เชื่อว่าทุกบ้าน ทุกบริษัท ย่อมมีระบบเครือข่ายไร้สายใช้งานกันอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือหลายครั้งเราอาจเจอกับจุดอับสัญญาณ เช่น สัญญาณหลุดบ่อยในโซนพื้นที่ที่ห่างไกลจากเราเตอร์หลัก เป็นต้น มีหลายแนวทางที่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการอัปเกรตเราเตอร์ให้มีเสากระจายที่แรงมากขึ้น หรือจะซื้อตัวต่อขยายสัญญาณ (Wi-Fi Extender) แต่ช้าก่อนในปัจจุบันราคาของอุปกรณ์เครือข่ายได้ปรับระดับมาอยู่ในจุดที่เราสามารถสัมผัสกับสิ่งที่เรียกว่า Mesh Wi-Fi ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาข้างต้น มาติดตามกันในบทความนี้

Mesh คือแนวคิดที่สืบต่อกันมาหากใครเรียนวิชาเครือข่ายเมื่อพูดถึง Mesh Topology ก็คือการที่ทุกอุปกรณ์มีการเชื่อมต่อกัน ถ้าเป็นการเดินสายก็แปลทุกตัวมีสายที่เชื่อมต่อไปยังตัวอื่นๆในเครือข่าย โดยแนวคิดของ Wireless Mesh Network เริ่มต้นมาจากประเด็นด้านการทหาร ด้วยโจทย์ที่ว่าต้องการให้ทุกอุปกรณ์ทำหน้าที่เป็นเราเตอร์สำหรับอุปกรณ์ตัวอื่นได้ ซึ่งหากเกิดมีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสีย อุปกรณ์อื่นจะยังคุยกันได้หรือเป็นจุดส่งข้อมูลสำหรับโหนอื่น
ด้วยเหตุนี้เองในมุมของ Mesh Wi-Fi นั่นคือการใช้อุปกรณ์มากกว่า 1 ตัวทำงานร่วมกันและมองเครือข่ายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น อาจจะวางไว้ทุกชั้นอาคาร เป็นต้น โดยจุดประสงค์ก็เพื่อสร้างการกระจายสัญญาณที่ครอบคลุมเพิ่มความสเถียรของสัญญาณ โดยไอเดียก็คือจะมีอุปกรณ์หนึ่งตัวที่รับหน้าที่เป็นสถานีฐาน ซึ่งอุปกรณ์ในเครือข่าย Mesh จะมีโปรโตคอลสำหรับอัปเดตข้อมูลกันว่า ควรเลือกเส้นทางอย่างไรที่ให้ประสิทธิภาพดี มีอุปกรณ์ใดที่ยังทำงานอยู่ แล้วเมื่อได้รับข้อมูลอุปกรณ์นั้นจะปฏิบัติอย่างไร
ข้อดีของ Mesh Wi-Fi
ในอดีตการจัดตั้ง Mesh Wi-Fi อาจมีต้นทุนสูงเนื่องจากต้องมีอุปกรณ์มากกว่า 1 ตัว แต่ปัจจุบันราคาของอุปกรณ์เครือข่ายที่ปรับลดลงอย่างมาก ทำให้อุปกรณ์หลายตัวอาจมีราคาถูกกว่าการซื้อเราเตอร์คุณภาพสูงเพียงตัวเดียว นอกจากนี้ผู้ผลิตสินค้าเครือข่ายหลายเจ้ายังออกแบบให้การตั้งค่าใช้งานง่ายต่อผู้ใช้ทั่วไป เช่น แอปพลิเคชันมือถือ คลาวด์ ซึ่งมีหน้าตาการใช้งานที่เข้าใจได้ง่าย ที่สำคัญคือหากระยะสัญญาณที่ท่านจัดตั้งยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ การเพิ่มอุปกรณ์เข้ามาใหม่ก็ยังทำได้ง่ายด้วย
Mesh Wi-Fi vs Wi-Fi Extender
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ผู้ที่เคยได้ยินเกี่ยวกับอุปกรณ์ขยายสัญญาณอาจจะสับสนถึงประโยชน์ระหว่างทั้งคู่ ซึ่งแนวคิดของ Mesh Wi-Fi ให้ความสเถียรของสัญญาณมากกว่า Wi-Fi Extender โดยการใช้งานอาจจะไม่ชัดนักหากเป็นกรณีที่อุปกรณ์ที่ใช้งานต้องการแบนวิดธ์ต่ำอย่าง IoT แต่หากเป็นการใช้งานประเภท Streaming คุณภาพของ Mesh Wi-Fi จะตอบโจทย์มากกว่า นอกจากนี้ Mesh Wi-Fi ยังว่าด้วยเรื่องของอุปกรณ์ที่มาจากค่ายแบรนด์เดียวกัน ต่างกับ Wi-Fi Extender ที่มี Vendor น้อยรายที่จะผลิตอุปกรณ์เหล่านี้ออกมาต่อยอด รวมถึงผู้ใช้ Wi-Fi Extender ยังต้องการลงชื่อเข้าใช้ใหม่หากต้องการรักษาคุณภาพของการเชื่อมต่อเมื่อเคลื่อนที่ห่างไกลจากเราเตอร์
การเลือกซื้อ Mesh Wi-Fi
สิ่งหนึ่งที่ผู้ซื้อจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับ Mesh Wi-Fi นั่นก็คือพื้นที่ของท่านจำเป็นกับการใช้งานจริงๆ หรือไม่ เช่น ในกรณีที่พื้นที่ไม่กว้างขวางนัก รวมถึงแอปพลิเคชัน และราคาของชุดอุปกรณ์ทั้งหมด ไปจนถึงความต้องการขั้นสูงหากท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญ Mesh Wi-Fi อาจไม่ต้องโจทย์ในการปรับจูนหลายด้าน นอกจากนี้เมื่อซื้อมาแล้วก็ควรวางอุปกรณ์ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดด้วย โดยอาจมีเครื่องมือช่วยวัดผลของแต่ละ Vendor หรืออื่นๆ
ที่มา : https://www.howtogeek.com/290418/what-are-mesh-wi-fi-systems-and-how-do-they-work/ และ https://www.tp-link.com/us/mesh-wifi/ และ https://en.wikipedia.org/wiki/Wireless_mesh_network