มารู้จักกับการอัปเดตแต่ละประเภทของ Windows 10

สำหรับผู้ใช้งาน Windows 10 หลายท่านนั้นอาจจะค่อนข้างสับสนกับการอัปเดตอยู่ไม่น้อย ซึ่งในวันนี้เราได้สรุปความหมายของการอัปเดตทั้งหมดมาให้ได้ติดตามกันครับ

1.Windows 10 Feature Updates

Feature Update เป็นการอัปเดตเกี่ยวกับกลุ่มของฟีเจอร์หลักของ OS ข้อมูลที่น่าสนใจมีดังนี้

  • เกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง (ในช่วงระหว่างฤดูใบไม่ผลิและใบไม้ร่วง) โดยชื่ออ้างอิงคือ เดือน-ปี เช่น May 2019 Update หรือ October 2018 Update เป็นต้น
  • มีการปรับเพิ่มเลขเวอร์ชันด้วย เช่น Windows 10 1809 (Oct 2018 Update) หรือ Windows 10 1903 (May 2019 Update) เป็นต้น
  • การอัปเดตนี้จะไม่เกิดขึ้นอัตโนมัติยกเว้นว่าถึงเวลาสิ้นสุดการ Support จริงๆ อย่างในเดือนพฤศจิกายนนี้ Microsoft จะอัปเดตอัตโนมัติให้ผู้ใช้งานที่ยังเป็น Windows 10 1803 สู่ Windows 10 1903 

2.Windows 10 Cumulative Updates

Cumulative Updates คือการอัปเดตรายเดือนซึ่งโดยปกติจะปล่อยออกมาอย่างน้อย 2 ครั้งต่อเดือนเพื่อแก้ปัญหา เช่น พัฒนาคุณภาพ บั๊ก และความมั่นคงปลอดภัย สำหรับข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมมีดังนี้

  • Windows 10 ‘B’ release – เกิดขึ้นทุกวันอังคารที่ 2 ของเดือนหรือที่เรียกว่า ‘Patch Tuesday’ โดยมักเกี่ยวกับการอุดช่องโหว่และบางครั้งก็จะมีการแก้ไขเรื่องคุณภาพด้วย
  • Windows 10 ‘C’ และ ‘D’ release – ออกมาช่วงอาทิตย์ที่ 3 และ 4 ของเดือนตามลำดับ ซึ่งมักเป็นแค่ Optional และพรีวิวที่ไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัย ทั้งนี้การอัปเดตทั้งสองจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการแพตช์วันอังคารในเดือนถัดไป

ปัจจุบันผู้ใช้งาน Windows 10 1903 จะสามารถเลือกหยุดการอัปเดตแบบ Cumulative ได้ระยะหนึ่งก่อน (ภาพประกอบด้านล่าง)

credit : Bleepingcomputer

3.Windows 10 Security Updates

การอัปเดตในครั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขช่องโหว่บน Windows 10 ทุกอังคารที่ 2 ของเดือนซึ่งมักจะถูกผนวกไว้ใน Cumulative แล้วแต่ผู้ใช้ก็สามารถเลือกต่างหากจาก Microsoft Catalog ได้เองเช่นกัน อย่างไรก็ตามหากเจอช่องโหว่ร้ายแรงด่วนรอไม่ได้จริงๆ อาจจะมีการปล่อยการอัปเดตแบบ Out-of-band (มานอกเวลากำหนด) เช่นกรณีของ WannaCry หรือ BlueKeep เป็นต้น

4.Windows 10 Service Stack Update (SSU)

SSU เป็นการอัปเดตที่ออกมาเพื่อแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ Windows Update อีกทีหนึ่งที่ทำให้การอัปเดตไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้ Microsoft ตามปกติแล้วมักออกมาแก้ไขก่อนการอัปเดตรายเดือนด้าน Reliability

5.Windows 10 Compatibility and Reliability Update

เป็นการอัปเดตที่ไม่เกิดขึ้นตามมาตรฐานหรือ Out-of-band โดย Compatibility Update จะช่วยพัฒนาเรื่องของการติดตั้งตอนอัปเดต Windows 10 เวอร์ชันใหม่ ในขณะที่ Reliability Update จะเกี่ยวข้องกับส่วนประกอบภายใน OS

6.Windows 10 Microcode Update

การอัปเดตดังกล่าวสืบเนื่องมาจากช่องโหว่ในระดับฮาร์ดแวร์ซึ่งทาง Microsoft ได้ร่วมมือกับ Intel เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้การอัปเดต Microcode จะไม่เกี่ยวกับมาตรฐานการอัปเดตปกติ โดยผู้สนใจสามารถติดตามเพิ่มเติมได้จาก Support Bulletin

7.Windows Malicious Software Removal Tool and Defender Antivirus

ในหัวข้อนี้จะเป็นเรื่องของการอัปเดตเครื่องมือภายใน Windows ที่ชื่อ Malicious Software Removal และ Defender Antivirus โดยรายละเอียดมีดังนี้

  • Malicious Software Removal – โปรแกรมตัวนี้ไม่ใช่ Antivirus แต่เอาไว้กำจัดซอฟต์แวร์อันตรายที่โปรแกรมรู้จักได้ โดย Microsoft ได้มีการอัปเดตเครื่องมือให้ทุกเดือน ผู้สนใจสามารถเรียกด้วยการพิมพ์ mrt ใน Run ได้เหมือน cmd (รูปประกอบด้านล่าง)
  • Defender Antivirus – เครื่องมือป้องกันมัลแวร์ที่เรารู้จักกันมานานจะมีการอัปเดตได้หลายครั้งต่อวันเพื่อให้มีความสามารถในการตรวจจับภัยคุกคามได้อย่างทันสมัย

ที่มา :  https://www.bleepingcomputer.com/news/microsoft/the-different-types-of-windows-10-updates/


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Google เปิดตัว Secure AI Framework แนวทางการสร้าง AI อย่างปลอดภัย

Google เปิดตัว Secure AI Framework ช่วยแนะนำแนวทางการสร้าง AI อย่างปลอดภัย

Cisco เปิดตัวบริการ Multicloud Defenese

Cisco ได้ประกาศเปิดตัวบริการใหม่ Cisco Multicloud Defense ช่วยสร้างนโยบายรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับระบบ MultiCloud รองรับผู้ให้บริการ Public Cloud หลายราย