitoring

Hewlett Packard Enterprise Co. ประกาศเข้าซื้อกิจการ OpsRamp Inc. บริษัทสตาร์ทอัพผู้พัฒนาระบบ Infrastucture Monitoring