Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

VMware เปิดตัวเครื่องมือ vSphere+ ทางเลือกใหม่สำหรับจัดการ Multi-cloud Workload

VMware ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ Multi-cloud มานานแล้ว ซึ่งจะเห็นได้จากความร่วมมือกับคลาวด์ต่างๆที่ VMware ไปตั้งอยู่ อย่างไรก็ดี On-premise ก็ยังมีประโยชน์เหมาะสมกับหลายๆกรณี ด้วยเหตุนี้เองโจทย์คือจะทำอย่างไรให้ผู้ใช้งาน On-premise สามารถดึงประโยชน์จากนวัตกรรมบนคลาวด์มาทำงานร่วมกันภายใต้แพลตฟอร์มเดียว ซึ่ง vSphere+ จึงถือกำเนิดขึ้น

credit : Vmware

ไอเดียของ vSphere+ คือการเป็นบริการผ่านคลาวด์ในรูปแบบ SaaS หมายความว่าท่านไม่จำเป็นต้องมีการติดตั้งโปรแกรมใดๆแต่พร้อมใช้การได้ทันที รวมถึงอัปเดตล่าสุดเสมอ ซึ่งในอนาคตบริการใหม่ๆก็จะถูกเพิ่มเข้ามาในรูปแบบของบริการเสริมเช่น DR หรือ การป้องกันแรนซัมแวร์ นอกจากนี้ vSphere+ ยังมีการคิดค่าใช้จ่ายแบบ Subscription โดย vSphere+ ได้ต่อยอดจากโซลูชัน vSphere Enterprise Plus Edition ดังนั้นผู้ใช้งานเดิมท่านจะสามารถเลือกเปลี่ยน License เป็นแบบใหม่ได้ ซึ่งภายใต้ vSphere+ มีส่วนประกอบคือ ESXi host, vCenter instance, Cloud Gateway, Cloud Console สำหรับงานแอดมิน, Tanzu Standard Runtime และ Tanzu Mission Control Essentials

ในการทำงานของ vSphere+ ท่านจะสามารถเข้าถึงบริการคลาวด์ บริหารจัดการทรัพยากรและ Subscription จากศูนย์กลางได้ผ่านหน้า Cloud Console ไม่ว่าทรัพยากรของท่านจะเป็นแบบ On-premise บน ESXi ที่คุมด้วย vCenter ซึ่งปัจจุบันได้เชื่อมต่อกับคลาวด์ผ่าน VMware Cloud Gateway นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงสามารถจัดการทรัพยากรทั้งหมดได้ สำหรับประโยชน์จาก Cloud Console กับฝั่งแอดมินมีดังนี้

credit : Vmware
  1. บริการ vCenter Lifecycle Management ช่วยอัปเดต vCenter ที่ on-premise ของท่านได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว เพียงแค่ไม่กี่คลิกหากไม่เวิร์กก็ย้อนกลับได้
  2. บริการ Global Inventory ช่วยให้มองเห็นทรัพยากรต่างๆใน vSphere+ ในทุกคลัสเตอร์ โฮสต์ และ VM อีกทั้งยังปฏิบัติการผ่านคำสั่งกับ CPU, Memory และ Storage ได้
  3. บริการ Event View ช่วยเตือนอีเว้นต์สำคัญให้ผู้ดูแลแทนที่ต้องค้นหาเอง
  4. บริการ Security Health Check สอดส่องกิจกรรมด้านความมั่นคงปลอดภัยใน vSphere+ เช่น SSL เวอร์ชันเก่า หรือ SSH ที่ไม่ได้ใช้
  5. บริการ Provision VM ช่วยสร้าง VM ได้จากหน้า Cloud Console โดยไม่ต้องเชื่อมต่อไปยัง vCenter ก่อน อีกทั้งยังสามารถสั่งสร้าง VM จำนวนมากต่างสถานที่ได้
  6. บริการบริหารจัดการคอนฟิค โดยการคอนฟิค vCenter นั้นมักแตกต่างกันแต่บริการนี้ทำให้ท่านสามารถมองเห็นความต่างได้ เพื่อที่จะได้ตั้งค่าให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการ
credit : Vmware

ในมุมของนักพัฒนาก็เฉกเช่นแนวคิดก่อนหน้าที่ท่านสามารถจัดการ Workload ได้ทั้ง VM และ Container ด้วยความสามารถของ VMware Tanzu ซึ่งใน vSphere+ ก็มีความสามารถเหล่านี้อยู่ครบถ้วนมอบความสะดวกสบายให้เข้ากับวิถีการทำงานของนักพัฒนาเช่น API ต่างๆสำหรับจัดการ Kubernetes, VM, Container, Networking, Storage รวมไปถึงมีบริการช่วยให้การทำงานได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเช่น การติดตาม Registry, Logging และ ingress และคาดว่าใน Q3 ที่จะถึงนี้ เครื่องมือด้าน Observability สำหรับ Kubernetes Cluster อย่าง Tanzi Mission Control Essential น่าจะออกมาพร้อมใช้งาน

โดยการมาถึงของ vSphere+ ไม่ได้ทำให้ vCenter instance และ ESXi บน On-premise หายไปไหนไม่มีอะไรถูก migrate แต่อย่างใด แต่ผู้ใช้งานสามารถเลือกได้เองว่าจะเลือก vCenter instance ใดจะเชื่อมกับ VMware Cloud ผ่านทาง Gateway (ได้มากกว่า 1 ตัว) อย่างไรก็ดีท่านจำเป็นต้องอัปเกรต vCenter เป็นเวอร์ชันล่าสุด ท่านใดที่สนใจการย้าย License เดิมซึ่งอาจมีขึ้นตอนด้านเทคนิคอื่นๆก็ลองปรึกษาตัวแทนจำหน่ายที่ดูแลท่านหรือทาง VMware กันดูครับ

ที่มา : https://blogs.vmware.com/vsphere/2022/06/vmware-vsphereplus-introducing-the-multi-cloud-workload-platform.html

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Microsoft ยกเลิกการใช้ 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว

Microsoft ประกาศยกเลิกการใช้กุญแจเข้ารหัส 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว เปลี่ยนไปใช้กุญแจเข้ารหัสความยาว 2048-bit เป็นอย่างน้อย

NVIDIA เปิดตัว Blackwell B200 GPU และ GB200 Superchip

NVIDIA ประกาศเปิดตัว Blackwell B200 GPU และ GB200 Superchip ชิปประมวลผล AI รุ่นใหม่