CDIC 2023

10 เครื่องมือบริหารจัดการเครือข่ายที่ใช้งานได้ฟรี

เว็บไซต์ Network Computing ได้รวมรวม 10 เครื่องมือฟรีสำหรับการบริหารจัดการระบบเครือข่ายเอาไว้ ทางทีมงาน TechTalkThai เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับหลายๆ คน และมีหลายๆ เครื่องมือที่เพิ่งเคยเห็นเหมือนกัน จึงขอนำมาสรุปรวบรวมเอาไว้ดังนี้นะครับ

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com
  • Nagios Core ระบบ Network Monitoring แบบ Open Source ที่มีความสามารถหลากหลาย และรองรับอุปกรณ์ได้หลายแบบ
  • NIPAP ระบบ IP Address Management (IPAP) ที่ใช้งานง่ายและจัดการได้ผ่าน GUI
  • Wireshark เครื่องมือ Packet Analyzer ที่เป็นเครื่องมือมาตรฐานสำหรับหลายๆ คน
  • Ntopng Community ระบบ Flow Collection ที่สามารถทำหน้าที่เป็นได้ทั้ง Probe และ Analyzer ในตัว แต่ตัว Probe ราคา Node ละ 170 เหรียญนะครับ
  • pfSense Open Source Firewall ที่ทุกๆ คนคงเคยได้ยินชื่อกันดี
  • Cacti Network Monitoring ที่ใช้ SNMP เป็นหลัก
  • Zen Load Balancer Community Edition Load Balancer แบบฟรีๆ ที่บริหารจัดการได้ผ่าน GUI
  • Graylog ระบบ Log Management สารพัดประโยชน์ที่ใช้งานได้ฟรี
  • Scalr ระบบ Open Source สำหรับทำ Network & Security Automation ที่ใช้งานได้ทั้งบน Private Cloud และ Public Cloud โดยมีบริการ SaaS แบบเสียเงินให้ใช้ได้ด้วย
  • RANCID ระบบตรวจสอบและสำรองข้อมูล Network Configuration สำหรับ Switch และ Router หลากหลายยี่ห้อ

บางอันก็ไม่เข้าข่าย Network Management ซะทีเดียว แต่ก็ยังถือว่าเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อยู่ดีครับ

ที่มา: http://www.networkcomputing.com/data-centers/10-free-network-management-tools/830864001


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

ยกระดับบริการขององค์กรอย่างมั่นใจด้วย HPE Aruba Networking SASE โดย ยิบอินซอย

HPE Aruba Networking นำเสนอ Unified SASE ที่รวมเอาความสามารถของเทคโนโลยี SD-WAN และ SSE เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อความง่ายดายในการบริหารจัดการ SD-WAN, Routing, WAN Optimization ตลอดจนการบังคับใช้นโยบายความปลอดภัยได้แบบ end-to-end เพื่อให้การทำงานของแอปพลิเคชันมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มั่นคงปลอดภัย ลดต้นทุน และพร้อมให้บริการเสมอ

Microsoft แพตช์แก้ไขช่องโหว่เร่งด่วน 2 รายการให้ Edge, Teams และ Skype

Microsoft ได้แก้ไขช่องโหว่ Heap Buffer Overflow 2 รายการอย่างเร่งด่วนในไลบรารีที่ผลิตภัณฑ์ของตนเกี่ยวข้อง ทั้งนี้มีรายงานพบว่าช่องโหว่ได้ถูกนำไปใช้โจมตีจริงแล้ว