Sustainability ได้กลายมาเป็นเทรนด์แห่งอนาคตของธุรกิจทั่วโลก โดยในทวีปยุโรปได้มีการวางกฏเกณฑ์และระเบียบข้อบังคับเรื่องเหล่านี้ไว้เรียบร้อยแล้ว หากธุรกิจใดที่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับบริษัทที่ถูกบังคับจากกฏเหล่านี้ก็จำเป็นต้องปฏิบัติตาม ในแง่ของธุรกิจไอทีเอง Data Center ก็เป็นส่วนหนึ่งในความรับผิดชอบเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน
ด้วยเหตุนี้เองแนวคิด Green Data Center จึงเริ่มเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะกับผู้ให้บริการคลาวด์รายหลักของโลกไม่ว่าจะเป็น Google, AWS, Microsoft และผู้ให้บริการอื่นๆได้กำหนดเป้าหมายเกี่ยวกับการพัฒนาการใช้พลังงานใน Data Center ไว้อย่างเป็นรูปธรรม
อย่างไรก็ดีการก้าวสู่ Green Data Center ก็มีความท้าทายอยู่หลายเรื่อง ซึ่งที่งาน TechTalkThai Reconnect 2023 ทีมงาน Schneider Electric จึงได้มาแนะนำให้ทุกคนเห็นภาพความสำคัญและการวัดผลที่มีการใช้งานจริง นอกจากนี้ยังได้แนะนำถึงแนวทางปฏิบัติที่จะช่วยให้องค์กรก้าวสู่ Green Data Center อย่างยั่งยืนอีกด้วย
ความท้าทายเกี่ยวกับ Data Center ในปัจจุบัน
การลงทุนด้าน Data Center มักมีความท้าทายอยู่หลายเรื่อง เช่น ระยะเวลาในการสร้าง การให้บริการที่ทนทานต่อการล้มเหลว ความมั่นคงปลอดภัย การบริหารจัดการบุคคลากร แต่รู้หรือไม่ว่าเทรนด์ของการทำ Data Center กำลังเผชิญกับกฏเกณฑ์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในหลายประเทศ เช่น การสร้าง Data Center ในสิงค์โปรมีข้อกำหนดด้าน PUE (Power Usage Effectiveness) น้อยกว่า 1.3 ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำมาก รวมถึงต้องมีนวัตกรรมเพื่อสร้างการทำงานที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
Data Center ถือได้ว่ามีส่วนในการใช้ไฟสูงราว 1-2% ของโลก แน่นอนว่าย่อมสัมพันธ์ไปถึงอัตราการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ ของเสีย และระบบนิเวศ ไปจนถึงการใช้น้ำ (โดยเฉพาะงานหล่อเย็น) ซึ่งเรื่องเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นปัจจัยภาพรวมที่การออกแบบ Green Data Center ต้องคำนึงถึง ซึ่งหัวข้อในวันนี้ Schneider Electric จะเน้นย้ำไปในเรื่องของการบริหารจัดการพลังงานเป็นหลัก
การวัดผลการใช้พลังงานใน Data Center
เพื่อให้มาตรฐานการวัดผลด้านใช้พลังงานนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน องค์กรต่างๆก็ควรมีหน่วยอ้างอิงในภาพเดียวกัน โดยมีอัตราการใช้พลังงานที่ควรรู้ดังนี้
- การใช้ไฟโดยรวม (kWH)
- อัตราการใช้ไฟทั้งหมด / IT Load = ratio , (PUE : Power Usage Effectiveness)
- การใช้พลังงานหมุนเวียน (Total Renewable) เช่น โซล่าร์เซลล์ และอื่นๆ
- อัตราการใช้ไฟทั้งหมด/พลังงานหมุนเวียน = ratio
- การนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ (Energy Reuse Factor)
ทั้งนี้การใช้พลังงานภายใน Data Center นั้นมีส่วนประกอบใหญ่อยู่ 3 ส่วนคือ ระบบทำความเย็น(Cooling) ระบบไฟ และการใช้งานจากเครื่องอุปกรณ์ไอที (IT Load) ซึ่ง Schneider Electric ได้แนะแนวทางเพื่อลดการใช้พลังงานใน 2 มุมมองคือ ขั้นตอนการออกแบบ และ การบริหารจัดการไปพร้อมกับการบำรุงรักษาระบบ
1. ระบบทำความเย็น
- การออกแบบ – มีกลยุทธ์หลายระดับที่ผู้ออกแบบสามารถส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบความเย็นได้คือ การใช้ VFD Control หรือการขยายเกณฑ์ความชื้นเพื่อช่วยลดพลังงาน แต่อุปกรณ์ไอทีก็ต้องมีความทนทางรองรับเรื่องนี้ได้ด้วย ในมุมสูงขึ้นอาจพิจารณาใช้เทคโนโลยี Liquid Cooling หรือนำซอฟต์แวร์มาช่วยออกแบบวางแผน
- การบริหารจัดการไปพร้อมกับการบำรุงรักษาระบบ – มีซอฟต์แวร์ช่วยตรวจสอบอย่างชาญฉลาด มีการทำ Digital Twin เพื่อจัดการการใช้งานผ่านระบบดิจิทัล หรือการใช้ Machine Learning เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมปกติ ให้เกิดการควบคุมการปฏิบัติงานอย่างอัตโนมัติ
2. ระบบไฟฟ้า
- การออกแบบ – เลือกใช้อุปกรณ์ที่มี Eco mode หรือใช้พลังงานได้ดี หรือเปลี่ยนหม้อแปลงที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
- การบริหารจัดการไปพร้อมกับการบำรุงรักษาระบบ – มีระบบติดตามเพื่อที่จำมองเห็นว่ามีส่วนใดที่จะสามารถปรับปรุงการใช้พลังงานให้ดีขึ้นได้
3. IT Load
- การออกแบบ – เลือกใช้อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานได้ดี รองรับการทำ Liquid Cooling หรือรวมศูนย์ระบบ Power Supply
- การบริหารจัดการไปพร้อมกับการบำรุงรักษาระบบ – แชร์โหลดการใช้งานด้วย Virtualization หรือการย้ายระบบไปใช้บนคลาวด์เพราะไม่ต้องโฮสต์การทำงานที่ตนเอง
PUE เรื่องที่เข้าใจได้ง่าย แต่ประยุกต์ใช้จริงได้ยาก
PUE เป็นเพียงเรื่องทางคณิตศาสตร์ที่ตรงไปตรงมาเป็นอย่างยิ่งจากการหาร 2 อัตราส่วน คือ อัตราการใช้ไฟทั้งหมด / IT Load แต่เชื่อหรือไม่ว่าในทางปฏิบัติเป็นเรื่องที่ยากต่อการคำนวณอย่างแม่นยำ เพราะผู้ปฏิบัติต้องทราบว่ามีปัจจัยอะไรที่ต้องนำมาคำนวณ การวัดผลแบบ Snapshot หรือต่อเนื่อง แม้กระทั่งที่ตั้งของ Data Center ที่ต่างกัน ค่า PUE เหล่านี้ก็นำมาเทียบกันแทบไม่ได้
ควางผันผวนของ PUE เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับหลายองค์ประกอบ ซึ่งการปรับเปลี่ยนบางอย่างเพื่อให้ได้ค่า PUE ที่ดีอาจะไม่ส่งผลดีต่ออัตราการใช้พลังงาน เช่น การใช้ Virtualize หรือ Cloud เพื่อลด IT Load ทำให้ตัวหารน้อยลงค่า PUE จึงอาจจะสูงขึ้น หรืออีกกรณีคือหากปรับอุณหภูมิหน้าเครื่องให้ทนได้สูงขึ้นค่า PUE ก็อาจจะดีขึ้น แต่ก็จะย้อนไปสู่การใช้งานระบบทำความเย็นที่ทำงานหนักมากขึ้นตามเช่นกันเพราะมีความร้อนสูง
มาถึงตรงนี้หลายท่านคงจะทราบแล้วว่าการปรับเปลี่ยนค่าเพื่อให้ได้ตัวเลข PUE ที่ได้เกณฑ์ที่ต้องการ จำเป็นต้องอาศัยทีมงานประสบการณ์อย่างสูงที่เข้าใจตัวแปรต่างๆ ตลอดจนต้องประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนได้ด้วย ซึ่ง Schneider Electric จึงนำเสนอบริการอย่างครบวงจนสำหรับแผน Green Data Center
ก้าวสู่ Green Data Center ของท่านไปกับ Schneider Electric
การประเมินตนเองเพื่อก้าวสู่ความเป็น Green Data Center นั้นเป็นเรื่องใหญ่ที่เดียว หากองค์กรไม่มีผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับภาพรวม ทั้งในเรื่องอุปกรณ์ที่ปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นได้ ซอฟต์แวร์ที่จะนำเข้ามาช่วยมอนิเตอร์การใช้ไฟในส่วนต่างๆ หรือการระบบ AI ที่ช่วยยกระดับการปฏิบัติงานให้เป็นอัตโนมัติ ทั้งนี้ยังต้องประเมินระยะเวลาคุ้มทุน (ROI) ได้ด้วย
โดยทีมงาน Schneider Electric มีบริการที่จะช่วยเข้าไปประเมินการปรับเปลี่ยนระบบในส่วนต่างๆ เช่น UPS หม้อแปลง ระบบหล่อเย็น ระบบความชื้น พร้อมวางเส้นทางในการเดินทางขององค์กรเพื่อก้าวสู่ Green Data Center ได้สอดคล้องกับต้นทุนทางธุรกิจ เพราะแต่ละองค์กรย่อมมีความจำเป็นที่แตกต่างกันออกไปตามบริบทของธุรกิจ และการให้บริการนั่นเอง
ผู้ที่สนใจแนวคิด Green Data Center สามารถรับชมวิดีโอการบรรยายเรื่อง “รวมกลยุทธ์การมุ่งสู่ Green Data Center ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” โดยคุณณฐวัฒน์ ศิริพลับพลา Data Center Software Solutions Consultant (Thailand & APJ) จาก Schneider Electric ภายในงานสัมมนา TTT 2023 Reconnect: Enterprise IT Infrastructure ที่เพิ่งจัดไปเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ได้ที่นี่
สำรวจข้อมูลเชิงลึกล่าสุดของเราเกี่ยวกับศูนย์ข้อมูลและเครือข่ายเกี่ยวกับตัวขับเคลื่อนสำคัญ 4 ประการที่กระตุ้นให้ผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลจัดลำดับความสำคัญด้านความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม อ่านรายงานเพิ่มเติม
สนใจติดต่อทีมงานของ Schneider Electric เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการด้าน Green Data Center ได้ที่ Marcom.thailand@se.com